เจนละ
อาณาจักรเจนละ, หรือภาษาจีนว่า เจินล่า (จีนตัวย่อ: 真腊; จีนตัวเต็ม: 真臘; พินอิน: Zhēnlà), ภาษาเขมรว่า เจนฬา (เขมร: ចេនឡា), และภาษาเวียดนามว่า เจินหลัป (เวียดนาม: Chân Lạp) เป็นชื่อที่เอกสารจีนใช้เรียกรัฐซึ่งมาทีหลังฟูนัน และมาก่อนอาณาจักรพระนคร ดำรงอยู่ในพื้นที่อินโดจีนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 และในเอกสารที่โจว ต้ากวาน (周達觀) ขุนนางจีน เขียนขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็ยังปรากฏชื่อนี้อยู่[1]
อาณาจักรเจนละ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 550–ค.ศ. 802 | |||||||||
สถานะ | รัฐอารักขาของอาณาจักรฟูนาน(ค.ศ. 550 - ?) อาณาจักร(? - ค.ศ. 802) | ||||||||
เมืองหลวง | เศรษฐปุระ ภวปุระ อีศานปุระ สัมภุปุระ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เขมรเก่า, สันสกฤต | ||||||||
ศาสนา | พราหมณ์ฮินดู, พุทธ | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||
• รัฐอารักขาของอาณาจักรฟูนาน | ค.ศ. 550 | ||||||||
• ส่งทูตไปจีน | ค.ศ. 616/617 | ||||||||
หลัง ค.ศ. 706 | |||||||||
• สถาปนาอาณาจักรพระนคร | ค.ศ. 802 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | กัมพูชา ไทย ลาว เวียดนาม |
เอกสารของราชวงศ์สุย (隋朝) ระบุว่า ฟูนันซึ่งส่งทูตมาในช่วง ค.ศ. 616–617 นั้นมีเมืองขึ้นเมืองหนึ่งนามว่า "เจนละ" ภายหลัง ผู้นำเจนละยกทัพไปตีฟูนันได้สำเร็จ ไม่เป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป[2] และเอกสารอื่น ๆ นำข้อความนี้ไปอ้างถึง ซึ่งก็เป็นที่โต้แย้งเรื่องความถูกต้องแม่นยำมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970[3] นอกจากนี้ ที่เอกสารจีนว่า เจนละเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น ก็ถกเถียงกันมาช้านานว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้บันทึกเอกสารจีนหรือไม่ และนักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นว่า เจนละเป็นรัฐต่าง ๆ ที่มารวมกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ และชั่วคราว มากกว่าจะเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียว[4]
เจนละเหมือนฟูนันตรงที่มาได้ที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ตรงเส้นทางการค้าทางน้ำสายมณฑลอินโด (Indosphere) กับสายมณฑลวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (East Asian cultural sphere) ตัดกันพอดี ทำให้เจนละมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสังคมอยู่เป็นเวลานาน ทั้งเป็นเหตุให้เจนละรับระบบการเขียนจารึกของราชวงศ์ปัลลวะและราชวงศ์จาลุกยะแห่งอินเดียใต้มาใช้[5][6]
ชนชั้นปกครองในเจนละนั้น ที่มาที่ไปเป็นอย่างไรยังไม่แน่ชัด ไมเคิล วิกเกอรี (Michael Vickery) นักประวัติศาสตร์ ขนานนามพวกเขาว่า "ประมุขแห่งดงรัก" (Dângrêk Chieftains) เพราะอาศัยอยู่แถบเหนือและใต้ของพนมดงรัก และสร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคนี้ มีเนื้อหาว่าด้วยวงศ์วานของพวกเขาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแผ่อำนาจทางการเมือง[7] จารึกภาษาสันสกฤตหลักหนึ่งจาก Vãl Kantél ในสทึงแตรง (ស្ទឹងត្រែង สฺทึงแตฺรง) มีข้อความสื่อว่า ผู้นำคนหนึ่งนาม "วีรวรรมัน" (Vīravarman) ใช้แนวคิดเทวราชาและหริหระของศาสนาฮินดูในการปกครอง[8]
