ราเม็ง (ญี่ปุ่น: ラーメン หรือ らーめんโรมาจิrāmen) เป็นบะหมี่ของญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ราเม็งมักจะทานกับเนื้อหมู, สาหร่าย, คามาโบโกะ, ต้นหอม และบางครั้งอาจมีใส่ข้าวโพด ราเม็งมีการปรุงรสแตกต่างกันตามแต่ละจังหวัดในญี่ปุ่น เช่นในเกาะคีวชู ต้นกำเนิดของราเม็งกระดูกหมู หรือในเกาะฮกไกโด ต้นกำเนิดของมิโซราเม็ง (ราเม็งซุปเต้าเจี้ยว)

เส้นราเม็งทำจากแป้งสาลีเป็นหลัก เช่นเดียวกับอาหารจากเส้นแบบอื่นของญี่ปุ่นอย่างอูดงหรือโซเม็ง แต่ต่างกันตรงที่ใช้เส้นซึ่งทำโดยผสมน้ำอัลคาไล

ในประเทศตะวันตก คำว่า Ramen ยังเป็นคำที่ใช้เรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วย

ประวัติ

แก้

ในประวัติศาสตร์เท่าที่ทราบ ราเม็ง เดิมมีที่มาจากประเทศจีนและถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นโดยชาวจีนอพยพในศตวรรษที่ 19[1][2][3] หรือช่วงต้นศตวรรษที่ 20[4][5] คำว่า "ราเม็ง" มาจากภาษาจีน "ลาเมี่ยน" (拉麺)[6][7] ที่มีความหมายถึง เส้นบะหมี่ที่ใช้มือนวดให้มีความเหนียวนุ่ม ที่ได้รับความนิยมบริโภคไปทั่วเอเชียตะวันออก แต่อาจจะมีที่มาจากคำอื่น ๆ ที่ออกเสียงใกล้กัน เช่น 拉麺, 老麺, 鹵麺, 撈麵 จากบันทึกของพิพิธภัณฑ์ราเม็งชินโยโกฮามะ ราเม็งถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในราวปี ค.ศ. 1859 และโทกูงาวะ มิตสึกูนิ ขุนนางใหญ่ในยุคเมจิได้รับประทานราเม็ง

ราเม็งเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายในญี่ปุ่นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ในระยะแรก ราเม็งถูกเรียกว่า "ชินาโซบะ" (支那そば) ซึ่งแปลว่า "โซบะเจ๊ก" ("ชินา" เป็นคำเรียกเชิงดูหมิ่นชนชาติจีนในภาษาญี่ปุ่น)[8] ต่อมาชาวจีนได้เริ่มมีการขายราเม็งตามรถเข็นพร้อมกับขายเกี๊ยวซ่าพร้อมกัน และมีการเป่าชารูเมระเพื่อเรียกลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันได้มีการอัดเป็นเทปเปิดแทน

ชนิดของราเม็ง

แก้

ราเม็งมีหลากหลายชนิดแตกต่างกันตามภูมิภาค โดยชนิดของราเม็งจะแบ่งตามลักษณะของเส้น, เนื้อ และซุป สามอย่างนี้เป็นหลัก ตัวอย่างของราเม็ง ได้แก่

แบ่งตามเครื่องปรุงรส

แก้

เครื่องปรุงรสเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สร้างความต่างให้ราเม็ง และมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามเครื่องปรุง

แบ่งตามดาชิ

แก้

น้ำซุปของราเม็งยังประกอบขึ้นจากดาชิซึ่งมีส่วนผสมหลายชนิด เช่น

แบ่งตามเครื่อง

แก้

รวมภาพ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. 新横浜ラーメン博物館「日本のラーメンの歴史」
  2. "How Did Ramen Become Popular?". Atlas Obscura. 2007.
  3. Rupelle, Guy de la (2005). Kayak and land journeys in Ainu Mosir: Among the Ainu of Hokkaido. Lincoln, NE: iUniverse. p. 116. ISBN 978-0-595-34644-8.
  4. Okuyama, Tadamasa (2003). 文化麺類学・ラーメン篇 [Cultural Noodle-logy;Ramen] (ภาษาญี่ปุ่น). Akashi Shoten. ISBN 4750317926.
  5. Kosuge, Keiko (1998). にっぽんラーメン物語 [Japanese Ramen Story] (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha. ISBN 4062563029.
  6. "Unearth the secrets of ramen at Japan's ramen museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-28. สืบค้นเมื่อ 2018-11-05.
  7. Kodansha encyclopedia of Japan, Volume 6 (1st ed.). Tokyo: Kodansha. 1983. p. 283. ISBN 978-0-87011-626-1.
  8. Cwiertka, Katarzyna Joanna (2006). Modern Japanese cuisine: food, power and national identity. Reaktion Books. p. 144. ISBN 1-86189-298-5. However, Shina soba acquired the status of 'national' dish in Japan under a different name - rāmen. The change of name from Shina soba to rāmen took place during the 1950s and '60s. The word Shina, used historically in reference to China, acquired a pejorative connotation through its association with Japanese imperialist association in Asia and was replaced with the word Chūka, which derived from the Chinese name for the People's Republic. For a while, the term Chūka soba was used, but ultimately the name rāmen caught on, inspired by the chicken-flavored instant version of the dish that went on sale in 1958 and spread nationwide in no time.