อาณาจักรมัชปาหิต

อาณาจักรมัชปาหิต เป็นอาณาจักรในชวาตะวันออก มีอำนาจอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1293 ถึงประมาณ ค.ศ. 1527. กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมัชปาหิต คือ ฮะยัม วูรุ (Hayam Wuruk) ครองราชย์ ในช่วง ค.ศ. 1350 - 1389 นับเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรแห่งนี้ โดยได้ขยายอำนาจไปทั่วแหลมมลายูตอนใต้ บอร์เนียว สุมาตรา บาหลี และฟิลิปปินส์

อาณาจักรมัชปาหิต

Kemaharajaan Majapahit (ภาษาอินโดนีเซีย)
ꦏꦫꦠꦺꦴꦤ꧀ꦩꦗꦥꦲꦶꦠ꧀ (ภาษาชวา)
विल्व तिक्त (ภาษาสันสกฤต)
ค.ศ.1292–1527
[1]
เมืองหลวงมัชปาหิต (บางครั้งเรียกตามชื่อสันสกฤตว่า วิลวาติกตา) (ปัจจุบัน โตรวูลาน), ดาหา (เกดิริสมัยใหม่)
ภาษาทั่วไปชวาเก่า (ทั่วไป), สันสกฤต (ทางศาสนา)
ศาสนา
ฮินดู, พุทธ, เกจาเวิน, วิญญาณนิยม, อิสลาม[2]: 19 
การปกครองราชาธิปไตย
ราชา 
• 1295–1309
ระเด่น วิชัย
• 1334–1389
ฮะยัม วูรุ
• 1498–1527
กิรินดราวาร์ดานา (คิรินทรวัฒนะ)
มหาปติห์ 
• c. 1336–1364
กาชาห์ มาดา
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
10 พฤศจิกายน[3] ค.ศ.1292
• สุลต่านเดอมะล้มบัลลังก์
1527
สกุลเงินเกอเป็ง[4]
ก่อนหน้า
ถัดไป
สิงหะส่าหรี
อาณาจักรศรีวิชัย
รัฐสุลต่านเดอมะ
อาณาจักรบาหลี

มัชปาหิตนั้น เป็นอาณาจักรฮินดูแห่งสุดท้ายในหมู่เกาะมลายู ก่อนนี้มีอาณาจักรศรีวิชัย และได้ขยายอำนาจสู่หมู่เกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

ผู้สถาปนาอาณาจักรมัชปาหิต ก็คือ เกอร์ตาราชสา (Kertarajasa) หรือ ระเด่นวิชัย ลูกเขยของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งอยู่บนเกาะชวาเช่นกัน หลังจากสิงหสารีแผ่อำนาจกว้างไกลจนกลุ่มศรีวิชัยต้องถอยออกไปจากเกาะชวา ใน ค.ศ. 1290 อำนาจอันยิ่งใหญ่ของสิงหสารีก็เป็นที่สนใจแก่กุบไลข่านในจีน[5] ซึ่งได้ส่งทูตมาขอเครื่องราชบรรณาการ ในเวลานั้นการ์ตะนคร ผู้ปกครองอาณาจักรสิงหสารีทรงปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องราชบรรณาการ กุบไลข่านจึงส่งกองเรือถึง 1,000 ลำมาประชิดชายฝั่งชวา ในปี ค.ศ. 1293[6]

อ้างอิง แก้

  1. Hall, D. G. E. (1965). "Problems of Indonesian Historiography". Pacific Affairs. 38 (3/4): 353. doi:10.2307/2754037. JSTOR 2754037.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ricklefs
  3. Mahandis Y. Thamrin (September 2012). "10 November, Hari Berdirinya Majapahit" (ภาษาอินโดนีเซีย). National Geographic Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-26. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  4. Ooi, Keat Gin, บ.ก. (2004). Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor (3 vols). Santa Barbara: ABC-CLIO. ISBN 978-1576077702. OCLC 646857823. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  5. Muljana, Slamet (2006). Menuju puncak kemegahan: sejarah kerajaan Majapahit (Cetakan 2 ed.). Yogyakarta: LKiS. ISBN 978-979-8451-35-5.
  6. "10 November, Hari Berdirinya Majapahit". web.archive.org. 2015-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. Surya Majapahit (the Sun of Majapahit) is the emblem commonly found in Majapahit ruins. It served as the symbol of the Majapahit empire.