เอกสารจีนชื่อ ซินถังชู (新唐書) กล่าวว่า ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 รัฐเจนละแตกแยกออกเป็นเจนละบก (陸真臘) กับเจนละน้ำ (水真臘)[9] แล้วภายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 เจนละน้ำก็ตกเป็นเมืองขึ้นของชวา ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเจนละน้ำนั้นเชื่อว่าถูกประหาร ทำให้สิ้นราชวงศ์ แล้วเจนละน้ำก็ผนวกเข้ากับชวาในราว ค.ศ. 790 ส่วนชัยวรรมันที่ 2 (ជ័យវរ្ម័នទី២ ชัยวรฺมันที ๒) ผู้นำท้องถิ่น รวมรวบดินแดนทั้งหลายที่เหลือไปก่อตั้งเป็นจักรวรรดิเขมรใน ค.ศ. 802[10]
รากศัพท์
แก้คำว่า "เจนละ" ปรากฏในเอกสารจีนว่า เป็นชื่อรัฐแห่งหนึ่งซึ่งส่งบรรณาการมาให้จักรพรรดิจีน[11] แต่คำนี้ไม่ปรากฏในภาษาเขมรเก่า (Old Khmer)[12]
มีผู้เห็นว่า "เจนละ" ในภาษาจีน แปลว่า "ขี้ผึ้งบริสุทธิ์" (pure beeswax) ซึ่งน่าจะมาจากการที่ภูมิภาคนี้มีสินค้าอย่างหนึ่งเป็นขี้ผึ้งบริสุทธิ์ ตามที่เอกสารจีนพรรณนาไว้[13][14] แต่ในสมัยราชวงศ์ถัง (唐朝) คำว่า "เจนละ" ออกเสียงว่า "Tsienliäp" จึงมีผู้เสนอแนวคิดอีกประการว่า "เจนละ" อาจเป็นคำเดียวกับ "เสียมเรียบ" หรือ "สยามราบ" (សៀមរាប เสียมราบ) ที่แปลว่า สยามแพ้ราบคาบ แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วย[15][1]
ส่วนพีเทอร์ แฮร์ริส (Peter Harris) เห็นว่า "เจนละ" น่าจะแปลว่า "จามราบคาบ" มากกว่า "สยามราบคาบ" เพราะคำว่า "เจนละ" ในภาษาจีนเขียนได้อีกอย่างว่า "จั้นล่า" (占臘) และคำว่า "จั้น" นี้จีนใช้เรียกจาม แฮร์ริสยังอ้างถึงเอกสาร หมิงฉื่อ (明史) ที่ระบุว่า ในรัชศกชิ่ง-ยฺเหวียน (慶元) ของจักรพรรดิหนิงจง (寧宗) แห่งราชวงศ์ซ่ง (宋朝) ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1195–1200 นั้น กัมพูชาขับไล่ชาวจามออกไปจากดินแดน จึงได้ครองดินแดน เป็นเหตุให้ดินแดนนี้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "จั้นล่า" แต่ในช่วงราชวงศ์ยฺเหวียน (元朝) คำนี้ก็กลายเป็น "เจินล่า" (เจนละ) ไป[1]
พระมหากษัตริย์เจนละซึ่งใช้ประเพณีปกครองแบบเทวราชาของฮินดูนั้น มักใช้พระนามที่มีคำว่า "วรรมัน/วรรมัม" (varman/varmam) อันแปลว่า มีเกราะ หรือมีเครื่องคุ้มกัน เช่น "ชัยวรรมัน" (่jayavarman) แปลว่า มีชัยชนะเป็นเกราะ ธรรมเนียมนี้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายมนุสัมฤติ (मनुस्मृति มนุสฺมฺฤติ) บัญญัติไว้สำหรับชนชั้นกษัตริย์[16]
ประวัติ
แก้ความเป็นมาของเจนละค่อนข้างคลุมเครือ เจนละเดิมน่าจะเป็นหนึ่งในศูนย์อำนาจทางภูมิภาคของรัฐฟูนัน โดยมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่ง แล้วแยกตัวออกจากฟูนันในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ส่วนประเด็นทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับเจนละ เช่น อาณาเขต, การขยายอาณาเขต, ศูนย์กลางทางศาสนา, และศูนย์กลางทางการเมือง รวมถึงประเด็นความเป็นรัฐเดี่ยวหรือเป็นรัฐต่าง ๆ ที่มารวมกลุ่มกันนั้น นักวิชาการยังไม่ลงรอยกัน[17][18]
