ทิวเขาพนมดงรัก

(เปลี่ยนทางจาก พนมดงรัก)

ทิวเขาพนมดงรัก (เขมร: ជួរភ្នំដងរែក) เป็นทิวเขาที่ทอดตัวในแนวตะวันออก-เฉียงเหนือ เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว ชื่อ พนมดงรัก ในภาษาไทยมาจากชื่อในภาษากูยและภาษาเขมรว่า พนมด็องแรก แปลว่า "ภูเขาไม้คาน"

ทิวเขาพนมดงรัก
ทิวเขาพนมดงรัก เมื่อมองจากทางทิศตะวันออก
ของผามออีแดง ประเทศไทย
จุดสูงสุด
ยอดภูขี้สุข
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
753 เมตร (2,470 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว300 กม. (186 ไมล์) ตะวันออก/ตะวันตก
กว้าง40 กม. (25 ไมล์) เหนือ/ใต้
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ทิวเขาพนมดงรักกั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทยกับกัมพูชา
ประเทศไทย, กัมพูชา และ ลาว
พิกัดเทือกเขา14°20.25′N 103°55′E / 14.33750°N 103.917°E / 14.33750; 103.917
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคจูแรสซิก
ประเภทหินหินทราย และ หินทรายแป้ง

พนม มาจากภาษาเขมร แปลว่า ภูเขา

ด็องแรก หรือ ด็องแระ มาจากภาษากูย แปลว่า ไม้คาน

ทิวเขามีจุดเริ่มต้นที่ช่องตะโกเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่าง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กับ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ทิวเขาทอดยาวไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่าง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ กับ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เมื่อถึงหลักเขตแดนที่ 28 เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาโดยตลอด ในเขตอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านหลักเขตแดนที่ 26 ผ่านช่องจันทร์ชะฮอมไปทางตะวันออก เข้าเขตอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ผ่านหลักเขตแดนที่ 24 ไปทางทิศตะวันออก ผ่านหลักเขตแดนที่ 21 (ช่องเหา) เข้าเขตอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ผ่านหลักเขตแดนที่ 2 (ช่องดาระกา) ในเขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จนไปเข้าเขตอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ผ่านอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เข้าเขตอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอบุณฑริก อำเภอสิรินธร ไปเข้าเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากนั้นทิวเขาขึ้นไปทางทิศเหนือ จนลงสู่แม่น้ำโขงซึ่งสิ้นสุดทิวเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ทิวเขามีความยาวประมาณ 635 กิโลเมตร[1]

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (อักษร น-ม) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : เดอะ เบสท์ เพรส แอนด์ ครีเอชั่น, ๒๕๖๐. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้