อำเภอกมลาไสย

อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย

กมลาไสย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ตั้งของเมืองฟ้าแดดสงยาง ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปนดิน มีคูเมืองสองชั้น มีลักษณะเป็นท้องน้ำ ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีมีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง มีการขุดพบใบเสมาหินทรายที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากร 130 แผ่น นอกจากนี้ยังมีพระธาตุยาคู เป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธในสมัยทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–16

อำเภอกมลาไสย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kamalasai
พระธาตุยาคู
คำขวัญ: 
ประเพณีแข่งเรือยาว อู่ข้าวเหลืองสิบเอ็ด
ถิ่นเกษตรอุตสาหกรรม วัฒนธรรมเส็งกลองกิ่ง
ใบเสมางามยิ่งเมืองฟ้าแดดสงยาง
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอกมลาไสย
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอกมลาไสย
พิกัด: 16°20′20″N 103°34′31″E / 16.33889°N 103.57528°E / 16.33889; 103.57528
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด325.3 ตร.กม. (125.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด68,535 คน
 • ความหนาแน่น210.68 คน/ตร.กม. (545.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46130
รหัสภูมิศาสตร์4603
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกมลาไสย ถนนสัญจรราชกิจ ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอกมลาไสยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
ตำบลกมลาไสย

ประวัติ

แก้

ประวัติความเป็นมาสมัยเดียวกับเจ้าโสมพะมิตร ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2334 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระยาชัยสุนทร ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชัยสุนทร ติดต่อกันมาหลายคน จนถึงพระยาชัยสุนทรคนที่ 7 ชื่อท้าวกิ่ง ปี พ.ศ. 2396 มีราชวงศ์เกษเป็นว่าที่อุปฮาดต่อมาพระยาชัยสุนทร (กิ่ง) กับท้าวหนู ได้ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอรับพระราชทานสัญญาบัติ ในการเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และ ขอพระราชทานให้ท้าวหนูน้องชายเป็นว่าที่อุปราชด้วย ซึ่งก็ได้รับพระราชทานตามที่พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) ต้องการ เมื่อเป็นดังนี้ ความบาดหมาง ความแตกแยกก็เกิดขึ้นตลอดเวลา ระหว่างพระยาชัยสุนทร (กิ่ง) และอุปราชหนูฝ่ายหนึ่งกับราชวงษ์เกษ อีกฝ่ายหนึ่ง

ประมาณปี พ.ศ. 2409 พระยาชัยสุนทรกับราชวงศ์เกษ จึงพากันลงไปว่าความที่กรุงเทพฯ เพราะตกลงกันไม่ได้ในที่สุดราชวงศ์เกษ จึงขอเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขอแยกจากราชวงศ์กาฬสินธุ์ แล้วไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางทิศใต้ ของเมืองกาฬสินธุ์ ริมแม่น้ำปาว ห่างจากเมืองเดิมประมาณ 13 กิโลเมตร ที่ตั้งเมืองบริเวณนี้เป็นดงใหญ่อุดมสมบูรณ์ มีหนองบัวมีบัวนานาชนิด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเมืองขึ้น บริเวณที่เรียกว่า ปากน้ำดอกไม้ที่ไหลมาบรรจงกับลำน้ำปาวและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งราชวงศ์เกษขึ้นเป็นพระราษฎรบริหาร(เกษ) เจ้าเมืองกระมาลาไสย เป็นคนแรกโดยมีเมืองสหัสขันธ์และเมืองกุดสิมนารายณ์มาขึ้นด้วย

พระราษฎรบริหาร (เกษ) ปกครองเมืองกระมาลาไสย อยู่ประมาณ 11 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมืองสหัสขันธ์ และเมืองกุมสิมนารายณ์ ก็แยกตัวออกจากการปกครองเมื่อราวปี พ.ศ. 2421 ครั้นปี พ.ศ. 2422 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งอุปฮาดทองบุตรของพระราษฎรบริหาร (เกษ) ขั้นเป็นที่”พระราษฎรบริหาร(ทอง)”แทนบิดาแล้วตั้งราชวงศ์บัว น้องชายคนที่ 2 เป็นอุปฮาดสืบทอดจนมาถึงรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงแบบการปกครองบ้านเมืองขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็นกระทรวง ในส่วนภูมิภาคหัวเมืองใหญ่ๆ ตั้งขึ้นเป็นมณฑลเมืองกระมาลาไสย ให้เป็นอำเภอขึ้นตรงต่อมณฑลอีสานและขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด ตามลำดับ ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2468 ได้มีการปรับปรุงกิจการบ้านเมืองอีก โดยยุบมณฑลเป็นจังหวัด ได้แต่งตั้งอำเภอใหญ่เป็นจังหวัด อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ได้ยกฐานะเป็นจังหวัด ในปี พ.ศ. 2456 จึงได้มารวมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์และได้ชื่อใหม่ว่าอำเภอ "กมลาไสย"[1]