เอกสารจีนระบุว่า เจนละเป็นรัฐหนึ่งรัฐ แต่ไมเคิล วิกเกอรี นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า จีนน่าจะใช้คำว่า "เจนละ" เรียกรัฐหลาย ๆ รัฐรวมกันเหมือนเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดหมวดหมู่ผู้คนที่มีลักษณะบางประการร่วมกัน โดยมิได้สนใจว่า รัฐเหล่านี้แตกต่างกันประการใด[19]
สำหรับการแยกตัวของเจนละจากฟูนันนั้น ตามเอกสารจีนแล้ว ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้นำของเจนละ คือ ภววรรมันที่ 1 (ភវវរ្ម័នទី១ ภววรฺมันที ๑) และมเหนทรวรรมัน (មហេន្ទ្រវរ្ម័ន มเหนฺทฺรวรฺมัน) รวมกำลังกันไปตีฟูนัน และพิชิตฟูนันได้สำเร็จ[20][21]
เอกสาร ซินถังชู ของราชวงศ์ถังว่า เมื่อสิ้นรัชศกเฉินหลง (神龍) ของจักรพรรดิจงจง (中宗) แห่งราชวงศ์ถัง ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 705–707 นั้น ปรากฏว่า เจนละแตกแยกออกเป็นสองส่วน คือ เจนละบกกับเจนละน้ำ เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความวุ่นวายทางการเมืองเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนบรรพกษัตริย์ฟูนันและเจนละจะหลอมรวมแผ่นดินเป็นอันหนึ่งอันเดียว ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ราชวงศ์ไศเลนทร์ (Shailendra dynasty) จากเกาะชวามาปล้นและยึดครองเจนละน้ำได้สำเร็จ แต่ไมเคิล วิกเกอรี เห็นว่า การที่จีนแบ่งเจนละออกเป็นเจนละบกกับเจนละน้ำนี้ชวนให้เข้าใจผิด เพราะเดิมทีก็ไม่มีรัฐอันหนึ่งอันเดียวอยู่แล้ว อย่างน้อยก็จนกว่าจะก่อตั้งจักรวรรดิเขมรใน ค.ศ. 802[22]
จำนวนจารึกที่เคยสร้างขึ้นอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กลับลดลงอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 บ่งบอกว่า เวลานั้น เจนละเสื่อมโทรมลงเต็มทีแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะความขัดแย้งภายใน และปัญหาภายนอกที่มาจากการโจมตีของราชวงศ์ไศเลนทร์ อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า ผู้นำท้องถิ่นคนหนึ่ง คือ ชัยวรรมันที่ 2 สามารถก่อตั้งรัฐที่เรียกว่า "จักรวรรดิเขมร" ใน ค.ศ. 802 ทำให้ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายยุติลง
ศูนย์กลางการเมือง
แก้ในทางวิชาการนั้น ฌอร์ฌ เซแด็ส (George Cœdès) และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งร่วมสมัยกับเขา อ้างอิงเอกสารของราชวงศ์สุยที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์เจนละประทับอยู่ใกล้ภูเขานามว่า "Ling-jia-bo-po" และเห็นว่า "Ling-jia-bo-po" มาจากคำว่า "Lingaparvata" (ลิงคบรรพต; "ภูเขาลึงค์") และวัดภู (ວັດພູ) ในแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ก็มีโบราณสถานเขมรที่สอดคล้องกับลักษณะที่เอกสารจีนพรรณนาไว้พอดี จึงสรุปว่า วัดภูก็คือศูนย์กลางของเจนละ[23][24][25] แต่นักวิชาการปัจจุบัน เช่น ไมเคิล วิกเกอรี และโกลด ฌัก (Claude Jacques) ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ใช่วัดภูแห่งเดียวที่มีลักษณะสอดคล้องกับความเป็น "ลิงคบรรพต" ทว่า หลักฐานต่าง ๆ ในยุคเจนละก็มีเหลือไม่มากพอจะให้ได้ข้อยุติ[26]
