ภาษาไทใหญ่
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ภาษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่: [หลิกไต๊], ความไท [กว๊ามไต๊], /kwáːm.táj/; อังกฤษ: Shan language) เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไท ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน
ไทใหญ่ | |
---|---|
ฉาน | |
หลิกไต๊ | |
ออกเสียง | lik.táj |
ประเทศที่มีการพูด | พม่า (รัฐฉาน) ไทย จีน (มณฑลยูนนาน) |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ชาติพันธุ์ | ชาวไทใหญ่ |
จำนวนผู้พูด | 4.7 ล้านคน (2560) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรไทใหญ่ |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | พม่า |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | shn |
ISO 639-3 | shn |
แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น[1]
สำเนียงท้องถิ่น
แก้ภาษาไทใหญ่มีสำเนียงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ฉานเหนือ ฉานใต้ เชียงตุง และพรมแดนติดกับจีนเรียกว่า ไทเหนือ โดยภาษาเมืองหนอง ถือเป็นภาษาไทหลวง สำเนียงของฉานเหนือ และฉานใต้จะแตกต่างโดยชัดเจน ส่วนที่เชียงตุงชนส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทเขิน โดยมีส่วนต่างกับภาษาไทใหญ่อื่น ๆ มาก และมีศัพท์เฉพาะค่อนข้างมาก และเสียง ร ไม่เป็น ฮ ไปทั้งหมด โดยเชียงตุงกับเมืองไทยจะมีสุภาษิตคล้ายคลึงกันมากเลยทีเดียว
ระบบเสียง
แก้พยัญชนะ
แก้เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทใหญ่ (เสียงแปร) มีอยู่ด้วยกัน 19 เสียง ไม่เหมือนภาษาไทยและลาวเพราะไม่มีเสียงกักโฆษะ [d] และ [b]**
ริมฝีปากทั้งสอง | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | /m/ မ |
/n/ ၼ |
/ɲ/ ၺ |
/ŋ/ င |
||
เสียงกัก | ไม่พ่นลม | /p/ ပ |
/t/ တ |
/tɕ/ ၸ |
/k/ ၵ |
/ʔ/[a] ဢ |
พ่นลม | /pʰ/ ၽ |
/tʰ/ ထ |
/kʰ/ ၶ |
|||
เสียงเสียดแทรก | (/f/) ၾ |
/s/ သ |
/h/ ႁ | |||
เสียงรัวลิ้น | (/r/) ရ |
|||||
เสียงเปิด | /j/ ယ |
/w/ ဝ |
||||
เสียงข้างลิ้น | /l/ လ |
- เสียง /f/ (ၾ) บางครั้งอาจจะออกเสียงเป็น /pʰ/
- เสียง /r/ ส่วนใหญ่มักออกเสียงเป็น /ɹ/ (เหมือนอักษร R ในภาษาอังกฤษ)
- ปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มรูปและเสียงของพยัญชนะเข้ามาแล้ว คือ /b/ = ၿ , /d/ = ၻ แต่มักจะใช้ในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
พยัญชนะควบกล้ำ
