พระธาตุยาคู

เป็นโบราณสถานทางตอนเหนือของเมืองฟ้าแดดสงยาง คาดว่าสร้างราวสมัยทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษที

พระธาตุยาคู เป็นโบราณสถานทางตอนเหนือของเมืองฟ้าแดดสงยาง ตำบลหนองแปน จังหวัดกาฬสินธุ์ คาดว่าสร้างราวสมัยทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–16

พระธาตุยาคู
เจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมสมัยอยุธยาของพระธาตุยาคู
แผนที่
ชื่ออื่น
  • เจดีย์หมายเลข 10 เมืองฟ้าแดดสงยาง
  • ธาตุใหญ่
ที่ตั้งตำบลหนองแปน, จังหวัดกาฬสินธุ์, ประเทศไทย
พิกัด16°19′09.0″N 103°31′13.0″E / 16.319167°N 103.520278°E / 16.319167; 103.520278
ประเภทโบราณสถาน
ส่วนหนึ่งของเมืองฟ้าแดดสงยาง
ความเป็นมา
วัสดุอิฐ
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 12–16
สมัยทวารวดี
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนพระธาตุยาคู (ธาตุนายใหญ่)
ขึ้นเมื่อ3 มกราคม พ.ศ. 2480
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในจังหวัดกาฬสินธุ์
เลขอ้างอิง0003341

ลักษณะทางกายภาพ

แก้

โบราณสถาน

แก้

โบราณสถานประกอบไปด้วยพระธาตุ เป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธในสมัยทวารวดี โดยลักษณะฐานอิฐสี่เหลี่ยมยกเก็จมีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่แบบอิฐที่พบในโบราณสถานสมัยทวารวดี ไม่สอปูน ด้านบนเป็นฐานแปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์แบบสมัยอยุธยาซ้อนทับและมีหลักฐานว่าบูรณะใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ รวมความสูงปัจจุบันสูง 15 เมตร มีขนาดกว้าง 16 เมตร

ลักษณะของพระธาตุยาคูจากการขุดแต่งของกรมศิลปากรพบว่า กํอนที่จะเป็นองค์สถูปเจดีย์ ได้พบฐานเดิมซึ่งลึกลงไปจากสถานสถูปเจดีย์ในปัจจุบันอีกชั้นหนึ่ง กํอด้วยอิฐมีผังคล้ายรูปกากบาท แตํมีการยํอมุม ที่ตรงปลายของแตํละด้านที่ยื่นออกไปมีความสูงจากพื้นลํางขึ้นมาประมาณ 1 เมตรเศษ ตํอจากนั้นจึงเป็นฐานที่บูรณะขึ้นใหมํจากลักษณะที่เป็นกองอิฐธรรมดาตามรอยเดิมในลักษณะของฐานเขียง ผังแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น และอีกชั้นที่สี่มีความสูงมากกวําทุกชั้นแตํทําสํวนบนสอบเข้าเล็กน้อย จากนั้นทําตอนบนเหนือขึ้นไปผายออกเล็กน้อย ทําส่วนบนสอบเข้าหาจุดศูนย์กลางโดยการกํออิฐลดหลั่นเป็นขั้นบันไดขึ้นไปตอนบน แล้วจึงเป็นองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ทรงอวบอ้วนสอบเข้าตอนปลายเล็กน้อยจากองค์ระฆังขึ้นไปชํารุดแตํถูกบูรณะขึ้นใหม่[1]

จากการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้กำหนดอายุพระธาตุยาคูไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–16 ฐานของเจดีย์ขุดพบใบเสมาสลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติปักไว้ที่ฐาน โดยมีเสมาหินทรายแผ่นหนึ่ง พบระหว่างการขุดแต่งองค์พระธาตุห่างไป 11 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอยู่ในลักษณะที่คว่ำหน้าหันส่วยอดของปลายใบเสมาเข้าสู่องค์เจดีย์ ในความลึกจากระดับดินเดิมประมาณ 30 เซนติเมตร จากการศึกษาลักษณะประติมาณวิทยาของภาพสลัก แปลความได้ว่าเป็นภาพสลักเล่าเรื่องมโหสถชาดก กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14–15[2]: 75  เช่นเดียวกับการกำหนดอายุของใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยาง[3]: 11 

พระธาตุยาคูตั้งอยู่ภายในพื้นที่หมู่ 7 บ้านเสมา ตำบลหนองแปน[] อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

โบราณวัตถุ

แก้

บริเวณพระธาตุยาคูชาวบ้านขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างหลายอย่าง เช่น ใบเสมา ภาชนะเครื่องใช้ดินเผา กำไล แหวน กระดูกสัตว์ ลูกปัดแก้ว และเครื่องประดับชนิดต่าง ๆ และพระพิมพ์ดินเผาวางเรียงซ้อนทับกันจำนวนหลายร้อยองค์ เมื่อขุดลึกไปประมาณ 70 เซนติเมตร[4]

โดยรอบพระธาตุยาคูมีใบเสมาจำนวนหนึ่งปักไว้ ใบเสมาสลักบางแผ่นสลักภาพเล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนา เช่น ชาดกเรื่องมโหสถชาดก ชาดกเรื่องภูริทัตชาดก เป็นต้น ถัดออกไปทางทิศใต้ประมาณ 25 เมตร มีซากเจดีย์สมัยทวารวดีกระจายตัวอยู่รวมกันห้าองค์[4]