ส่วนตำนานกัมพูชาว่า นักบวชนาม "กัมวุสวยัมภุวะ" (កម្វុស្វយម្ភុវ กมฺวุสฺวยมฺภุว) ได้รับสตรีนาม "เมระ" (Mera) มาจากพระศิวะ นักบวชและสตรีดังกล่าวสมสู่กันจนเกิดบุตร คือ ศรุตวรรมัน (Śrutavarman) และศรุตวรรมันมีบุตรนาม "เศรษฐวรรมัน" (Sreshthavarman) ซึ่งเป็นที่มาของนครที่เรียกว่า "เศรษฐปุระ" (ស្រេស្ឋបុរ เสฺรสฺฐบุร) และมีผู้เชื่อมโยงว่า เศรษฐปุระเป็นศูนย์กลางของเจนละอันตั้งอยู่ ณ ลิงคบรรพตนั้น[27]
รายพระนามพระมหากษัตริย์เจนละ
แก้พระมหากษัตริย์ | ครองราชย์ | |||
---|---|---|---|---|
รัชกาล | พระรูป | พระนาม | ระหว่าง | หมายเหตุ |
อาณาจักรเจนละ (พ.ศ. 1093 – 1345) | ||||
19 | พระเจ้าภววรมันที่ 1 | พ.ศ. 1123 – 1143 (20 ปี) |
เป็นเชษฐาของพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ในอาณาจักรฟูนานที่ปกครองเมืองภวปุระ พระองค์ได้ร่วมมือกันกับเจ้าชายจิตรเสน ยกกองทัพเข้าชิงราชสมบัติจากพระเจ้ารุทรวรมัน เพราะเห็นว่าพระเจ้ารุทรวรมันขาดความชอบธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติโดยหลังจากที่พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3สวรรคต พระเจ้ารุทรวรมันก็ทำการสังหารรัชทายาทที่ชอบธรรมที่ประสูติจากพระอัครมเหสี แล้วขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟูนาน ซึ่งพระเจ้าภววรมันที่ 1 ก็ได้รับชัยชนะเหนือพระเจ้ารุทรวรมันและยึดราชธานีวยาธปุระได้สำเร็จ}} | |
20 | พระเจ้ามเหนทรวรมัน | พ.ศ. 1143 – 1159 (16 ปี) |
เป็นอนุชาของพระเจ้าภววรมันที่ 1 | |
21 | พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1159 – 1178 (19 ปี) |
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามเหนทรวรมัน | |
22 | พระเจ้าภววรมันที่ 2 | พ.ศ. 1182 – 1200 (18 ปี) |
||
23 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1200 – 1224 (24 ปี) |
สวรรคตโดยไม่มีรัชทายาทที่เป็นชายหลงเหลืออยู่เลย พระมเหสีของพระองค์ คือ พระนางเจ้าชัยเทวี จึงสืบราชสมบัติต่อ และทำให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนออกเป็นภาคส่วนต่าง ๆ [24][28] | |
24 | พระนางเจ้าชัยเทวี | พ.ศ. 1224 – 1256 (32 ปี) |
เป็นพระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 | |
25 | พระเจ้าพลาทิตย์ | พ.ศ. 1256 – 1256 (น้อยกว่า 1 ปี) |
||
26 | พระเจ้านรีประทินวรมัน | พ.ศ. 1256 – 1259 (3 ปี) |
||
27 | พระเจ้าบุษกรักษา | พ.ศ. 1259 – 1273 (14 ปี) |
||
28 | พระเจ้าสัมภูวรมัน | พ.ศ. 1273 – 1303 (30 ปี) |
||
29 | พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1303 – 1323 (20 ปี) |
||
30 | พระเจ้ามหิปติวรมัน | พ.ศ. 1303 – 1345 (42 ปี) |
||
อาณาจักรศรีวิชัย เข้ายึดครองอาณาจักรเจนละ (พ.ศ. 1345) |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Zhou 2007. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "FOOTNOTEZhou2007" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations by Charles F. W. Higham - Chenla - Chinese histories record that a state called Chenla..." (PDF). Library of Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-04. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.
