หงส์กู่
หงส์กู่ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Anseriformes |
วงศ์: | Anatidae |
วงศ์ย่อย: | Anserinae |
เผ่า: | Cygnini |
สกุล: | Cygnus |
สปีชีส์: | C. cygnus |
ชื่อทวินาม | |
Cygnus cygnus (Linnaeus, 1758) | |
ช่วงฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูร้อน) ถิ่นอาศัยแบบตลอดปี ช่วงฤดูหนาว |
หงส์กู่ หรือ หงส์ฮูปเปอร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cygnus cygnus) เป็นหงส์ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคซีกโลกเหนือในทวีปยูเรเชีย เป็นญาติสนิทกับหงส์แตรในอเมริกาเหนือ ที่คล้ายกันทางลักษณะ พฤติกรรม และถิ่นอาศัย (ซีกโลกเหนือ) และเป็นชนิดต้นแบบของวงศ์หงส์ (Cygnus)
ลักษณะ
แก้หงส์กู่มีขนาดตัวขนาดใหญ่ วัยโตเต็มที่ลำตัวยาวประมาณ 140-165 เซนติเมตร ด้วยช่วงกว้างปีก 205-275 เซนติเมตร น้ำหนักตัวโดยทั่วไปที่พบได้อยู่ที่ 7.4-14 กิโลกรัม เพศผู้มีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 9.8-11.4 กิโลกรัม เพศเมีย 8.2- .2 กิโลกรัม โดยสถิติน้ำหนักสูงสุดที่เคยบันทึกได้อยู่ที่ 15.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเพศผู้พบในฤดูหนาวของเดนมาร์ก นอกจากนี้ หงส์กู่ยังถือเป็นสัตว์ปีกที่บินได้ทนทานที่สุด[2][3] หากเทียบกับมาตรฐานของบรรดาสัตว์ปีกอพยพ ความกว้างของปีกอยู่ที่ 56.2 - 63.5 เซนติเมตร มีเท้าขนาด 10.4-13 เซนติเมตร และจะงอยปากขนาด 9.2-11.6 เซนติเมตร[4] ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะงอยปากจะเป็นสีเหลืองมากกว่าสีดำ
สัญลักษณ์
แก้หงส์กู่ได้รับการนับถือมากในยุโรป[5] โดยที่หงส์กู่เป็นนกประจำชาติของฟินแลนด์ และยังปรากฏในเหรียญ 1 ยูโรของฟินแลนด์ ในขณะที่ชาวจีนในหมู่บ้านชาวประมงใกล้กับทะเลปั๋วไห่จะเรียกหงส์กู่อย่างเอ็นดูว่า "นางฟ้าหน้าหนาว" (冬季天使)[6]
-
หงส์กู่ใน Regent's Park, ลอนดอน
-
หงส์กู่ใกล้กับคิลเฟโนร่า, ไอร์แลนด์
-
หงส์กู่วัยเยาว์ที่ ทะเลสาบคุชชะโระ, ญี่ปุ่น
-
หงส์กู่กำลังพัก ที่ ซุนะยุ อนเซ็ง ทะเลสาบคุชชะโระ, ญี่ปุ่น
-
Museum specimen - Iceland
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2012). "Cygnus cygnus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
- ↑ Brazil, Mark, The Whooper Swan. Christopher Helm Ornithology (2003), ISBN 978-0-7136-6570-3
- ↑ CRC Handbook of Avian Body Masses by John B. Dunning Jr. (Editor). CRC Press (1992), ISBN 978-0-8493-4258-5.
- ↑ Madge, Steve, Waterfowl: An Identification Guide to the Ducks, Geese, and Swans of the World. Houghton Mifflin Harcourt (1992), ISBN 978-0-395-46726-8
- ↑ Mondadori, Arnoldo, บ.ก. (1988). Great Book of the Animal Kingdom. New York: Arch Cape Press. p. 183.
- ↑ "อัศจรรย์แดนมังกรตอนที่ 8". ช่อง 7. 13 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cygnus cygnus ที่วิกิสปีชีส์
- Whooper Swan videos, photos & sounds เก็บถาวร 2014-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the Internet Bird Collection