เฉิน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เฉิน (จีน: 陳) เป็นตระกูลหนึ่งของชาวจีนอพยพที่ใช้มากที่สุดในประเทศไทย และ ใช้เป็นอันดับที่ 3 ของจีน และ ไต้หวัน และเป็นหนึ่งในห้าตระกูลของผู้ใช้มากที่สุดในโลก จะต่างกันแค่ตามกลุ่มสำเนียงภาษาที่อพยพมา พบในประเทศไทย คือ ตัน,ตั๊น (ฮกเกี้ยน) ตั้ง (แต้จิ๋ว) ฉั่น (กวางตุ้ง) ด่าน (ไหหลำ)
ประวัติแก้ไข
ซุ่นเต้ (舜帝)ของราชวงศ์ซาง (商)ซึ่งได้ล่มสลายไปแล้ว จนได้พบกุยหม่าน (妫满) ซึ่งเป็นทายาทสืบสกุลของซุ่นเต้ อู่อ๋องจึงได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับเขา และแต่งตั้งให้เป็นขุนนางปกครองเมืองเฉิน (ปัจจุบันคืออำเภอฮ่วยหยัง(淮阳)ในมณฑลเหอหนาน) เพื่อให้เฝ้าสุสานของซุ่นดี้ เมื่อกุยหม่านเสียชีวิต ได้รับพระราชทานนามว่า เฉินหูกง (陈胡公) อันเป็นต้นกำเนิดของตระกูลเฉิน โดยทายาทรุ่นหลังของเขาต่างใช้เป็นแซ่ของตน และถือเป็นต้นกำเนิดของตระกูลที่ถูกต้อง ต้นกำเนิดตระกูลเฉินยังแยก ออกเป็นอีกสองสาย สายหนึ่งมาจากสมัยแคว้นเว่ยเหนือ (北魏)ยุคสามก๊กที่มากจากคนแซ่อื่นเปลี่ยนแซ่เป็นแซ่เฉิน ส่วนอีกสายหนึ่งมาจากประเทศอันหนาน (ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) โดยกษัตริย์ของอันหนานแซ่เฉิน ซึ่งชนรุ่นหลังของเขาก็แซ่เฉินสืบต่อมา
การออกเสียงในสำเนียงอื่นแก้ไข
แซ่ | ภาษา/สำเนียง | โรมัน | ใช้ใน | พบในภูมิภาค |
---|---|---|---|---|
เฉิน | ภาษาจีน | Chen | ชาวจีนส่วนใหญ่ | ,มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง,มาเก๊า,ไหหลำ |
ฉั่น | ภาษากวางตุ้ง | Chan | ชาวกวางตุ้ง,ชาวฮักกา | มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ไทย,ฮ่องกง,มาเก๊า,ไหหลำ,อินโดนีเซีย |
ฉิน | สำเนียงฮากกา | Chin | ชาวฮากกา | มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง,มาเก๊า,ไหหลำ |
ตัน,ตั๋น | ภาษาฮกเกี้ยน | Tan | ชาวฮกเกี้ยน,ชาวแต้จิ๋ว(บางส่วน),ชาวไหหลำ | มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ไทย,อินโดนีเซีย,ฮ่องกง |
จิน | ภาษาเกาหลี | Jin | ชาวเกาหลี | เกาหลี |
ตั้ง | สำเนียงแต้จิ๋ว | Tang | ชาวแต้จิ๋ว | มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ไทย,กัมพูชา,ลาว,เวียดนามอินโดนีเซีย |
ติง,ดิง | ภาษาฮกจิว | Ting,Ding | ชาวฮกจิว | อินโดนีเซีย,สิงคโปร์,มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์ |
เซน | ภาษาง่อ | Zen | - | - |
เจิ่น | ภาษาเวียดนาม | Trần | ชาวเวียดนาม | เวียดนาม |
ในประเทศไทยแก้ไข
ในประเทศไทยพบมากที่สุดคือ แซ่ตั้ง อาศัยอยู่ตามภาคกลางของไทยซึ่งเป็นชาวแต้จิ๋ว ส่วน แซ่ตัน เป็นแซ่ที่บรรพชนชาวฮกเกี้ยนใช้ พบมากที่สุดในภูเก็ต และ ภาคใต้ของไทย และ เป็นแซ่ที่เก่าแก่และใช่มากที่สุดอันดับ 1 ของภูเก็ต แซ่ฉั่น จะไม่ค่อยพบเห็นแซ่นี้มากในไทยมีบรรพชนมาจากมณฑลกวางตุ้งจะพบมากบริเวณภาคใต้ของไทยและจังหวัดภูเก็ต ส่วนภาคกลางและกรุงเทพมหานครจะพบผู้ใช้แซ่นี้ได้ยาก
ศาลเจ้าประจำตระกูลแก้ไข
- ศาลเจ้าแสงธรรม หรือ ศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง จังหวัดภูเก็ต เป็นศาลประตระกูลแซ่เฉินสายฮกเกี้ยน หรือ แซ่ตัน ประดิษฐานเทพเจ้าอ๋องซุ่นต่ายส่าย และ ตันเซ่งอ๋อง
- ศาลเจ้าตั้งเสี่ยอ้วง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ศาลเจ้าแซ่ตั๋น ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง