เขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก

เขตจีน (อังกฤษ: Sinosphere)[1] มีอีกชื่อว่า เขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (East Asian cultural sphere)[2] หรือ โลกจีน (Sinic world)[3] ครอบคลุมหลายประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม บรรทัดฐาน และประเพณีของจีน[3][4] ตามความเห็นพ้องทางวิชาการ เขตจีนประกอบด้วยสี่ประเทศ: เกรตเตอร์ไชนา (Greater China)[a] ญี่ปุ่น เกาหลี[b] และเวียดนาม[5] คำจำกัดความอื่น ๆ อาจรวมมองโกเลีย[6][7][8] และสิงคโปร์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ของจีนที่จำกัดหรือชาวจีนพลัดถิ่นในสมัยใหม่ที่เพิ่มขึ้น[9] เขตจีนไม่ควรสับสนกับ Sinophone ซึ่งระบุประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาจีน[10]

เขตจีน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม東亞文化圈
漢字文化圈
อักษรจีนตัวย่อ东亚文化圈
汉字文化圈
ความหมายตามตัวอักษรเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
เขตวัฒนธรรมอักษรจีน
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือVùng văn hóa Á Đông
Vùng văn hóa chữ Hán
จื๋อโนม塳文化亞東
塳文化𡨸漢
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
동아문화권
한자문화권
ฮันจา
東亞文化圈
漢字文化圈
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ東亜文化圏
漢字文化圏
ฮิรางานะとうあぶんかけん
かんじぶんかけん
การถอดเสียง
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงtō-a bunkaken
kanji bunkaken
คุนเรชิกิTô-A Bunkaken
Kanzi Bunkaken
มังกรเอเชียตะวันออกเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานในเทพปกรณัมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
วิธีการพูดและเขียน "เขตจีน" ในภาษาหลักของเขตจีน

จีนสมัยจักรวรรดิเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและมีอิทธิพลต่อรัฐบรรณาการและรัฐเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม[c] ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ทำให้อิทธิพลทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมหยั่งรากลึกในลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพุทธ และลัทธิเต๋า ในประวัติศาสตร์ยุคคลาสสิก วัฒนธรรมทั้งสี่มีระบบจักรวรรดิร่วมกันภายใต้จักรพรรดิแต่ละองค์ สิ่งประดิษฐ์ของจีนมีอิทธิพล และภายหลังได้รับอิทธิพลจากนวัตกรรมของวัฒนธรรมอื่นในด้านการปกครอง ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปะ[13][14][15] ภาษาจีนคลาสสิกรูปเขียนกลายเป็นภาษากลางสำหรับการแลกเปลี่ยนวรรณกรรมและวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค[16] และอักษรจีน (ฮั่นจื้อ) ผ่านการดัดแปลงที่ญี่ปุ่นในฐานะ อักษรคันจิ เกาหลีในฐานะ อักษรฮันจา และเวียดนามในฐานะ chữ Hán[17][18]

ในประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิกตอนปลาย วรรณกรรมของจีนสมัยคลาสสิกมีความสำคัญลดน้อยลง เนื่องจากญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนามต่างประดิษฐ์สำนวนโวหารของตนเองมาใช้ โดยญี่ปุ่นพัฒนาอักษรคาตากานะและฮิรางานะ เกาหลีประดิษฐ์อักษรฮันกึล และเวียดนามพัฒนาอักษรจื๋อโนม (ปัจจุบันแทบไม่มีใครใช้งาน ชุดตัวอักษรเวียดนามในปัจจุบันอิงจากชุดตัวอักษรละติน)[19][20] กระนั้น วรรณกรรมคลาสสิกที่เขียนด้วยอักษรจีนยังคงเป็นมรดกสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม[21] ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อิทธิพลทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมของลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธยังคงปรากฏให้เห็นในวัฒนธรรมระดับสูงและหลักคำสอนทางสังคม

ศัพท์บัญญัติ

แก้

จีนสมัยโบราณถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอารยธรรมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการอพยพของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวฮั่นดั้งเดิมจากแม่น้ำหวงโดยทั่วไปถือเป็นจุดเริ่มต้นของโลกเอเชียตะวันออก ปัจจุบัน ประชากรจีนมีประมาณ 1,402 ล้านคน[22]

นิชิจิมะ ซาดาโอะ [ja] (ค.ศ. 1919–1998) นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นผู้บัญญัติศัพท์ โทอะบุนกะ-เก็ง (ญี่ปุ่น: 東亜文化圏โรมาจิTōa bunka-ken) เพื่อกำเนิดขอบเขตวัฒนธรรมจีนหรือเอเชียตะวันออกที่แตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตก นิชิจิมะรายงานว่า เขตวัฒนธรรมนี้—ซึ่งรวมจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม—มีปรัชญาลัทธิขงจื๊อ ศาสนาพุทธร่วมกัน และโครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่คล้ายคลึงกัน โดยเกิดจากภูมิหลังของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ภาษาจีนคลาสสิก[4]

วัฒนธรรม

แก้
 
พระราชวังเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม สถาปัตยกรรมจีนมีอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมในเอเชียตะวันออกของเวียดนาม เกาหลี และญี่ปุ่น