- ↑ ""What and Where was Chenla?" - In the 1970s Claude Jacques began cautiously to move away from the established historiographical framework" (PDF). Michael Vickery. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ Jacques 1979, p. 376.
- ↑ Some Aspects of Asian History and Culture by Upendra Thakur p.2
- ↑ "Considerations on the Chronology and History of 9th Century Cambodia by Dr. Karl-Heinz Golzio, Epigraphist - ...the realm called Zhenla by the Chinese. Their contents are not uniform but they do not contradict each other" (PDF). Khmer Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-24. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
- ↑ Vickery, Society, Economics, and Politics in pre-Angkor Cambodia, pp. 71 ff.
- ↑ "As in Heaven, So on Earth: The Politics of Visnu Siva and Harihara Images in Preangkorian Khmer Civilisation". academia edu. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
- ↑ "THE JOURNAL OF THE SIAM SOCIETY - AN HISTORICAL ATLAS OF THAILAND Vol. LII Part 1-2 1964 - The Australian National University Canberra" (PDF). The Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ "Chenla - 550-800". Global Security. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.
- ↑ "The History of Cambodia By Justin Corfield". Google Books. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.
- ↑ Claude Jacques, "‘Funan’, ‘Zhenla’: The Reality Concealed by these Chinese Views of Indochina", in R. B. Smith and W. Watson (eds.), Early South East Asia : Essays in Archaeology, History and Historical Geography, New York, Oxford University Press, 1979, pp.371-9, p.378.
- ↑ "Short History of Cambodia - Nokor Chenla By Kee...Chenla simply means pure wax. The Chinese called Cambodia the land of pure beeswax". Narkive com. 3 March 2004. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
- ↑ "Why did Chinese call Cambodia Chenla" (PDF). The Son of the Empire. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
- ↑ Vickery (1998).
- ↑ "Personal and Geographical Names in the Gupta Inscriptions By Tej Ram Sharma". Google Books. สืบค้นเมื่อ 24 December 2015.
- ↑ "The Kingdom of Chenla". Asia's World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
- ↑ ""What and Where was Chenla?" - there is really no need to look for Chenla beyond the borders of what is present-day Cambodia. All that is required is that it be inland from Funan" (PDF). Michael Vickery publications. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
- ↑ ""What and Where was Chenla?" - In the 1970s Claude Jacques began cautiously to move away from the established historiographical framework" (PDF). Michael Vickery. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
- ↑ Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 978-616-7339-44-3
- ↑ "THE JOURNAL OF THE SIAM SOCIETY - AN HISTORICAL ATLAS OF THAILAND Vol. LII Part 1-2 1964 - The Australian National University Canberra" (PDF). The Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ ""What and Where was Chenla?" - In the 1970s Claude Jacques began cautiously to move away from the established historiographical framework" (PDF). Michael Vickery. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ "A "Hindu" man of prowess - History, Culture, and Region in Southeast Asian Perspectives by O. W. Wolters". Google Books. สืบค้นเมื่อ December 29, 2015.