แก้ในภาษาไทใหญ่มีการควบกล้ำอยู่ 3 เสียง /j/ /r/ /w/ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปของพยัญชนะที่นำมาควบด้วย เป็น ျ , ြ , ႂ ตามลำดับ อนึ่ง คำที่ควบด้วยเสียง /r/ บางครั้งจะไม่ออกเสียงควบกันสนิท โดยจะออกเสียงในลักษณะสระอะกึ่งเสียง สำหรับเสียง /k/ , /kʰ/ และ /s/ เมื่อมีการควบของเสียงร่วมกับเสียง /j/ เสียงที่เกิดขึ้นมักจะใกล้เคียงกับเสียง /c/ , /cʰ/ และ /ʃ/ ตามลำดับ
ตัวอย่างคำ
- ၵျွင်း [kʲɔ̰́ŋ] วัด [กย๊อง]
- ၽြႃး [pʰɹáː] พระ [พร้า]
- ၵႂၢမ်း [kʷáːm] คำพูด, ความ, ภาษา [กว๊าม]
เสียงสระ
แก้ภาษาไทใหญ่มีสระเดี่ยวอยู่ 10 เสียง และสระผสมอีก 13 เสียง
สระเดี่ยว
หน้า | กลาง-หลัง | หลัง |
---|---|---|
/i/ | /ɨ/~/ɯ/ | /u/ |
/e/ | /ə/~/ɤ/ | /o/ |
/ɛ/ | /a/ /aː/ |
/ɔ/ |
สระผสม
[iu] (อิว), [eu] (เอว), [ɛu] (แอว); [ui] (อุย), [oi] (โอย), [ɯi] (อึย), [ɔi] (ออย), [əi] (เอย); [ai] (อัย/ไอ), [aɯ] (ใอ (อะ~อึ/อะ~อือ)), [au] (เอา); [aːi] (อาย), [aːu] (อาว)
เสียงวรรณยุกต์
แก้เสียงวรรณยุกต์ไทย | ไทใหญ่ | เสียง | อักษรไทย | คำแปล |
---|---|---|---|---|
จัตวา | ၼႃ | /nǎː/ | หนา | หนา |
เอก | ၼႃႇ | /nàː/ | หน่า | มาก |
โทต่ำ | ၼႃႈ | /nà̱ː/ | หน้า | หน้า |
ตรี | ၼႃး | /náː/ | น้า | นา |
โทสูง | ၼႃႉ | /nâ̰(ː)/ | น่า | น้า |
สามัญ | ၼႃႊ | /nāː/ | นา | (ใช้อุทาน/ทับศัพท์) |
เปรียบเสียงกับภาษาไทย
แก้โดยมากแล้วทั้งสองภาษามักมีเสียงวรรณยุกต์ที่คล้ายกันยกเว้นบางที่ ที่คล้ายได้แก่ เสียงเอกในคำเป็นของทั้งสองมักตรงกัน เช่น ป่า, อย่า, อยู่, ผ่า เป็นต้น เสียงจัตวาในคำเป็นที่ขึ้นต้นด้วยอักษรสูงมักตรงกัน เช่น ขา, หมา, หนา, ผา, หลัง เป็นต้น เสียงที่ไม่เหมือนได้แก่ เสียงสามัญไทยในคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรกลางมักตรงกับเสียงจัตวาไทใหญ่ เช่น กา เป็น ก๋า, ปลา เป็น ป๋า, ตา เป็น ต๋า, และ อา เป็น อ๋า เป็นต้น เสียงสามัญไทยในคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำมักตรงกับเสียงตรีไทใหญ่ เช่น นา เป็น น้า, ทา เป็น ต๊า, ลา เป็น ล้า เป็นต้น เสียงโทไทยมักตรงกับเสียงสามัญไทใหญ่ เช่น เจ้า เป็น เจา, ข้า เป็น คา, หน้า เป็น นา, และ ผ้า เป็น พา เป็นต้น เสียงตรีไทยมักตรงกับเสียงโทสั้นไทใหญ่ เช่น น้ำ เป็น น่ำ, ช้าง เป็น จ้าง, ม้า เป็น ม่า, น้า เป็น น่า เป็นต้น
