เมืองนาย หรือ เมืองหน่าย (ไทใหญ่: မိူင်းၼၢႆး; พม่า: မိုးနဲ) ตั้งอยู่ที่ละติจูด 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ ลองติจูด 97 องศา 52 ลิปดาตะวันออก อยู่ในพื้นที่รัฐฉานใต้ ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ใกล้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในอดีตเคยเป็นเมืองลูกของเชียงใหม่สมัยพญามังราย และอดีตเมืองหลวงของรัฐฉาน

เมืองนาย

เมืองหน่าย
เมือง
เมืองนายตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เมืองนาย
เมืองนาย
ที่ตั้งเมืองนายในประเทศพม่า
พิกัด: 20°31′N 97°52′E / 20.517°N 97.867°E / 20.517; 97.867
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐฉาน
จังหวัดลางเคอ
อำเภอเมืองนาย
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)

สมัยพระเจ้าสีหสุรมหาธรรมราชา[1] เจ้าเมืองอังวะซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ยกทัพมาตีเมืองนายซึ่งสมัยนั้นยังขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ ประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไพร่พล 100,000 นายไปเมืองนายและอังวะ ระหว่างเคลื่อนทัพผ่านเมืองเชียงใหม่ พระองค์ประชวรและสวรรคต ณ เมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่[2] สมเด็จพระเอกาทศรถจึงเลิกทัพและทรงนำพระบรมศพกลับมายังอยุธยา

ประวัติศาสตร์ แก้

เมืองนายเป็นเมืองเก่าแก่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต โดยอยู่ในเขตภาคใต้ของรัฐฉาน ซึ่งได้ก่อตั้งมาเมื่อก่อน ค.ศ. 441 ในปี ค.ศ. 1319 เจ้ามังรายได้ฟื้นฟูเมืองนายและแต่งตั้งให้โอรสปกครอง เจ้าที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้ามังรายได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1566 เพราะอาณาจักรตองอูเข้ายึด ค.ศ. 1567 เป็นต้นมาเมืองนายขาดเจ้าผู้ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าเมืองสี่ป้อมาปกครอง และใน ค.ศ. 1631 ได้อัญเชิญเจ้าเมืองมีดมาปกครองสืบต่อมา ในปี ค.ศ. 1772 เมืองนายเป็นศูนย์กลางของการปกครองเมืองไตสืบต่อจากเมืองแสนหวี รายชื่อเจ้าผู้ปกครองเมืองนายที่สามารถรวบรวมได้มีดังนี้

1. เจ้าเสือเผือกฟ้า (ค.ศ. 1567–1568)

2. โอรสเจ้าเสือเผือกฟ้า 2 องค์ ปกครองร่วมกัน (ค.ศ. 1568–1585)

3. กษัตริย์พม่าได้ส่งตัวแทนมาปกครอง (ค.ศ. 1585–1631)

4. เจ้าหลาคำ (โอรสเจ้าฟ้าเมืองมีด) (ค.ศ. 1631–1675)

5. เจ้าจ๋ามคำ (โอรสเจ้าหลาคำ) (ค.ศ. 1675–1678)

6. เจ้าเสือห่ม (โอรสเจ้าจ๋ามคำ) (ค.ศ. 1678–1704)

7. เจ้าขุนอ้าน (โอรสเจ้าเสือห่ม) (ค.ศ. 1704–1728)

8. เจ้าซูวคาด (โอรสเจ้าขุนอ้าน) (ค.ศ. 1728–1746)

9. เจ้าส่วย มยาด โน (โอรสเจ้าซูวคาด) (ค.ศ. 1746–1772)

  • ในยุคนี้เป็นยุคที่เมืองนาย ได้เป็นศูนย์กลางของการปกครองเมืองไต

10. เจ้าส่วย มยาด จยอ (โอรสเจ้าส่วย มยาด โน) (ค.ศ. 1772–1790)

11. เจ้าขุนส่วยหว่า (โอรสเจ้าส่วย มยาด จยอ) (ค.ศ. 1790–1811)

12. เจ้าจุ่ง (ขุนเมืองเจียงตอง) (ค.ศ. 1811–1842 )

13. เจ้าขุนหนุ่ม (โอรส เจ้าขุนจุ่ง) (ค.ศ. 1842–1868)

14. เจ้าโพ (โอ้) (โอรสเจ้าขุนหนุ่ม) (ค.ศ. 1868–1874)

15. เจ้าขุนจี่ (ส่วยจี่) (อาเจ้าขุนโอ้) (ค.ศ. 1874–1884) เจ้าขุนจี่นี้ได้ฆ่าพม่าแล้วหนีไปอยู่ที่เชียงตุง

16. ทากหลู่ (เคยเป็นพระมาก่อน มีเชื้อสายปะโอ) (ค.ศ. 1884–1888)

17. เจ้าขุนจี่ (จากเชียงตุงมาปกครองอีกครั้ง) (ค.ศ. 1888–1914)

18. เจ้าขุนจ่อจ่าม (โอรสของพี่ชายเจ้าขุนจี่) (ค.ศ. 1914–1929)

19. เจ้าจ่อโฮ (โอรสเจ้าขุนจ่อจ่าม) (ค.ศ. 1929–1948)

20. เจ้าเปี้ย (โอรสเจ้าจ่อโฮ) (ค.ศ. 1948–1959)

เจ้าเปี้ย ผู้ปกครองเมืองนาย และบรรดาเจ้าฟ้าเมืองไตทั้งหมด ได้สละอำนาจให้กับรัฐบาลสหพันธรัฐฉานเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1959[3]

อ้างอิง แก้

  1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 400 ปี ของการครองราชย์. สำนักนายกรัฐมนตรี: 2533.
  2. มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า, มติชน 2545
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-06-19.