พระเจ้ารุทรวรมัน
พระเจ้ารุทรวรมันที่ 1 (เขมร: រុទ្រវរ្ម័នទី១, อักษรโรมัน: Rudravarman I, จีน: 留陁跋摩, พินอิน: Liútuóbámó) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรฟูนานพระองค์สุดท้าย และพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปา
พระเจ้ารุทรวรมันที่ 1 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์ฟูนาน | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 514 – 545 |
พระองค์ก่อน | พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 |
พระองค์ถัดไป | พระเจ้าภววรมันที่ 1 (ในฐานะพระมหากษัตริย์เจนละ) |
พระมหากษัตริย์จามปา | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 529 – 572 |
พระองค์ก่อน | พระเจ้าวิชัยวรมัน |
พระองค์ถัดไป | พระเจ้าสัมภูวรมัน |
พระราชสมภพ | วยาธปุระ, อาณาจักรฟูนาน |
สวรรคต | ค.ศ. 572 กานดาปุระ, อาณาจักรจามปา |
พระราชบุตร | พระเจ้าสัมภูวรมัน |
ราชวงศ์ | วรมัน (ราชสกุลเกาฑิณยะ) |
พระราชบิดา | พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 |
ศาสนา | พุทธ |
พระราชประวัติ
แก้พระเจ้ารุทรวรมันทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรฟูนาน และพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปา พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 แห่งฟูนานที่ประสูติจากพระสนม เมื่อพระราชบิดาสวรรคตพระองค์ทรงแย่งชิงราชสมบัติและสังหาร เจ้าชายกุณณะวรมัน รัชทายาทโดยชอบธรรมที่ประสูติจากพระนางกุลประภาวดี พระอัครมเหสี และทรงทำสงครามยืดเยื้อกับพระนางกุลประภาวดี เป็นสาเหตุให้อาณาจักรฟูนานอ่อนแอและล่มสลายลงในที่สุด เมื่อพระเจ้าภววรมันที่ 1 ร่วมกันกับเจ้าชายจิตรเสน (พระเจ้ามเหนทรวรมัน) พระอนุชา ทำสงครามเพื่อชิงราชสมบัติและบุกยึดราชธานีวยาธปุระได้สำเร็จ[1][2]
พระเจ้ารุทรวรมันทรงลี้ภัยพร้อมพระราชมารดาเข้าไปในอาณาจักรจามปา ด้านเอกสารฝ่ายจามปา[3]กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าวิชัยปาโมพระมหากษัตริย์แห่งจามปาสวรรคต กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงพระนามว่า "พระเจ้ารุทรวรมัน" ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ที่ปกครองจามปา ตามบันทึกเอกสารฝ่ายฟูนันระบุปีที่ทรงสิ้นสุดสถานะพระมหากษัตริย์แห่งฟูนันคือประมาณปี ค.ศ. 545 และเอกสารฝ่ายจามปาระบุปีที่ทรงครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจามปาคือปี ค.ศ. 529 ซึ่งมีปีศักราชคลาดเคลื่อนกันถึง 16 ปี แต่เอกสารทั้งฝ่ายฟูนันและฝ่ายจามปาระบุตรงกันว่าพระองค์ได้ส่งราชฑูตไปถวายราชบรรณาการไปยังเมืองจีนและทรงนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนปีที่สวรรคตเอกสารฝ่ายจามปาระบุว่าสวรรคตในปี ค.ศ. 572[4][5]
อ้างอิง
แก้- ↑ សៀវភៅសិក្សាសង្គម ថ្នាកទី១០ ឆ្នាំ២០១៧ របស់ក្រសួងអប់រំ យុវជន និងកីឡា ទំព័រទី១៣៤
- ↑ Jacobsen, Trudy, Lost goddesses: the denial of female power in Cambodian history, NIAS Press, Copenhagen, 2008
- ↑ Taylor, Keith Weller (1983), The Birth of the Vietnam, University of California Press, ISBN
- ↑ Wright, Arthur F. (1979), "The Sui dynasty (581–617)", in Twitchett, Denis Crispin; Fairbank, John King (eds.), The Cambridge History of China: Sui and T'ang China, 589-906 AD, Part One. Volume 3, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 48–149
- ↑ Higham, Charles (2014), Early Mainland Southeast Asia: From First Humans to Angkor, River Books
ก่อนหน้า | พระเจ้ารุทรวรมัน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 | พระมหากษัตริย์ฟูนาน (ค.ศ. 514 – 545) |
พระเจ้าภววรมันที่ 1 |