นอกจากการแตกต่างระหว่างเสียงวรรณยุกต์แล้ว ทั้งสองมีความแตกต่างเล็กน้อยทางเสียงพยัญชนะขึ้นต้นด้วย คำในภาษาไทยที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำเสียงกักธนิตมักตรงกับเสียงกักสิถิลในไทใหญ่ เช่น พยัญชนะ พ, ท, และ ค ในไทยมักตรงกับเสียง ป, ต, และ ก ในไทใหญ่ แต่คำในภาษาไทยที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำเสียงกักธนิตที่ตรงกับเสียงโฆษะบาลีมักตรงกับเสียงกักธนิตในไทใหญ่ เช่น พยัญชนะ ภ, ธ, และ ฆ ในไทยมักตรงกับเสียง พ, ท, และ ค นอกจากนี้ คำในภาษาไทยที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำเสียงกักธยิตที่ตามด้วย ร มักตรงกับเสียงกักธนิตในไทใหญ่ เช่น พยัญชนะ ปร, ทร, และ คร ในไทยมักตรงกับเสียง พ, ท, และ ค ในไทใหญ่
นอกจากนี้แล้ว มีเสียงพยัญชนะบางเสียงในไทใหญ่ที่ไม่ตรงกับไทย พยัญชนะ ด กับ บ ของไทยมักตรงกับเสียง หล กับ หม ในไทใหญ่ เช่น ดิน เป็น หลิน, ดี เป็น หลี, เดือน เป็น เหลิน, บ่า เป็น หม่า, บ้า เป็น มา (หม้า), และ บ่าว เป็น หม่าว เป็นต้น พยัญชนะ ร ของไทยมักตรงกับเสียง ฮ ไทใหญ่ เช่น เรา เป็น เฮ้า, ร่าง เป็น ฮาง, และ รัก เป็น ฮั่ก เป็นต้น
อักษรต่ำไทย
แก้ไม้วรรณยุกต์ไทย | อักษรไทย | เสียงไทย | อักษรไทใหญ่ | การออกเสียง | เสียงไทใหญ่ |
---|---|---|---|---|---|
- | ทา | /tʰaa/ | တႃး | ต๊า~ตา | /táa/ |
เอก | ท่า | /tʰâa/ | တႃႈ | ต้า (โทพิเศษ) | /taa/ |
โท | ท้า | /tʰáa/ | တႃႉ | ต้ะ~ต้า | /ta̰a/ |
อักษรกลางไทย
แก้ไม้วรรณยุกต์ไทย | อักษรไทย | เสียงไทย | อักษรไทใหญ่ | การออกเสียง | เสียงไทใหญ่ |
---|---|---|---|---|---|
- | ปลา | /plaa/ | ပႃ | ป๋า | /pǎa/ |
เอก | ป่า | /pàa/ | ပႃႇ | ป่า | /pàa/ |
โท | ป้า | /pâa/ | ပႃႈ | ปา | /paa/ |
อักษรสูงไทย
แก้ไม้วรรณยุกต์ไทย | อักษรไทย | เสียงไทย | อักษรไทใหญ่ | การออกเสียง | เสียงไทใหญ่ |
---|---|---|---|---|---|
- | ผา | /pʰǎa/ | ၽႃ | ผา | /pʰǎa/ |
เอก | ผ่า | /pʰàa/ | ၽႃႇ | ผ่า | /pʰàa/ |
โท | ผ้า | /pʰâa/ | ၽႃႈ | พา | /pʰaa/ |
ไวยากรณ์
แก้ภาษาไทใหญ่ เป็นภาษาที่ไม่มีการผันคำไปตามกาล เพศ การก ฯลฯ เช่นเดียวกับภาษาไทย รูปแบบประโยคเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์จะมีการวางไว้หลังคำนาม
สรรพนาม
แก้บุรุษที่ | ไทใหญ่ | ถอดอักษร | สัทอักษรสากล | การออกเสียง | ความหมาย | จำนวน |
---|---|---|---|---|---|---|
๑ | ၵဝ် | เกา | [kǎw] | เก๋า | 'กู' | หนึ่งคน |
ၶႃႈ | ข้า | [kʰaa] | คา | 'ผม, ดิฉัน' | หนึ่งคน | |
ၵဝ်ၶႃႈ | เกาข้า | [kǎw.kʰaa] | เก๋าคา | 'ผม, ดิฉัน' | หนึ่งคน | |
တူ | ตู | [tǔu] | ตู๋ | 'กู' | หนึ่งคน | |
ႁႃး | รา (ฮา) | [háa] | ฮ้า | 'พวกกูสองคน' | สองคน | |
ႁဝ်း | เรา (เฮา) | [háw] | เฮ้า | 'เรา' 'พวกเรา' | หนึ่งคน หรือ หลายคน | |
