พระเจ้าภววรมันที่ 1
พระเจ้าภววรมันที่ 1 (เขมร: ភវវរ្ម័នទី១, อักษรโรมัน: Bhavavarman I, จีน: 撥婆跋摩, พินอิน: Bópóbámó) หรือพระนามเต็มว่า พระกมรเตงอัญศรีภววรมัน (วฺระ กมฺรตางฺ อญฺ ศรีภฺววรฺมฺม) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1123 – 1143
พระเจ้าภววรมันที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
มหาราชาธิราช,ภววรมันมหาราช | |||||
พระมหากษัตริย์เจนละ | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ.1123-1143 | ||||
ราชาภิเษก | พ.ศ.1123 | ||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระนางกัมพุชราชลักษมี | ||||
รัชกาลถัดไป | พระเจ้ามเหนทรวรมัน | ||||
สวรรคต | พ.ศ.1143 ภวปุระ,อาณาจักรเจนละ | ||||
พระมเหสี | พระนางกัมพุชราชลักษมี | ||||
พระมหากษัตริย์เจนละ | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าศรีปฤถิวีนทรวรมัน | ||||
ศาสนา | ฮินดู |
พระราชประวัติ
แก้พระเจ้าภววรมันที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1123 – 1143 เป็นเชษฐาของพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ในอาณาจักรฟูนาน ที่ปกครองเมืองภวปุระ พระองค์ได้ร่วมมือกันกับเจ้าชายจิตรเสน ยกกองทัพเข้าชิงราชสมบัติจาก พระเจ้ารุทรวรมัน เพราะเห็นว่าพระเจ้ารุทรวรมันขาดความชอบธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติโดยหลังจากที่ พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 สวรรคต พระเจ้ารุทรวรมัน ก็ทำการสังหารรัชทายาทที่ชอบธรรมที่ประสูติจากพระอัครมเหสี แล้วตั้งตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟูนาน ซึ่งพระองค์ก็มีชัยชนะเหนือพระเจ้ารุทรวรมัน และยึดราชธานีวยาธปุระได้สำเร็จ จากนั้นก็ใช้เวลาอีกหลายปีในศึกสงครามเพื่อรวบรวมและขยายอาณาจักร เจ้าชายจิตรเสนเป็นแม่ทัพที่เกรียงไกรทรงยกกองทัพเข้าปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรฟูนานเพื่อรวมเข้ากับอาณาจักรเจนละ พระเจ้าภววรมันที่ 1 เข้าพิธีบรมราชาภิเษกในปี พ.ศ.1123 เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ โดยพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ.1143 เจ้าชายจิตรเสน ซึ่งตามาคือพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้ทำการชิงราชสมบัติจากพระโอรสของพระองค์ และขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละสืบมา[1][2]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าภววรมันที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Claude Jacques, “'Funan', 'Zhenla'. The reality concealed by these Chinese views of Indochina”, in R. B. Smith and W. Watson (eds.), Early South East Asia: Essays in Archaeology, History, and Historical Geography, New York, Oxford University Press, 1979, pp. 371–9, p. 373.
- ↑ สถาบันกษัตริย์เขมรโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ,หอสมุดวังท่าพระ(PDF)