ศิลปะ

แก้

อาหาร

แก้

อาหารของเอเชียตะวันออกใช้วัตถุดิบและเทคนิคเดียวกันร่วมกันหลายอย่าง มีการใช้ตะเกียบเป็นเครื่องมือในการรับประทานอาหารในประเทศหลักแถบเอเชียตะวันออกทั้งหมด[25] การใช้ซอสถั่วเหลืองซึ่งทำจากถั่วเหลืองหมักก็แพร่หลายในภูมิภาคนี้เช่นกัน[26]

ข้าวเป็นอาหารหลักในเอเชียตะวันออกทั้งหมดและเป็นจุดสนใจหลักของความมั่นคงทางอาหาร[27] คนไม่มีข้าวมักถูกมองว่าไม่มีอาหารกิน นอกจากนี้ ในประเทศแถบเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น (御飯; gohan) และเกาหลี (밥; bap) ศัพท์สำหรับ "ข้าวสุก" สามารถสื่อความหมายของอาหารโดยทั่วไปได้[25]

คำศัพท์ยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับอาหารเอเชียตะวันออกได้แก่boba, กิมจิ, ซูชิ, หม้อไฟ, ชา, ติ่มซำ, ราเม็ง เช่นเดียวกันกับเฝอ, ซาชิมิ, อุด้ง กับแนมซ้าน เป็นต้น[28]

นามสกุล

แก้

เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป (เช่น Smith และ Schmid) ประเทศในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกใช้ระบบนามสกุลร่วมกัน แต่การออกเสียงแตกต่างกัน ตารางด้านล่างแสดงชื่อสกุลทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออก

อักษรซีเจเค พินอินจีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น

หลี่

ลี้

Lee

อี-รี

Ri

ริ

Chén

เฉิน

Trần

เจิ่น

Jin

ชิน

Chin

ชิน

Wáng

หวัง

Vương

เวือง

Wang

วัง

Ō

โอ

Zhāng

จาง

Trương

เจือง

Jang

ชัง

Chō

โช

Zhào

จ้าว

Triệu

เจี่ยว

Jo

โช

Chō

โช

Zhū

จู

Chu

จู

Ju

ชู

Shu

ชุ

Zhōu

โจว

Chu

จู Châu เจิว

Ju

ชู

Shū

ชู

Yáng

หยาง

Dương

เซือง

Yang

ยัง

โย

Sūn

ซุน

Tôn

ตน

Son

ซน

Son

ซน-ซง

หม่า

หมา

Ma

มา

Ba

บะ

เหอ

ห่า

Ha

ฮา

Ka

คะ

หู

Hồ

โห่

Ho

โฮ

Ko

โคะ

Gāo

เกา

Cao

กาว

Go

โค

โค

Xiè

เซี่ย

Tạ

ตะ

Sa

ซา

Sha

ชะ

สู

Từ

ตื่

Seo

ซอ

Sho

โชะ

Liú

หลิว

Lưu

หลืว

Yu/Ryu

ยู-รยู

Ryū

รีว

Liáng

เหลียง

Lương

เลือง

Yang/Ryang

ยัง-รยัง

Ryō

เรียว

Luó

หลัว

La

ลา

Na/Ra

นา-รา

Ra

ระ

Lín

หลิน

Lâm

เลิม

Im/Rim

อิม-ริม

Hayashi

ฮายาชิ

Guō

กัว

Quách

ไกวก์

Gwak

ควัก

Kaku

คากุ

Sòng

ซ่ง

Tống

ต๊ง

Song

ซง

โซ

Zhèng

เจิ้ง

Trịnh

จิ่ญ

Jeong

ช็อง

Tei

เท

Huáng

หวง

Hoàng

ฮหวั่ง Huỳnh ฮหวิ่ญ

Hwang

ฮวัง

โค

อู๋

Ngô

โง

Oh

โอ

Go

โกะ

Táng

ถัง

Đường

เดื่อง

Dang

ทัง

โท

หมายเหตุ

แก้
  1. รวมสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า
  2. รวมทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
  3. ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของเวียดนามและเกาหลียังคงเป็นรัฐบรรณาการของจีน ในขณะที่ญี่ปุ่นในยุคมูโรมาจิยอมรับเฉพาะมหาอำนาจในระดับภูมิภาค (regional hegemony) ของจีน[11][12]