ႁဝ်းၶႃႈ | เราข้า (เฮาข้า) | [háw.kʰaa] | เฮ้าคา | 'เกล้ากระผม' 'ดิฉัน' 'พวกเรา' 'พวกข้าพเจ้า' | หนึ่งคน หรือ หลายคน | |
๒ | မႂ်း | ใม | [máɰ] | มะ-อือ | 'มึง' | หนึ่งคน |
ၸဝ်ႈ | เจ้า | [tsaw] | เจา | 'คุณ' | หนึ่งคน | |
မႂ်းၸဝ်ႈ | ใมเจ้า | [máɰ.tsaw] | ใม๊ (มะ-อึ๊) เจา | 'คุณ' | หนึ่งคน | |
ၶိူဝ် | เขือ | [kʰə̌ə] | เขอ | 'พวกมึงสองคน' | สองคน | |
သူ | สู | [sʰǔu] | สู | 'พวกคุณ' | หนึ่งคน หรือ หลายคน | |
သူၸဝ်ႈ | สูเจ้า | [sʰǔu.tsaw] | สูเจา | 'ท่าน' 'พวกคุณ' 'พวกท่าน' | หนึ่งคน หรือ หลายคน | |
๓ | မၼ်း | มัน | [mán] | มั้น | 'มัน' | หนึ่งคน |
မၼ်းၸၢႆး | มันชาย (มันจาย) | [mán.tsáaj] | มั้นจ๊าย | 'มัน(ชาย)' | หนึ่งคน | |
မၼ်းၼၢင်း | มันนาง | [mán.náaŋ] | มั้นน้าง | 'มัน(หญิง) ' | หนึ่งคน | |
မၼ်းၸဝ်ႈ | มันเจ้า | [mán.tsaw] | มั้นเจา | 'เขา' | หนึ่งคน | |
ၶႃ | ขา | [kʰǎa] | ขา | 'พวกมันสองคน' | สองคน | |
ၶဝ် | เขา | [kʰǎw] | เขา | 'เขา' 'พวกมัน' 'พวกเขา' | หนึ่งคน หรือ หลายคน | |
ၶဝ်ၸဝ်ႈ | เขาเจ้า | [kʰǎw.tsaw] | เขาเจา | 'พวกท่านเขา' | หนึ่งคน หรือ หลายคน | |
ပိူၼ်ႈ | เพิ่น (เปิ้น) | [pən] | เปิน | 'คนอื่น' | หลายคน |
การทักทาย (ล่องโต้งตั้ก)
แก้ไทย | ไทใหญ่ | ถอดอักษร | การออกเสียง |
---|---|---|---|
สวัสดี | မႂ်ႇသုင်ၶႃႈ | ใหม่สูงข้า | ใหม่-สูง-ข้า |
สบายดีหรือ | ၸွင်ႇယူႇလီႁႃႉ? | จ่องอยู่ดีฮ้า? | จ่อง-หยู่-หลี-ฮ่า |
สบายดีครับ/ค่ะ | ယူႇလီယူႇၶႃႈ | อยู่ดีอยู่ข้า | หยู่-หลี-อยู่-ข้า |
แล้วท่าน/คุณล่ะสบายดีหรือ | ၸဝ်ႈႁဝ်းၶဝ် သူၶဝ်ေၵႃႈယူႇလီယူႇၶႃႈၼေႃ? |
เจ้าเราเขา สูเขาก็อยู่ดีอยู่ข้าน่อ? |
เจ้า-เฮา-เขา สู-เขา-ก็-อยู่-หลี-อยู่-ข้า-น่อ |
สบายดีครับ/ค่ะ ขอบคุณ | ယူႇလီယူႇၶႃႈ ၶွပ်ႈၸႂ်ၶႃႈ | อยู่ดีอยู่ข้า ขอบใจข้า | หยู่-หลี-อยู่-ข้า |
สวัสดี | မႂ်ႇသုင် | ใหม่สูง | มะ-อื่อสูง |
ตอนเช้า | ယၢမ်းၸဝ်ႉ | ยามเช้า | ยามเจ้า |
ตอนกลางวัน | ယၢမ်းၵၢင်ဝၼ်း | ยามกลางวัน | ยามก๋างวัน |
ตอนเย็น/ค่ำ | ယၢမ်းယဵၼ် ၶမ်ႈ |
ยามเย็น ฅ่ำ (ค่ำ) |
ยามเหย็น ค่ำ |
ลาก่อน | မွၼ်းမွၼ်း | มอนมอน | มอนมอน |
แล้วเจอกันใหม่ | ၵွႆႈထူပ်းၵၼ်မႂ်ႇ | ค่อยถบกันใหม่ | ก้อย-โทบ-กั๋น-หม่ะ-อือ |
โชคดี | ၸူၵ်ႈလီ ႁႂ်ႈမီးသုၼ်ႇမီးမၢၼ် |
โชคดี ให้มีสุ่นมีหมาน |
โจ้กหลี ฮ่ะ-อือ มีสู่นมีหมาน |
ขอโทษ | ၵၼ်ႇတေႃး | กั่นทอ | กั่นตอ |
คุณชื่ออะไร | ၸိုဝ်ႈၸဝ်ႈႁွင်ႉဝႃႈသင် ၸိုဝ်ႈသင်? |
ชื่อเจ้าร้องว่าสัง ชื่อสัง |
จื๋อเจ้าฮ่องว่าสัง จื๋อสัง |
ผม/ดิฉันชื่อ ... | ၶႃႈႁဝ်းၸိုဝ်ႈ ... | ข้าเราชื่อ | ข้าเฮาจื๋อ... |