- ↑ 24.0 24.1 Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ "Proceedings of the British Academy, Volume 121, 2002 Lectures by British Academy". Google Books. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
- ↑ ""What and Where was Chenla?" - there is really no need to look for Chenla beyond the borders of what is present-day Cambodia. All that is required is that it be inland from Funan" (PDF). Michael Vickery publications. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
- ↑ "Full text of "Kambuja Desa"". archive org. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ Higham, Charles. Early Mainland Southeast Asia. River Books Co., Ltd. ISBN 9786167339443.
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้บทความ
แก้- Barth, Aguste (1903). "Inscription sanskrite du Phou Lokhon (Laos)". Album Kern; Opstellen Geschreven Ter Eere van H[endrik] Kern: 37–40.
- {{Cite journal|last=Coedes|first=Georges|date=1943|title=Études Cambodgiennes XXXVI: Quelques précisions sur la fin de Fou-nan|journal=Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient|volume=43|issue=|pages=1–8|doi=10.3406/befeo.1943.5733|jstor=|via=Persée
- Dowling, Nancy (1994), What and Where was Chenla?, École française d'Extrême-Orient, Paris
- Dowling, Nancy (2000). "New Light on Early Cambodian Buddhism". Journal of the Siam Society. 88 (1&2): 122–155.
- {{Cite journal|last=Finot|first=Louis|date=1928|title=Nouvelles inscriptions du Cambodge|journal=Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient|volume=28|issue=1|pages=43–80|doi=10.3406/befeo.1928.3116|jstor=|via=Persée
- {{Cite journal|last=Higham|first=Charles|date=2015|title=At the dawn of history: From Iron Age aggrandisers to Zhenla kings|journal=Journal of Southeast Asian Studies|volume=437|issue=3|pages=418–437|doi=10.1017/S0022463416000266|s2cid=163462810|via=Cambridge University Press
- Lavy, Paul A. (2003). "As in Heaven, So on Earth: The Politics of Visnu Siva and Harihara Images in Preangkorian Khmer Civilisation". Journal of Southeast Asian Studies. National University of Singapore. 34 (1): 21–39. doi:10.1017/S002246340300002X. S2CID 154819912. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015 – โดยทาง Academia.edu.
- Lévy, Paul (1970). "Thala Bŏrivăt ou Stu'ṅ Trèṅ: sites de la capitale du souverain khmer Bhavavarman Ier". Journal Asiatique. 258: 113–129.
- {{Cite journal|last=Pelliot|first=Paul|date=1903|title=Le Fou-nan|journal=Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient|volume=3|issue=|pages=248–303|doi=10.3406/befeo.1903.1216|jstor=|via=Persée
- {{Cite journal|last=Pelliot|first=Paul|date=1904|title=Deux itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle|journal=Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient|volume=4|issue=|pages=131–413|doi=10.3406/befeo.1904.1299|jstor=|via=Persée
- {{Cite journal|last=Seidenfaden|first=Erik|date=1922|title=Complément à l'inventaire descriptif des Monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental|journal=Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient|volume=22|issue=|pages=55–99|doi=10.3406/befeo.1922.2912|jstor=|via=Persée
- Sternstein, Larry (1964). "An Historical Atlas Of Thailand". Journal of the Siam Society. 3 (1–2).
- Vickery, Michael (1994), What and Where was Chenla?, École française d'Extrême-Orient, Paris
- Wolters, O. W. (1974). "North-western Cambodia in the seventh century". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 37 (2): 355–384. doi:10.1017/S0041977X00136298. JSTOR 612583. S2CID 162613112.
หนังสือ
แก้- Brown, Robert L. (1996). The Dvāravatī Wheels of the Law and the Indianization of South East Asia. E. J. Brill. ISBN 9-0041-0435-6. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015.
- Chandler, David P. (2018). A History of Cambodia. Taylor & Francis. ISBN 978-0-42997-514-1.
