พระเจ้าศรีชยนาศแห่งศรีวิชัย

พระเจ้ามหาราชาศรีชยานาสแห่งศรีวิชัย (Sri Jayanas of Srivijaya) เป็นพระเจ้ามหาราชา (จักรพรรดิ) พระองค์แรกของอาณาจักรศรีวิชัยและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ ชื่อของพระองค์ถูกกล่าวถึงในจารึกศรีวิชัย ในปลายศตวรรษที่ 7 ขนานนามว่า “ จารึกสิทธยาตรา “ ซึ่งอธิบายเสด็จพระราชดำเนินอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์เพื่อไปรับพรและพิชิตดินแดนอาณาจักรใกล้เคียง พระองค์ทรงครองราชย์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 7 ถึงต้นศตวรรษที่ 8 ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1214-1245

พระเจ้ามหาราชาศรีชยานาสแห่งศรีวิชัย

ปฐมมหาราชาแห่งศรีวิชัย
พระมหากษัตริย์แห่งศรีวิชัย
ครองราชย์พ.ศ.1214-1245
รัชกาลก่อนหน้าก่อตั้งราชวงศ์และอาณาจักร
รัชกาลถัดไปพระเจ้าศรีอินทรวรมันเทวะแห่งศรีวิชัย
สวรรคตพ.ศ.1245
พระราชบุตรพระเจ้าศรีอินทรวรมันเทวะแห่งศรีวิชัย
พระมหากษัตริย์แห่งศรีวิชัย
พระนามเต็ม
จักรพรรดิมหาราชาศรีชยานาสแห่งศรีวิชัย
ราชวงศ์ราชวงศ์ไศเลนทร์

พระราชประวัติ

แก้

พระภิกษุอี้จิง พระชาวจีนที่เดินทางมาศรีวิชัยและจำพรรษาอยู่เป็นเวลา 6 เดือน ในปี พ.ศ.1214 รู้สึกประทับใจในความเอื้ออาทร ความเมตตา และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพระมหากษัตริย์แห่งศรีวิชัย[1] พระมหากษัตริย์ที่กล่าวถึงในบันทึกของพระภิกษุอี้จิง ต่อมาได้รับการเชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์ที่กล่าวถึงในจารึกศรีวิชัย ที่เก่าแก่ที่สุด (พ.ศ.1225) ที่จารึกเนินเขาเคะดูกัน ค้นพบในปาเลาบัง[2][3][4] อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ภายหลังได้ลดการตีความคำจารึกว่าเชื่อมโยงกับบันทึกของพระภิกษุอี้จิง[5][6][7]

จารึกเนินเขาเคะดูกัน พ.ศ.1226[8] กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ชื่อ ศรีชยานาส ที่เสด็จพระราชดำเนินไปสิทธยาตรา (เสด็จพระราชดำเนินอันศักดิ์สิทธิ์) โดยทางเรือ พระองค์ออกจาก มินางะทามวัน พร้อมกับทหาร 20,000 นาย มุ่งหน้าไปยัง มาจาป และพิชิตดินแดนอาณาจักรต่างๆ จารึกอื่นๆ บอกถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปสิทธยาตราและพิชิตศรีวิชัย และพื้นที่โดยรอบ เช่น จารึกโกตากาปูร์ ที่ค้นพบในเกาะบังกา การังบราฮี ที่ค้นพบในจัมบี และปาลาสปาเซมาร์ที่ค้นพบในภาคใต้ของจังหวัดลัมปุง ทั้งหมดที่กล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกัน จารึกทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า ศรีชยานาส ได้ก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย หลังจากเอาชนะอาณาจักรต่างๆ ใน จัมบี ปาเล็มบัง ลัมปุง และบังกา[9] และพระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทำสัมพันธไมตรีทางทหารกับอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่อาจมีส่วนสนับสนุนจนทำให้อาณาจักรตะรุมนครในชวาตะวันตกเสื่อมโทรม

อ้างอิง

แก้
  1. "Traditional grammar", Linguistics Encyclopedia, Routledge, pp. 671–695, 2003-09-01, สืบค้นเมื่อ 2023-04-19
  2. Casparis, J. G. de (1975). Indonesian palaeography : a history of writing in Indonesia from the beginnings to c. A.D. 1500. Leiden: Brill. ISBN 90-04-04172-9. OCLC 2967469.
  3. Cœdès, Georges (1918). "Le royaume de Çrīvijaya". Bulletin de l'Ecole française d'Extrême-Orient. 18 (1): 1–36. doi:10.3406/befeo.1918.5894. ISSN 0336-1519.
  4. Cœdès, Georges (1930). "Les inscriptions malaises de Çrīvijaya". Bulletin de l'Ecole française d'Extrême-Orient. 30 (1): 29–80. doi:10.3406/befeo.1930.3169. ISSN 0336-1519.
  5. Muljana, Slamet (2006). Sriwijaya (Cet. 1 ed.). Yogyakarta: LKiS. ISBN 979-8451-62-7. OCLC 83604109.
  6. Soekmono, R. (1973). Pengantar Sejarah Kebudayaan Indonesia ([Verschiedene Aufl.] ed.). Yogyakarta: Kanisius. ISBN 979-413-174-1. OCLC 884261720.
  7. Sejarah nasional Indonesia. Marwati Djoened Poesponegoro (Ed. pemutakhiran ed.). [Jakarta]: Balai Pustaka. 2008. ISBN 979-407-407-1. OCLC 435629543.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  8. Cœdès, George (1968). The Indianized states of Southeast Asia. Honolulu. ISBN 0-7081-0140-2. OCLC 961876784.
  9. Dickhardt, Michael; Klenke, Karin; Hermann, Elfriede (2009), "Form, Macht und Differenz als Dimensionen kultureller Praxis", Form, Macht, Differenz, Göttingen University Press, pp. 9–26, สืบค้นเมื่อ 2023-04-19