อ้างอิง

แก้
  1. Fogel 2009; Matisoff 1990.
  2. Lowe & Yasuhara 2016; Choi 2010.
  3. 3.0 3.1 Reischauer, Edwin O. (1974-01-01). "The Sinic World in Perspective | Foreign Affairs" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0015-7120. สืบค้นเมื่อ 2023-05-15.
  4. 4.0 4.1 Wang Hui, "'Modernity and 'Asia' in the Study of Chinese History," in Eckhardt Fuchs, Benedikt Stuchtey, eds.,Across cultural borders: historiography in global perspective [1] (Rowman & Littlefield, 2002 ISBN 978-0-7425-1768-4), p. 322.
  5. Lowe & Yasuhara 2016; Wang 2015; Denecke & Nguyen 2017.
  6. Billé, Franck; Urbansky, Sören (2018). Yellow Perils: China Narratives in the Contemporary World. p. 173. ISBN 9780824876012.
  7. Christian, David (2018). A History of Russia, Central Asia and Mongolia, Volume II: Inner Eurasia from the Mongol Empire to Today, 1260–2000. p. 181. ISBN 9780631210382.
  8. Grimshaw-Aagaard, Mark; Walther-Hansen, Mads; Knakkergaard, Martin (2019). The Oxford Handbook of Sound and Imagination: Volume 1. p. 423. ISBN 9780190460167.
  9. Gold, Thomas B. (1993). "Go with Your Feelings: Hong Kong and Taiwan Popular Culture in Greater China". The China Quarterly. 136 (136): 907–925. doi:10.1017/S0305741000032380. ISSN 0305-7410. JSTOR 655596. S2CID 154597583.
  10. Hee, Wai-Siam (2019). Remapping the Sinophone: The Cultural Production of Chinese-Language Cinema in Singapore and Malaya before and during the Cold War (1 ed.). Hong Kong University Press. doi:10.2307/j.ctvx1hwmg. ISBN 978-988-8528-03-5. JSTOR j.ctvx1hwmg. S2CID 213443949.
  11. Kang, David C. (2012). East Asia before the West : five centuries of trade and tribute (Paperback ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-15319-5. OCLC 794366373.
  12. Howe, Christopher. The Origins of Japanese Trade Supremacy: Development and Technology in Asia. p. 337
  13. Nanxiu Qian; Richard J Smith; Bowei Zhang, บ.ก. (2020). Rethinking the Sinosphere: Poetics, Aesthetics, and Identity Formation. Cambria Press. ISBN 978-1604979909.
  14. Nanxiu Qian; Richard J Smith; Bowei Zhang, บ.ก. (2020). Reexamining the Sinosphere: Cultural Transmissions and Transformations in East Asia. Cambria Press. ISBN 978-1604979879.
  15. Jeffrey L. Richey (2013). Confucius in East Asia: Confucianism's History in China, Korea, Japan, and Vietnam. Association for Asian Studies. ISBN 978-0924304736.
    • Ching-I Tu, บ.ก. (2010). East Asian Confucianism: Interactions and Innovations. Rutgers University. ISBN 978-0615389325.
    • Chun-chieh Huang, บ.ก. (2015). East Asian Confucianisms: Texts in Contexts. National Taiwan University Press and Vandenhoeck & Ruprecht. ISBN 9783847104087.
  16. Denecke, Wiebke; Li, Wai-yee; Tian, Xiaofei (2017). The Oxford Handbook of Classical Chinese Literature (1000 BCE-900 CE). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-935659-1.
  17. Asher, R. E.; Moseley, Christopher (19 April 2018). Atlas of the World's Languages (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-317-85108-0.
  18. Lacoste, Véronique; Leimgruber, Jakob; Breyer, Thiemo (14 October 2014). Indexing Authenticity: Sociolinguistic Perspectives. Walter de Gruyter GmbH & Co KG. ISBN 978-3-11-034701-2.
  19. Benjamin A Elman, บ.ก. (2014). Rethinking East Asian Languages, Vernaculars, and Literacies, 1000–1919. Brill. ISBN 978-9004279278.
  20. Pelly, Patricia (2018). "Vietnamese Historical Writing". The Oxford History of Historical Writing: Volume 5: Historical Writing Since 1945. Oxford University Press. doi:10.1093/oso/9780199225996.003.0028. ISBN 978-0-19-922599-6.
  21. Takacs, Sarolta (4 March 2015). The Modern World: Civilizations of Africa, Civilizations of Europe, Civilizations of the Americas, Civilizations of the Middle East and Southwest Asia, Civilizations of Asia and the Pacific. Routledge. ISBN 978-1-317-45572-1.
  22. Society, National Geographic (9 September 2020). "Huang He Valley". National Geographic Society. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
  23. McCannon, John (February 2002). How to Prepare for the AP World History. ISBN 9780764118166.
  24. Pan, Lu (22 June 2015). Aestheticizing Public Space: Street Visual Politics in East Asian Cities. Intellect Books. ISBN 978-1-78320-453-3.
  25. 25.0 25.1 Davidson, Alan (1981). Food in Motion: The Migration of Foodstuffs and Cookery Techniques : Proceedings : Oxford Symposium 1983. Oxford Symposium. p. 22. ISBN 978-0-907325-07-9.
  26. Katz, Sandor Ellix (14 May 2012). The Art of Fermentation: New York Times Bestseller. Chelsea Green Publishing. ISBN 978-1-60358-364-0.
  27. Wen S. Chern; Colin A. Carter; Shun-yi Shei (2000). Food security in Asia: economics and policies. Edward Elgar Publishing. p. 2. ISBN 978-1-78254-334-3.
  28. Kim, Kwang-Ok (1 February 2015). Re-Orienting Cuisine : East Asian Foodways in the Twenty-First Century. Berghahn Books, Incorporated. p. 14. ISBN 9781782385639.

ข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้