- Coe, Michael D. (2018). Angkor and the Khmer Civilization. Thames & Hudson. ISBN 978-0-50005-2-105.
- Coedes, Georges (1937–1966). [IC] Inscriptions du Cambodge. Éditées et traduites par G[eorge] Cœdès. Vol. I-VIII. Hanoi. Impr. Extrême-Orient.
- [ISCC] Inscriptions sanscrites de Campā et du Cambodge [Éd. et trad.] par Abel Bergaigne et A[uguste] Barth. Klincksieck. 1893.
- Ishizawa, Yoshiaki; Jacques, Claude; Sok, Khin (2007). [MEC] Manuel d'épigraphie du Cambodge. École Française d'Extrême-Orient.
- Coedes, Georges (1964). Angkor, an Introduction. Oxford University Press.
- Coedes, Georges (1975), Vella, Walter F. (บ.ก.), The Indianized States of Southeast Asia, University of Hawaii Press., ISBN 978-0-8248-0368-1
- Corfield, Justin J. (2009). The History of Cambodia. ABC-CLIO.
- Glover, Ian (2004). Southeast Asia: From Prehistory to History. Psychology Press. ISBN 978-0-415-29777-6.
- Guy, John (2014). Lost Kingdoms: Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia. ISBN 9781588395245. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
- Jacques, Claude (1979). "'Funan', 'Zhenla': The Reality Concealed by These Chinese Views of Indochina.". Early South East Asia. Oxford University Press.
- Jacques, Claude; Freeman, Michael (1999). Ancient Angkor. Thames & Hudson. ISBN 978-0-50005-2-105.
- Higham, Charles (2004). The Civilization of Angkor. University of California Press. ISBN 978-0-52024-218-0.
- Howard, Michael C. (2014). Transnationalism in Ancient and Medieval Societies: The Role of Cross- border Trade and Travel. McFarland, Incorporated, Publishers. ISBN 978-0-786-49033-2.
- Kiernan, Ben (2019). Việt Nam: a history from earliest time to the present. Oxford University Press. ISBN 978-0-190-05379-6.
- Jacob, Judith M. (2013). Smyth, David (บ.ก.). Cambodian Linguistics, Literature and History: Collected Articles. Taylor & Francis. ISBN 978-1-135-33873-2.
- Miksic, John Norman; Yian, Goh Geok (2016). Ancient Southeast Asia. Routledge.
- O'Reilly, Dougald J. W. (2007). Early Civilizations of Southeast Asia. ISBN 978-0-759-10279-8. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015.
- Ray, Himanshu Prabha (1994). The Winds of Change: Buddhism and the Maritime Links of Early South Asia. Oxford UP. ISBN 978-0-195-63551-5.
- Sharma, Tej Ram (1978). Personal and Geographical Names in the Gupta Inscriptions. สืบค้นเมื่อ 24 December 2015.
- Vickery, Michael (1998). Society, economics, and politics in pre-Angkor Cambodia: the 7th-8th centuries. Centre for East Asian Cultural Studies for Unesco, The Toyo Bunko. ISBN 978-4-89656-110-4.
- Wolters, O. W. (1999). A "Hindu" man of prowess - History, Culture, and Region in Southeast Asian Perspectives. ISBN 978-0-877-27725-5. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
- Zhou, Daguan (2007). A Record of Cambodia: The Land and Its People. Silkworm Books. ISBN 978-1-62840-172-1.
เว็บไซต์
แก้- Ferlus, Michel (2012). "Linguistic evidence of the trans-peninsular trade route from North Vietnam to the Gulf of Thailand (3rd-8th centuries). Mon-Khmer Studies, Michel FERLUS" (PDF). สืบค้นเมื่อ 20 March 2021.
- "Cambodia - History." Windows on Asia. Michigan State, 2014. Web. 1 December 2015. https://web.archive.org/web/20151117160755/http://asia.isp.msu.edu/wbwoa/southeast_asia/cambodia/history.htm.