  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2462 ยุบอำเภอดินแดง และโอนพื้นที่ 3 ตำบล รวมเข้ากับอำเภอแซงบาดาล และนำตำบลที่เหลืออีก 1 ตำบล ไปรวมกับอีก 2 ตำบลจากอำเภอเสลภูมิ, 2 ตำบลจากอำเภอกมลาไสย และ 2 ตำบลจากอำเภอกุฉินารายณ์ มาตั้งเป็น อำเภอโพนทอง ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด[2]
  • วันที่ 12 สิงหาคม 2490 แยกพื้นที่อำเภอกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอกุฉินารายณ์ มาตั้งเป็น จังหวัดกาฬสินธุ์[3][4]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ตั้งตำบลกุดฆ้องชัย แยกออกจากตำบลหนองแปน[5]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลกมลาไสย ในท้องที่บางส่วนของตำบลกมลาไสย[6]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลธัญญา แยกออกจากตำบลกมลาไสย และตำบลดงลิง ตั้งตำบลสามัคคี แยกออกจากตำบลโพนงาม[7]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลร่องคำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสามัคคี (ในขณะนั้น)[8]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลหลักเมือง แยกออกจากตำบลกมลาไสย[9]
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2513 ตั้งตำบลร่องคำ แยกออกจากตำบลสามัคคี[10]
  • วันที่ 5 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลลำชี แยกออกจากตำบลกุดฆ้องชัย[11]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516 แยกพื้นที่ตำบลร่องคำ และตำบลสามัคคี อำเภอกมลาไสย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอร่องคำ ขึ้นกับอำเภอกมลาไสย[12]
  • วันที่ 17 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลโคกสะอาด แยกออกจากตำบลหนองแปน[13]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลเจ้าท่า แยกออกจากตำบลดงลิง และตำบลธัญญา[14]
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลเหล่าอ้อย แยกออกจากตำบลร่องคำ[15]
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลโคกสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลโพนงาม[16]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลโนนศิลา แยกออกจากตำบลหนองแปน[17]
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลธัญญา ในท้องที่บางส่วนของตำบลธัญญา[18]
  • วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองแปน ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองแปน[19]
  • วันที่ 11 สิงหาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกมลาไสย[20] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอร่องคำ อำเภอกมลาไสย เป็น อำเภอร่องคำ[21]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลฆ้องชัยพัฒนา แยกออกจากตำบลหนองแปน ตำบลลำชี และตำบลกุดฆ้องชัย[22]
  • วันที่ 25 มิถุนายน 2540 แยกพื้นที่ตำบลฆ้องชัยพัฒนา ตำบลกุดฆ้องชัย ตำบลโคกสะอาด ตำบลโนนศิลา และตำบลลำชี อำเภอกมลาไสย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอฆ้องชัย ขึ้นกับอำเภอกมลาไสย[23]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลกมลาไสย สุขาภิบาลธัญญา และสุขาภิบาลหนองแปน เป็นเทศบาลตำบลกมลาไสย เทศบาลตำบลธัญญา และเทศบาลตำบลหนองแปน ตามลำดับ[24] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 10 เมษายน 2544 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลกุดฆ้องชัย กิ่งอำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย เป็น ตำบลเหล่ากลาง[25]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลหนองแปน รวมกับเทศบาลตำบลหนองแปน[26]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย เป็น อำเภอฆ้องชัย[27]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอกมลาไสยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 111 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กมลาไสย (Kamalasai) 18 หมู่บ้าน 5. ธัญญา (Thanya) 15 หมู่บ้าน
2. หลักเมือง (Lak Mueang) 14 หมู่บ้าน 6. หนองแปน (Nong Paen) 9 หมู่บ้าน
3. โพนงาม (Phon Ngam) 13 หมู่บ้าน 7. เจ้าท่า (Chao Tha) 16 หมู่บ้าน
4. ดงลิง (Dong Ling) 17 หมู่บ้าน 8. โคกสมบูรณ์ (Khok Sombun) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอกมลาไสยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

ประเพณี

แก้
  • ประเพณีแข่งเรือยาว

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [1] จังหวัดกาฬสินธุ์ (Kalasin) อำเภอกมลาไสย (Amphoe Kamalasai)
  2. "ประกาศ เรื่อง ยุบอำเภอดินแดง จังหวัดร้อยเอ็ด กับ "ตั้งอำเภอโพนทอง" ขึ้นใหม่ ในจังหวัดเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36 (0 ก): 172–173. November 23, 1919. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  3. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (36 ก): 516–517. August 12, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
  4. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๓๖ พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ หน้า ๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (37 ง): 2169. August 19, 1947.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (67 ง): 6304–6305. December 12, 1950.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-70. September 17, 1955.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอกบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. December 17, 1957.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่องคำ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (63 ง): 2397–2398. July 26, 1966.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2570–2580. August 26, 1969.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอท่าคันโท และอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (80 ง): 2367–2379. August 25, 1970.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (106 ง): 2750–2755. October 5, 1971.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอร่องคำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (13 ง): 239. February 6, 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (112 ง): 1466–1474. June 17, 1975.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (118 ง): 2681–2695. August 5, 1980.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี กิ่งอำเภอร่องคำ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (113 ง): 2864–2871. August 28, 1984.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง และอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (168 ง): 5954–5967. August 25, 1987.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-34. August 31, 1988.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-23. April 22, 1992.
  19. 19.0 19.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-51. September 30, 1992.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 3-4. August 11, 1993.
  21. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. November 3, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสยและอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 108–127. November 9, 1995.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอฆ้องชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 4. June 25, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
  24. 24.0 24.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลกุดฆ้องชัย กิ่งอำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชื่อตำบลเหล่ากลาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (29 ง): 7. April 10, 2001.
  26. 26.0 26.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). July 6, 2004: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  27. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.