อำเภออาจสามารถ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อาจสามารถ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด 34 กิโลเมตร
อำเภออาจสามารถ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe At Samat |
คำขวัญ: เจ้าพ่อมเหศักดิ์ลือเลื่อง เมืองเดิมสระบุศย์ ที่สุดพระธาตุเมืองเก่า ตำนานเล่าเจ้าแม่นางหิน ท้องถิ่นหลวงปู่เสือ มากเหลือกุ้งกราม คือนามอาจสามารถ | |
![]() แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภออาจสามารถ | |
พิกัด: 15°50′37″N 103°52′44″E / 15.84361°N 103.87889°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ร้อยเอ็ด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 454.441 ตร.กม. (175.461 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 73,717 คน |
• ความหนาแน่น | 162.22 คน/ตร.กม. (420.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 45160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4514 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภออาจสามารถ ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 45160 |
![]() |
ประวัติ แก้
อำเภออาจสามารถตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีนายอำเภอท่านแรกคือ ขุนมัณฑลานุการ(ชม) อำเภออาจสามารถ แต่เดิมนั้นชื่อ อำเภอสระบุศย์ ซึ่งตั้งตามชื่อลักษณะของหนองน้ำ ที่อยู่หลังที่ว่าการอำเภอ (ปัจจุบันหนองน้ำนี้มีชื่อว่า หนองหูลิง) แต่ก่อนนั้นหนองน้ำแห่งนี้ มีดอกบัวสีแดงขึ้นอยู่เต็ม เมื่อตั้งอำเภอครั้งแรกจึงขนานนามว่า อำเภอสระบุศย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ร.ต.ท.อุ่ม ภมรสูตร นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าราษฏรส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ เนื่องจากขาดการศึกษาไม่กระตือรือร้นในกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดความร่วมมือ ร่วมใจในการพัฒนาทั้งต่อกิจการของราษฏรด้วยกันเองและกับทางราชการจะประกอบการสิ่งสดก็ไม่สำเร็จ ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ราษฏรตื่นตัว และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภออาจสามารถในปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต แก้
อำเภออาจสามารถตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[1]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอธวัชบุรี และอำเภอทุ่งเขาหลวง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเสลภูมิ และอำเภอพนมไพร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอเมืองสรวง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
การแบ่งเขตการปกครอง แก้
การปกครองส่วนภูมิภาค แก้
อำเภออาจสามารถแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 139 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | หมู่บ้าน | ประชากร [a] [2] |
---|---|---|---|---|
1 | อาจสามารถ | At Samat | 17 | 10,913 |
2 | โพนเมือง | Phon Mueang | 17 | 9,235 |
3 | บ้านแจ้ง | Ban Chaeng | 9 | 5,537 |
4 | หน่อม | Nom | 13 | 6,936 |
5 | หนองหมื่นถ่าน | Nong Muen Than | 17 | 9,178 |
6 | หนองขาม | Nong Kham | 19 | 10,308 |
7 | โหรา | Hora | 14 | 7,682 |
8 | หนองบัว | Nong Bua | 10 | 4,187 |
9 | ขี้เหล็ก | Khilek | 12 | 4,671 |
10 | บ้านดู่ | Ban Du | 11 | 5,545 |
รวม | 139 | 74,192 |
- ↑ ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562
การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้
ท้องที่อำเภออาจสามารถประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลอาจสามารถ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอาจสามารถ
- เทศบาลตำบลโพนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนเมืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอาจสามารถ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแจ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแจ้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหน่อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน่อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมื่นถ่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหมื่นถ่านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโหรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโหราทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขี้เหล็กทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดู่ทั้งตำบล
ภูมิศาสตร์ แก้
อาจสามารถมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ป่าไม้เป็นป่าโปร่ง ลักษณะดินปนทราย และมีฝนตกน้อย ป่าสงวนในเขตอำเภอมีสองแห่ง ได้แก่ ป่าคำใหญ่-คำขวาง มีพื้นที่ 17,431 ไร่ และป่าดงหนองกล้า มีพื้นที่ 6,562 ไร่ เป็นป่าโปร่ง ส่วนแหล่งน้ำสำคัญของอำเภอนี้ คือ แม่น้ำชี ลำห้วยยางเฌอ และลำห้วยไส้ไก่
ประชากร แก้
ประชากรทั้งสิ้น 75,463 คน เป็นชาย 37,667 คน และหญิง 37,796 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 15,968 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและหัตถกรรม
ชาวอำเภออาจสามารถที่มีชื่อเสียง แก้
- สิลา วีระวงส์ กวี นักเขียน ศิลปินมรดกอีสาน นักปราชญ์คนสำคัญของชาวลาว
- พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย นักร้องหมอลำ ราชินีลำเพลิน
- เพียว เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ นักร้อง แชมป์ The Voice All Star คนแรก แชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 19
- ศักดิ์ สระแก้ว นายแบบ
อ้างอิง แก้
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.
- ↑ กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08.