ราชวงศ์จาลุกยะ
ราชวงศ์จาลุกยะ (กันนาดา: ಚಾಲುಕ್ಯರು, อังกฤษ: Chalukya dynasty) คือราชวงศ์อินเดียผู้ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในอินเดียใต้และอินเดียกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12
ราชวงศ์จาลุกยะ ಚಾಲುಕ್ಯ ರಾಜವಂಶ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 543–ค.ศ. 753 | |||||||||||
จักรวรรดิจาลุกยะ ค.ศ. 636, ค.ศ. 740 | |||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ (ขึ้นกับจักรวรรดิกทัมพะจนกระทั่งปี ค.ศ. 543) | ||||||||||
เมืองหลวง | บาดามี | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | กันนาดา, สันสกฤต | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||
• ค.ศ. 543 - 566 | ปุละเกศีที่ 1 | ||||||||||
• ค.ศ. 746 – 753 | กีรติวรมันที่ 2 | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• หลักฐานเก่าที่สุด | ค.ศ. 543 | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 543 | ||||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 753 | ||||||||||
|
แม้ว่าความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของราชวงศ์จาลุกยะจะมีด้วยกันหลายทฤษฎีแต่โดยทั่วไปแล้วต่างก็เห็นพ้องกันว่าผู้ก่อตั้งจักรวรรดิที่บาดามีเป็นผู้ที่มาจากบริเวณรัฐกรณาฏกะ[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10] ในช่วงที่มีอำนาจจาลุกยะปกครองแบ่งการปกครองเป็นสามราชวงศ์ที่ต่างกันแต่มีความสัมพันธ์กัน ราชวงศ์แรกที่สุดมีชื่อว่า “บาดามีจาลุกยะ” (Badami Chalukyas) ปกครองจากเมืองหลวงวาตาปี (บาดามีปัจจุบัน) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 บาดามีจาลุกยะเริ่มแสดงตัวเป็นอิสระเมื่อราชอาณาจักรพานาวสี (en:Banavasi) ของราชวงศ์กทัมพะ (en:Kadamba Dynasty) เริ่มเสื่อมโทรมลง และมารุ่งโรจน์ในรัชสมัยของปุละเกศีที่ 2 (en:Pulakesi II) หลังจากที่ปุละเกศีที่ 2 เสด็จสวรรคต จาลุกยะตะวันออก (en:Eastern Chalukyas) ก็แยกตัวเป็นราชอาณาจักรอิสระในเด็คคาน (Deccan) จาลุกยะตะวันออกปกครองจากเมืองหลวง เวงคิ จนกระทั่งถึงจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทางตะวันตกของเด็คคานการเรืองอำนาจของราษฏฺรกูฏ (Rashtrakutas) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็ลบอำนาจของบาดามีจาลุกยะก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูโดยจาลุกยะตะวันตก (Western Chalukyas) ผู้เป็นผู้สืบเชื้อสายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 จาลุกยะตะวันตกปกครองจากกัลยานี (ปัจจบีนคือเมืองพสภะกัลยาณ) จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12
การปกครองของราชวงศ์จาลุกยะเป็นการปกครองในยุคที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของอินเดียใต้และเป็นยุคทองของรัฐกรณาฏกะ แนวโน้มทางการเมืองทางตอนใต้ของอินเดียเปลี่ยนจากราชอาณาจักรขนาดเล็กมาเป็นการก่อตั้งจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่เริ่มโดยบาดามีจาลุกยะ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อินเดียใต้เริ่มรวมดินแดนทั้งภูมิภาคตั้งแต่แม่น้ำกาเวรี (Kaveri) ไปจนถึง แม่น้ำนัมมทา (Narmada) ความรุ่งเรืองของจักรวรรดินำมาซึ่งระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ การค้าขายกับต่างประเทศ และการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "สถาปัตยกรรมจาลุกยะ" วรรณคดีกันนาดาที่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ได้รับการต้อนรับโดยจาลุกยะตะวันตกตามแบบฉบับของเชนและวีรไศวะ (Veerashaiva) เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็เป็นการกำเนิดของวรรณคดีเตลูกู (Telugu literature) ภายใต้การอุปถัมภ์ของจาลุกยะตะวันออก
ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ N. Laxminarayana Rao and Dr. S. C. Nandinath have claimed the Chalukyas were Kannadigas (Kannada speakers) and very much the natives of Karnataka (Kamath 2001, p. 57)
- ↑ The Chalukyas were Kannadigas (D.C.Sircar in Mahajan V.D., 1960, Reprint 2007, Ancient India, Chand and Company, New Delhi, p. 690, ISBN 81-219-0887-6)
- ↑ Natives of Karnataka (Hans Raj, 2007, Advanced history of India: From earliest times to present times, Part-1, Surgeet publications, New Delhi, p. 339
- ↑ The Chalukyas hailed from Karnataka (John Keay, 2000, p. 168)
- ↑ Quote:"They belonged to Karnataka country and their mother tongue was Kannada" (Sen 1999, 360)
- ↑ The Chalukyas of Badami seem to be of indigenous origin (Kamath 2001, p. 58)
- ↑ Jayasimha and Ranaraga, the first members of the Chalukya family were possibly employees of the Kadambas in the northern part of the Kadamba Kingdom (Fleet [in Kanarese Dynasties, p. 343] in Moraes, 1931, pp. 51-52)
- ↑ Pulakesi I must have been an administrative official of the northern Kadamba territory centered in Badami (Moraes 1931, pp. 51-52)
- ↑ The Chalukya base was Badami and Aihole (Thapar 2003, p. 328)
- ↑ Inscriptional evidence proves the Chalukyas were native Kannadigas (Karmarkar, 1947, p. 26)