อาณาจักรสิงหะส่าหรี
อาณาจักรสิงหะส่าหรี (ชวา: ꦏꦫꦠꦺꦴꦤ꧀ꦱꦶꦔ꧀ꦲꦱꦫꦶ, อักษรโรมัน: Karaton Singhasari หรือ Karaton Singosari, อินโดนีเซีย: Kerajaan Singasari) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสิงหะส่าหรี เป็นอาณาจักรบนเกาะชวาตะวันออกใน ค.ศ. 1222 ถึง 1292 ซึ่งสืบทอดต่อจากอาณาจักรเกอดีรีในฐานะอาณาจักรที่โดดเด่นในชวาตะวันออก
อาณาจักรสิงหะส่าหรี ꦱꦶꦔ꧀ꦲꦱꦫꦶ (ชวา) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ.1222–1292 | |||||||||
สิงหะส่าหรีในรัชสมัยเกอร์ตาเนอการา | |||||||||
เมืองหลวง | ตูมาเปิล ต่อมามีชื่อว่ากูตาราจา สิงหะส่าหรี (ปัจจุบันอยู่ส่วนนอกของเมืองมาลัง) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาชวาเก่า, ภาษาสันสกฤต | ||||||||
ศาสนา | เกอจาเวิน, ฮินดู, พุทธ, วิญญาณนิยม | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
มหาราช | |||||||||
• 1182–1227 | เกิน อาเราะ | ||||||||
• 1268–1292 | เกอร์ตาเนอการา | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การครองราชย์ของเกิน อาเราะ | ค.ศ.1222 | ||||||||
• การโจมตีโดยจายากัตวังแห่งอาณาจักรเกอดีรี | 1292 | ||||||||
สกุลเงิน | ทองธรรมชาติและเหรียญเงิน | ||||||||
|
ก่อตั้ง
แก้สิงหะส่าหรีถูกก่อตั้งโดยเกิน อาเราะ (ค.ศ. 1182-1227/1247) ผู้ซึ่งปรากฏชื่อในนิทานพื้นบ้านยอดนิยมในเขตชวากลางและตะวันออก เรื่องราวชีวิตส่วนใหญ่ของพระองค์และประวัติศาสตร์ช่วงต้นของสิงหะสาหรีนั้นมาจากพงศาวดารปาราราตอน ซึ่งมีบางส่วนที่เป็นตำนาน เกิน อาเราะเป็นบุตรกำพร้าพ่อของหญิงนามว่า เกิน เอินเดาะ (บางตำนานกล่าวว่าว่า พระองค์เป็นพระโอรสของพระพรหม) ในอาณาจักรเกอดีรี
เกิน อาเราะขึ้นมามีอำนาจจากการเป็นข้ารับใช้ให้กับตุงกุล อาเมอตุง เจ้าเมืองตูมาเปิล (ใกล้เขตเมืองมาลังปัจจุบัน) แล้วกลายเป็นผู้ปกครองเกาะชวาโดยปกครองจากเกอดีรี ถือกันว่าพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ราจาซาทั้งสายสิงหะส่าหรีและสายมัชปาหิต[1] พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอานูซาปาตี เพื่อล้างแค้นจากการที่พระองค์ฆ่าตุงกุล อาเมอตุงบิดาของตน[2]: 185–187 ปันหยี โตะฮ์จายา พระราชโอรสของเกิน อาเราะ ลอบปลงพระชนม์อานูซาปาตี แต่ก็ครองราชย์ได้ไม่กี่เดือนใน ค.ศ. 1248 ก่อนที่พระภาติยะจะก่อกบฏ ร่วมกับรังงา วูนี กับมาฮีชา ชัมปากา แล้วรังงา วูนีและมาฮีชาชัมปากาจึงร่วมกันปกครองในนามวิษณุวัฒนะกับนรสิมหฺมูรตี[2]: 188
กษัตริย์สิงหะส่าหรี
แก้- เกิน อาเราะ ค.ศ. 1222–1227[2]: 185–187
- อานูซาปาตี ค.ศ. 1227–1248[2]: 187–188
- ปันหยี โตะฮ์จายา ค.ศ. 1248[2]: 188
- วิษณุวัฒนะ-นรสิมหฺมูรตี.ศ. 1248–1268[2]: 188
- เกอร์ตาเนอการา ค.ศ. 1268–1292[2]: 188
อ้างอิง
แก้- ↑ Southeast Asia: a historical encyclopedia. 2004. ISBN 9781576077702. สืบค้นเมื่อ 25 July 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Cœdès, George (1968). The Indianized states of Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 9780824803681.
อ่านเพิ่ม
แก้- Saidihardjo, Dr. M. Pd., A.M, Sardiman, Drs., Sejarah untuk SMP, Tiga Serangkai, Solo, 1987, 4th reprint edition in 1990
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The Origins of Rajasa Dynasty
- Beginnings to 1500: The Old Kingdoms and the Coming of Islam, a timeline of Indonesian history until 1500 AD