ไทใหญ่
ไทใหญ่ หรือ ฉาน (ไทใหญ่: တႆး ไต๊; พม่า: ရှမ်းလူမျိုး, ออกเสียง: [ʃán lùmjóʊ]; จีน: 掸族; พินอิน: Shàn zú) หรือ เงี้ยว (ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ)[2] คือกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไท และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศเมียนมา (พม่า) ส่วนมากอาศัยในรัฐชานและบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมา[3] ชาวไทใหญ่ในประเทศเมียนมามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคนที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง "ไต" มีหลายกลุ่ม เช่น ไทเขิน ไตแหลง ไทคำตี่ ไทลื้อ และไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง [ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่] หรือที่คนไทยเรียกว่า ไทใหญ่ จะเห็นได้ว่าภาษาไทและภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ
![]() | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
ประมาณ 6 ล้านคน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างสำคัญ | |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
ภาษา | |
ภาษาไทใหญ่, คำเมือง, ภาษาพม่า และภาษาไทย | |
ศาสนา | |
ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายกึงจอง ส่วนน้อยนับถือนิกายกึงโยน[1] |
เชื้อชาติแก้ไข
กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในรัฐชาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
อิทธิพลของพม่าแก้ไข
ประวัติศาสตร์ไทใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวของสงคราม จนการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่กลายเป็นวิชาต้องห้ามมาตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง อิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าในไทใหญ่จึงมีมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์และการเมือง[4] กล่าวคือเมื่อพม่ามีอิทธิพลทางการปกครองก็จะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้าไทใหญ่ส่งลูกชายและลูกสาวไปเมืองหลวงพม่า เจ้าหญิงเจ้าชายเหล่านี้จึงได้รับวัฒนธรรมพม่ามา และนำกลับมาเผยแพร่แก่ประชาชนไทใหญ่ในรูปแบบของภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ [5] เช่น เกิดความนิยมว่า วรรณคดีที่ไพเราะซาบซึ้งควรมีคำพม่าผูกผสมผสานกับคำไท[6][7]
ภาษาแก้ไข
ภาษาไทใหญ่เป็นวิชาเลือกหนึ่งภายในรัฐ เจ้าขุนสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐชานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทใหญ่ในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่มีจำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทใหญ่เหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ เสมอชัย พูลสุวรรณ. รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552. หน้า 66
- ↑ "ยวน ในยวนพ่าย ก็เป็น ลาว (คักๆ)". สุจิตต์ วงษ์เทศ. 21 กันยายน 2555. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2558. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ Sao Sāimöng, The Shan States and the British Annexation. Cornell University, Cornell, 1969 (2nd ed.)
- ↑ Maung Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. p. 95.
- ↑ Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1967). History of Burma (2 ed.). London: Susil Gupta. pp. 108–109.
- ↑ ‘Mae Sai Evacuated as Shells Hit Town’, Bangkok Post, 12 May 2002
- ↑ ‘Mortar Rounds Hit Thai Outpost, 2 Injured’, Bangkok Post, 20 June 2002, p.1
- ↑ "Shan: A language of Myanmar". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2006-12-02.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- H.R.H. Prince Hso Khan Pha of Yawnghwe
- Shan Relief Foundation
- Shan Human Rights Foundation
- Shan Women's Action Network (SWAN)
- Shan language page from Ethnologue site
- Photos of Shan State Army-South (SSA-S) military outposts along the border of Thailand, Chiang Rai province
- Help without Frontiers
- Shan Tradition Rules in a Northern Thai Town Sai Silp, The Irrawaddy, April 5 2007
- http://www.claudiawiens.com/englisch/vorlage_e.html Claudia Wiens, a photo essay about tribal people in Shan State
- Thai Yai cultural dance at Mae Hong Son, Thailand