อาณาจักรศรีวิชัย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยในปัจจุบัน พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ระบุว่า ศรีวิชัยสถาปนาในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ. 1225 เล็กน้อย[3] มีการพบศิลาจารึกภาษามลายูโบราณเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยทั้งที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และพบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา ระบุว่าศรีวิชัยเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากและต้นมะพร้าวจำนวนมาก
ศรีวิชัย Kadatuan Sriwijaya श्रीविजय | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราวปี พ.ศ. 1193–พ.ศ. 1818 | |||||||||||||||||||
![]() แผนที่พัฒนาการของอาณาจักรศรีวิชัย เริ่มในปาเล็มบังในศตวรรษที่ 7 จากนั้นขยายไปยังส่วนใหญ่ของสุมาตรา แล้วขยายไปยังพื้นที่ของเกาะชวา, หมู่เกาะรีเยา, หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง, สิงคโปร์, คาบสมุทรมลายู (เรียกอีกอย่างว่าคาบสมุทรกระ), ประเทศไทย, กัมพูชา, เวียดนามใต้, กาลีมันตัน จวบจนสิ้นเป็นอาณาจักรมลายูแห่งธรรมพระยาในจัมบี ในศตวรรษที่ 14 | |||||||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษามลายูโบราณและภาษาสันสกฤต | ||||||||||||||||||
ศาสนา | มหายาน, วัชรยาน, ศาสนาฮินดู และวิญญาณนิยม | ||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||||
มหาราช | |||||||||||||||||||
• ราว พ.ศ. 1226 | ศรีชยานาสแห่งศรีวิชัย | ||||||||||||||||||
• ราว พ.ศ. 1318 | ธรรมเสตุ | ||||||||||||||||||
• ราว พ.ศ. 1335 | สัมระตุงกา | ||||||||||||||||||
• ราว พ.ศ. 1378 | พลาปุตรา | ||||||||||||||||||
• ราว พ.ศ. 1531 | ศรีจุฑามณีวรมันเทวะ | ||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||
• ศรีชยานาสแห่งศรีวิชัยเสด็จพระราชดำเนินและขยายราชอาณาจักร (จารึกเกดูกันบูกิต) | ราวปี พ.ศ. 1193 | ||||||||||||||||||
พ.ศ. 1568 | |||||||||||||||||||
• อาณาจักรสิงหะส่าหรีโจมตีมลายู | พ.ศ. 1818 | ||||||||||||||||||
สกุลเงิน | เหรียญทองและเงินพื้นเมือง | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย |
ประวัติศาสตร์ไทย | |
---|---|
![]() | |
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ | |
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น | |
การเข้ามาอยู่อาศัย | |
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท | |
บ้านเชียง (ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ.) | |
บ้านเก่า (ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ.) | |
อาณาจักรมอญ-เขมร | |
ฟูนาน (611–1093) | |
ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12–16) | |
ละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12–1630) | |
เขมร (1345–1974) | |
หริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13–1835) | |
ตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13–14) | |
อาณาจักรของคนไท | |
ลพบุรี (1648–1931) | |
กรุงสุโขทัย (1781–1981) | |
สุพรรณภูมิ (พุทธศตวรรษที่ 18–1952) | |
พะเยา (1637–1881) | |
ล้านนา (1835–2101) | |
น่าน (พุทธศตวรรษที่ 18–1992) | |
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325) | |
กรุงศรีอยุธยา | |
กรุงศรีอยุธยา (1893–2310) | |
ประเทศราชเชียงใหม่ (2101–2317) | |
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325) | |
กรุงธนบุรี | |
กรุงธนบุรี (2310–2325) | |
เชียงใหม่ (2317–2437) | |
กรุงรัตนโกสินทร์ | |
กรุงรัตนโกสินทร์ (2325–2475)
| |
ประเทศสยาม | |
ประเทศสยาม (2475–2516)
| |
ประเทศสยาม (2516–2544)
| |
ประเทศไทย | |
ประเทศไทย (2544–ปัจจุบัน)
| |
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค | |
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ | |
| |
หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีนโดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนันมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน 11 พ.ศ. 1214 เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่า ตามพรลิงก์ที่อินเดีย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนทางแหลมมลายูเดิมส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิมที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาใน พ.ศ. 1568 อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตของชวาใน พ.ศ. 1940 แต่มีหลักฐานจากตำนานเมืองเพชรบุรีว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะตำนานฯ ระบุว่าก่อนพระพนมวังจะได้สถาปนาอาณาจักรนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 1830 นครศรีธรรมราชมีสภาพเป็นเมืองร้างมาก่อน
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Indonesia - The Malay kingdom of Srivijaya-Palembang". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-05-23.
- ↑ Partogi, Sebastian (November 25, 2017). "Historical fragments of Sriwijaya in Palembang". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
- ↑ "ฐานข้อมูลบทความวิชาการ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2008-05-06.