แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (อังกฤษ: Salween River; พม่า: သံလွင်မြစ်; คำเมือง: Lanna-river-Salawin.png; กะเหรี่ยงสะกอ: ဃိၣ်လီၤကျိ โคโหล่โกล[2]) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร [3] และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง[4] มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านจังหวัดปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า แม่น้ำนู่ หรือ นู่เจียง (จีน: 怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ"[4] ชาวไทใต้คงเรียกแม่น้ำนี้ว่า แม่น้ำคง (ᥑᥨᥒᥰ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ไทใต้คง") และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ

แม่น้ำสาละวิน
Salawin river at Mae Sam Laep.jpg
แม่น้ำสาละวินที่บ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรอินเดีย
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำสาละวิน
ชื่อแหล่งน้ำแม่น้ำสาละวิน
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทแม่น้ำ
ความยาว2,800 กม.
พื้นที่ลุ่มน้ำ29,500 ตร.กม.[1]
พื้นที่ชลประทาน187,000 ไร่ (เฉพาะในประเทศไทย)
ปริมาณน้ำเฉลี่ย112,561 ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อพื้นที่120.8 ลิตร/วินาที/ตร.กม.
แผนที่
caption=แผนที่แสดงเขตระบบแม่น้ำของแม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง[5]

นอกจากนี้ในประเทศจีน พื้นที่ลุ่มน้ำและแม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ 3 สายในเขตเทือกเขาเหิงต้วน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง

ลำน้ำสาขาแก้ไข

ลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงแม่น้ำสาละวินทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามระบบลุ่มน้ำประธาน ประกอบด้วย

ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวินแก้ไข

  • แม่น้ำปาย ต้นกำเนิดจากทิวเขาถนนธงชัย ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไหลลงทางใต้ของแม่น้ำสาละวินในพม่า
  • แม่น้ำยวม ต้นน้ำจากเขาที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไหลลงแม่น้ำเมยที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • แม่น้ำเมย ต้นน้ำเกิดที่โคดโพโชในประเทศพม่า แล้วไหลเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าในอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วไหลเข้าประเทศพม่าลงสู่แม่น้ำสาละวิน

เขื่อนแก้ไข

ตามลำน้ำสาละวินมีโครงการสร้างเขื่อนหลายแห่ง แต่ละที่ก็มักเป็นประเด็นทางด้านการเมือง

  • เขื่อนท่าซาง เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 7,110 เมกะวัตต์ ในรัฐฉาน ตรงข้ามอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
  • เขื่อนเว่ยจี (สาละวินชายแดนตอนบน) แก่งเว่ยจีบริเวณชายแดนพม่า-ไทย (เขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน) ขนาด 4,000-5,600 เมกะวัตต์
  • เขื่อนดา-กวิน (สาละวินชายแดนตอนล่าง) ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน ขนาดประมาณ 900 เมกะวัตต์

พันธุ์ปลาแก้ไข

ดูบทความหลักที่ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ชนิดพันธุ์ปลาที่พบในแม่น้ำสาละวิน จัดได้ว่ามีปริมาณน้อยกว่าปลาที่พบในลุ่มน้ำใกล้เคียง อย่าง แม่น้ำเจ้าพระยา หรือแม่น้ำโขง โดยชนิดพันธุ์ปลามีความใกล้เคียงกับปลาที่พบในประเทศอินเดีย ที่อยู่ไกลออกไปนับพันกิโลเมตรมากกว่าชนิดพันธุ์ปลาที่พบในประเทศไทย และหลายชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่ไม่พบในที่แห่งอิ่น เช่น ปลากดหมูสาละวิน, ปลากดหัวเสียม, ปลาหยะเค, ปลาแค้ขี้หมู, ปลากระทิงจุด เป็นต้น และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการค้นพบ[5]

อ้างอิงแก้ไข

  1. ลุ่มน้ำสาละวิน ข้อมูล 25 ลุ่มน้ำประธาน เก็บถาวร 2007-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ข้อมูลกรมชลประทาน
  2. งานวิจัยปกากญอ. วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน งานวิจัยปกากญอ. เชียงใหม่ : เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2548. 135 หน้า. หน้า 43. ISBN 974-9367-75-8
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-22. สืบค้นเมื่อ 2007-05-22.
  4. 4.0 4.1 อาเซียน แม่น้ำ และความยาว เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากไทยพีบีเอส
  5. 5.0 5.1 หน้า 94, สำรวจสาละวิน ก่อนสิ้นชื่อ โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, ชวิน ตันพิทยคุปต์. "Aqua Survey". นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 5 ฉบับที่ 55: มกราคม 2015

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°11′39″N 97°35′00″E / 16.194167°N 97.583333°E / 16.194167; 97.583333