ยินดีที่ได้รู้จัก | ယိၼ်းလီတီႈလႆႈႁူႉၸၵ်း | ยินดีที่ได้รู้จัก | ยินหลีตี้ไหล้ฮู่จั๊ก |
เช่นกัน | မိူၼ်ၵၼ် | เหมือนกัน | เหมินกั๋น |
แล้วเจอกัน | ထူပ်းၵၼ်မႂ်ႇ | ถบกันใหม่ | โทบกั๋นใหม่ |
ขอบคุณ | ၶွပ်ႈၸႂ် | ขอบใจ | ขอบใจ๋ |
ไม่เป็นไร | ဢမ်ႇပဵၼ်သင် | อ่ำเป็นสัง | อ่ำเป๋นสัง |
การนับเลข (ล่อง-นั่บ-อ่าน)
แก้ตัวเลขของภาษาไทใหญ่ใช้ชุดต่างจากอักษรพม่าตามปกติ มีดังนี้
เลขไทย | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ | ๑๐ |
เลขไทใหญ่ | ႑ | ႒ | ႓ | ႔ | ႕ | ႖ | ႗ | ႘ | ႙ | ႑႐ |
คำอ่านไทใหญ่ | ၼိုင်ႈ | သွင် | သၢမ် | သီႇ | ႁႃႈ | ႁူၵ်း | ၸဵတ်း | ပႅတ်ႇ | ၵဝ်ႈ | သိပ်း |
นึ่ง | สอง | สาม | สี่ | ฮ่า | ฮก | เจ๊ด | แปด | เก้า | ซิบ | |
คำอ่านไทย | หนึ่ง | สอง | สาม | สี่ | ห้า | หก | เจ็ด | แปด | เก้า | สิบ |
สัทอักษร | /nɯ̄ŋ/ | /sʰɔ̌ŋ/ | /sʰǎːm/ | /sʰì/ | /hā/ | /hók/ | /tɕét/ | /pɛ̀t/ | /kāw/ | /sʰíp/ |
เลขไทย | -๑ | ๑๑ | ๒๐ | ๑๐๐ | ๑,๐๐๐ | ๑๐,๐๐๐ | ๑๐๐,๐๐๐ | ๑,๐๐๐,๐๐๐ | ||
เลขไทใหญ่ | -႑ | ႑႑ | ႒႐ | ႑႐႐ | ႑,႐႐႐ | ႑႐,႐႐႐ | ႑႐႐,႐႐႐ | ႑,႐႐႐,႐႐႐ | ||
คำอ่านไทใหญ่ | ဢဵတ်း | သိပ်းဢဵတ်း | သၢဝ်း | ပၢၵ်ႇ | ႁဵင် | မိုၼ်ႇ | သႅၼ် | လၢၼ်ႉ | ||
-เอ๊ด | ซิบเอ๊ด | ซ้าว | ปาก | เห็ง | หมื่น | แสน | ล้าน | |||
คำอ่านไทย | -เอ็ด | สิบเอ็ด | ยี่สิบ | ร้อย | พัน | หมื่น | แสน | ล้าน | ||
สัทอักษร | /ʔét/ | /sʰíp.ʔét/ | /sʰáːw/ | /pàːk/ | /hěŋ/ | /mɯ̀n/ | /sɛ̌n/ | /la̰ːn/ |
เวลา (ยาม)
แก้การบอกเวลา
แก้การบอกเวลาในภาษาไทใหญ่ก็คล้าย ๆ กับในภาษาไทย เช่น " မိူဝ်ႈလဵဝ်ၼႆႉ 3 မူင်းယဝ်ႉ" (เม่อเหล็วไน่ สาม โม้งเย่า) - ตอนนี้ 3 โมงแล้ว
- ตารางการบอกช่วงเวลา
ภาษาไทใหญ่ | ถอดอักษร | คำอ่าน | ความหมาย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
မိူဝ်ႈသိုၼ်း | เมื่อซืน | เม่อซื้น | เมื่อวานซืน | |
မိူဝ်ႈဝႃး | เมื่อวา | เม่อว้า | เมื่อวาน | เทียบคำเมือง ตะวา (ᨲᩅᩤ) |
မိူဝ်ႈလဵဝ် | เมื่อเดียว | เม่อแหล็ว | ตอนนี้ | เทียบคำไทย เดี๋ยวนี้ |
မိူဝ်ႈၽုၵ်ႈ | เมื่อพรูก | เม่อพุก | พรุ่งนี้ | เทียบคำเมือง พูก (ᨻᩕᩪᨠ/ᨻᩕᩪᩢ) |
မိူဝ်ႈႁိုဝ်း | เมื่อรือ | เม่อฮื้อ | มะรืนนี้ | เทียบลาว (ຮື) ฮือ เทียบคำเมือง วันฮือ (ᩅᩢ᩠ᨶᩁᩨ) |
ปี เดือน วัน (ปี๋ เหลิน วัน)
แก้ပီႊလိူၼ်ဝၼ်း
อ้างอิง
แก้- ↑ บรรจบ พันธุเมธา. ไปสอบคำไทย. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย กระทรวงศึกษาธิการ, 2522
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน