ปูทูลกระหม่อม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
วงศ์: Potamidae
สกุล: Thaipotamon
สปีชีส์: T.  chulabhorn
ชื่อทวินาม
Thaipotamon chulabhorn
Naiyanetr, 1993

ปูทูลกระหม่อม หรือ ปูแป้ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thaipotamon chulabhorn) เป็นปูน้ำจืดที่ค้นพบในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม[2] โดยศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นปีที่ปีที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา จึงขอพระราชทานชื่อว่า "ปูทูลกระหม่อม" และได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14 ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543)

ลักษณะ แก้

รูปร่างคล้ายปูนา มีสีสันสวยงาม 4 สีคือ ม่วง แสด เหลือง ขาว โดยกระดองมีสีม่วงเปลือกมังคุด ผสมพันธุ์นาน 4–5 ชั่วโมง ไข่จะฟองใหญ่กว่าปูนา 3–4 เท่า

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.