ซูโม่ (ญี่ปุ่น: 相撲โรมาจิsumōทับศัพท์: ซูโม) หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วย

ซูโม่ (相撲)
มุ่งเน้นการต่อสู้อยู่ในการกอด
Hardnessการสัมผัสแบบเต็ม
ประเทศต้นกำเนิดญี่ปุ่น
Ancestor artsTegoi
Descendant artsยิวยิตสู, Jieitaikakutōjutsu
กีฬาโอลิมปิกไม่ แต่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลยอมรับ
เว็บไซต์ทางการwww.sumo.or.jp
ซูโม่
"ซูโม่" ใน คันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ相撲
การถอดเสียง
โรมาจิsumō

ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครัด

ลักษณะ แก้

คู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนอกเหนือจากฝ่าเท้าแตะกับพื้น หรือดันคู่ต่อสู้ให้ออกจากวงกลมขนาดเล็ก การต่อสู้ใช้เวลาไม่นานและเริ่มต้นด้วยพิธีกรรมซึ่งรวมถึงการโปรยเกลือบนพื้นในกรอบวงกลม เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ เนื่องจากซูโม่เป็นกีฬาที่มีเกียรติ ผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง "โยโกสุนะ" ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ฤดูกาลแข่งขันซูโม่ของนักซูโม่อาชีพ เปิดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง คือในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน

อ้างอิง แก้

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Benjamin, David (1991). The Joy of Sumo: A Fan's Notes. Rutland, Vermont, U.S.A. & Tokyo, Japan: Charles E. Tuttle Company. ISBN 0-8048-1679-4.
  • Gould, Chris (2011). Sumo Through the Wrestlers' Eyes. Amazon. ASIN B006C1I5K8.
  • Gould, Chris (2007, revised: 2011). My First Date With Sumo. Amazon. ASIN B0061BMG0O. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Schilling, Mark (1994). Sumo: A Fan's Guide. Tokyo, Japan: The Japan Times, Ltd. ISBN 4-7890-0725-1.
  • Shapiro, David (1995). Sumo: A Pocket Guide. Rutland, Vermont, U.S.A. & Tokyo, Japan: Charles E. Tuttle Company. ISBN 0-8048-2014-7.
  • Sharnoff, Lora (1993). Grand Sumo. Weatherhill. ISBN 0-8348-0283-X.
  • Tablero, Fco. Javier (2002). Parentesco y organización del sumo en Japón. Madrid: Universidad Complutense de Madrid. ISBN 84-8466-257-8.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้