พระพิมพ์มีทั้งสมบูรณ์และแตกหักชำรุด พระพิมพ์ดินเผาในพื้นที่พระธาตุยาคู เรียกว่า กรุฟ้าแดดสงยางสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลายพิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็กพิมพ์กลีบบัว (หลังกุ้ง) พิมพ์ปกโพธิ์ และพิมพ์พระแผง แต่พระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของพระกรุฟ้าแดดสงยางคือ พิมพ์ใหญ่นิยม องค์พระมีขนาดกว้าง 5 นิ้ว สูง 7 นิ้ว[4]

ประวัติ

แก้

ชาวบ้านเชื่อกันว่าพระธาตุยาคูเป็นที่บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ผู้ตั้งหมู่บ้านที่ชาวเมืองเคารพนับถือ เนื่องจากคำว่า "ยาคู" เป็นคำเรียกสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ของภาคอีสานโบราณ ซึ่งเมื่อพระสงฆ์รูปใดเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดีมีคุณธรรมและบวชมาแล้วไม่น้อยกว่าสามพรรษา ชาวบ้านจะนิมนต์มาทำพิธีฮึดสรง จากนั้นก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น "ยาคู ยาซา"

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวบ้านผู้สูงอายุกล่าวถึงเมืองโบราณบริเวณที่ตั้งพระธาตุยาคูว่า เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่รกร้างปรากฏมีซากเจดีย์และแผ่นหินรูปใบเสมาอยู่มากมาย ชาวบ้านเห็นเป็นทำเลดี จึงได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งอพยพออกมาจากเมืองกมลาไสย มาตั้งบ้านเรือนและจับจองที่ทำไร่นา และเรียกหมู่บ้านตัวเองว่าบ้านบักก้อม ซึ่งเรียกตามชื่อเสือโคร่งหางด้วนที่พบบริเวณป่าใกล้หมู่บ้าน[5]: 222–225 

การอพยพมาตั้งบ้านเรือนมีพระภิกษุอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านตามมาและตั้งสำนักสงฆ์และกลายเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ภิกษุรูปนี้ชาวบ้านเรียกว่า ยาคูง่อม เมื่อภิกษุรูปนี้มรณภาพลง ชาวบ้านจึงทำศาลใส่อัฐิไว้ในบริเวณบ้านบักก้อม ภายหลังหมู่บ้านแห่งนี้ได้ชื่อใหม่ว่า "บ้านเสมา”"บริเวณที่ตั้งศาลเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ชื่อว่า วัดโพธิชัยเสมาราม ต่อมา เมื่อชาวบ้านยุคใหม่เห็นว่ามีซากเจดีย์ขนาดใหญ่สมบูรณ์กว่าที่อื่น ชาวบ้านจึงคิดว่าเป็นที่บรรจุอัฐิของภิกษุยาคูง่อม จึงเรียกเจดีย์แห่งนี้ว่า พระธาตุยาคู จวบจนปัจจุบัน[5]: 222–225 

อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้ขุดแต่งและบูรณะเจดีย์องค์นี้ในช่วงปี พ.ศ. 2510–2522 ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระธาตุยาคู ทราบว่าพระธาตุยาคูมีมาแล้วตั้งแต่สมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–16 ขัดแย้งกับความเชื่อของชาวบ้านในปัจจุบันเกี่ยวกับการบรรจุอัฐิของพระภิกษุที่ชาวบ้านนับถือในช่วงที่เพิ่งตั้งหมู่บ้านซึ่งเป็นช่วงเวลาไม่นานมานี้ ประกอบกับผลการขุดพบใบเสมาสลักภาพเล่าเรื่องในพุทธศาสนาปักไว้ที่ฐานพระธาตุ ดังนั้น พระธาตุยาคูคงไม่ใช่เจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระเถระดังความเชื่อของชาวบ้านในปัจจุบัน ส่วนคำเรียก "พระธาตุยาคู" เป็นคำเรียกต่อกันมาจนกระทั่งทางกรมศิลปากรเข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์จึงเรียกตามชาวบ้านด้วย[5]: 224 

พระธาตุยาคู ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545[6]

หมายเหตุ

แก้
  1. ในราชกิจจานุเบกษาว่า ตำบลหนองแปน บ้างก็ว่า ตำบลโนนศิลาเลิง

อ้างอิง

แก้
  1. หวัน แจ่งวิมล. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. กรมศิลปากร, 2511.
  2. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ศิลปวัฒนธรรม. “ใบเสมาสลักภาพ “มโหสถชาดก” จากพระธาตุยาคู เมืองฟ้าแดดสงยาง.”, 2548.
  3. สมชาติ มณีโชติ. ประติมากรรมชิ้นสำคัญจากเมืองฟ้าแดดสงยาง. 2528.
  4. 4.0 4.1 4.2 ผู้จัดการออนไลน์. หาทุนบูรณะเมืองฟ้าแดดสงยาง นำดินโบราณพันปีสร้างพระพิมพ์ให้เช่า. 2550.
  5. 5.0 5.1 5.2 ไชยยศ วันอุทา. ศิลปวัฒนธรรม. “พระธาตุยาคูหรือพระบรมธาตุ.”, 2538.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่โบราณสถานเพิ่มเติม เก็บถาวร 2019-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (พฤศจิกายน 2545, 29).