พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)
พระยาชัยสุนทรหรือพระยาไชยสุนทร[1] บ้างออกพระนามพระยาไชยสุนทอน หรือ พระยาไชสุนธรสมพมิษ เดิมพระนามเจ้าโสมพะมิตรหรือท้าวโสมพะมิตร พื้นเมืองเวียงจันทน์ออกพระนามว่าพระยาสมะบพิตรเจ้า[2] หรือพะยาสมพะมิดเจ้า[3] หรือพระยาสมพมิตรเจ้า[4] พงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาสัยออกพระนามว่าพระยาสมพมิษ เป็นเจ้าองค์ครองเมืองกาฬสินธุ์ (กาละสินธ์ หรือ กาลสิน) องค์แรก[5] และผู้สร้างเมืองกาฬสินธุ์ (พ.ศ. 2336)[6] ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมรับราชการในราชสำนักเวียงจันทน์ที่พญาโสมพะมิตรกองถวายส่วยแด่กษัตริย์เวียงจันทน์ ภายหลังรัชกาลที่ 1 ของไทยสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรกในฐานะหัวเมืองประเทศราช พระยาชัยสุนทรเป็น ต้นเชื้อสายสกุล ณ กาฬสินธุ์[7] (พระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6) วงศ์กาฬสินธุ์[8] บริหาร[9] เกษทอง[10] ฟองกำแหง[11] กำแหงมิตร[11] ศรีกาฬสินธุ์[12] พลเยี่ยม[12] ทองเยี่ยม[12] พิมพะนิตย์ ไชยสิทธิ์ อาษาไชย ทองทวี วงศ์กมลาไสยหรือวงษ์กาไสย(เดิม) ศิริกุล เป็นต้น
พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) | |
---|---|
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2336 – พ.ศ. 2349 | |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2275 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2349 อายุ 73 ปีเศษ เมืองกาฬสินธุ์ |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
บุตร | 1.พระยาไชยสุนทร(หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 2.พระธานี(หมาป้อง) อุปฮาดเมืองสกลนคร 3.พระไชยสุนทร(หมาสุ่ย) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ 4.พระยากำแหงมหึมา(หมาฟอง) เจ้าเมืองกบินทร์บุรี ลำดับที่ 1 |
บุพการี | เจ้าองค์ลอง,เจ้าผ้าขาวเมืองพันนา |
ประวัติ
แก้ราชตระกูล
แก้พระยาชัยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) ประสูติราว พ.ศ. 2275 เป็นพระโอรสในเจ้าองค์ลอง[ต้องการอ้างอิง] กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์องค์ที่ 2 เป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (พระไชยองค์เว้ ครองราชย์ราว พ.ศ. 2250-2273) กษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างองค์ที่ 36 และปฐมกษัตริย์ราชอาณาจักรเวียงจันทน์สมัย 3 อาณาจักร ฝ่ายพระมารดาคือเจ้านางวิไล[ต้องการอ้างอิง] เป็นพระสนมผู้ซึ่งเป็นนัดดาเจ้าผ้าขาว (เจ้าปะขาว) ผู้ครองเมืองเมืองผ้าขาวและเมืองพันนา (เมืองพนาง) ในสกลนคร สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 เป็นพระราชนัดดา (หลานอา) ในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชและเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าต่อนคำ กษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างองค์ที่ 31 ดังนั้นตระกูลพระยาชัยสุนทรจึงเป็นเจ้านายลาวจากราชวงศ์เวียงจันทน์สายหนึ่ง[13]
อพยพไพร่พล
แก้พระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) รับราชการในราชสำนักเวียงจันทน์จนได้รับความชอบ กษัตริย์เวียงจันทน์โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นที่พญาโสมพะมิต ต่อมา พ.ศ. 2320 พญาโสมพะมิตรและญาติพี่น้องคืออุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปงและเมืองแสนหน้าง้ำขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 แห่งเวียงจันทน์ (พระเจ้าสิริบุนสาน ครองราชย์ราว พ.ศ. 2294-2322) จึงรวบรวมผู้คนเป็นสมัครพรรคพวกประมาณหนึ่งหมึ่นข้ามน้ำโขงผ่านทางหนองบัวลำภูตั้งเป็นชุมชนใหญ่ที่บ้านผ้าขาวและบ้านพันนา (เมืองผ้าขาวพันนา) เมืองเก่าในแขวงมณฑลอุดร[14] บริเวณพระธาตุเชิงชุม ฝ่ายพระเจ้าสิริบุนสานส่งทัพหลวงติดตามมากวาดต้อนผู้คนที่อพยพหลบหนีให้กลับคืนเวียงจันทน์[15] พญาโสมพะมิตรจึงอพยพไพร่พลผ่านกุดสิมคุ้มเก่า เมืองบัวขาว ถอยลงใต้ไปทางบ้านเชียงเครือท่าเดื่อ[16] จนเหลือไพร่พลราว 5,000 เส้นทางการตั้งบ้านเรือนเพื่อหนีความวุ่นวายทางการเมืองจากนครเวียงจันทร์ผ่านทางหนองบัวลำภูแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
- กลุ่มพระยาชัยสุนทร พระยาอุปชา เมืองแสนฆ้องโปง และเมืองแสนหน้า ตั้งเมืองสกลนคร
- กลุ่มเจ้าพระวอ เจ้าพระตา แยกตั้งบ้านเรือนที่ดอนมดแดง เวียงฆ้อนกลอง ดงอู่ผึ้ง บ้านแจละแม ตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี
- กลุ่มพระครูโพนเสม็กอธิการวัดหรือพระอรหันต์ภายสร้อย แยกตั้งบ้านเมือง ณ เมืองจามปามหานครซึ่งเป็นเมืองร้างโดยตั้งเจ้าสร้อยศรีสมุทร์เชื้อพระวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์เป็นกษัตริย์นครจำปาศักดิ์[17]
การก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์
แก้เมื่อกองทัพเวียงจันทน์ยกมารบกวนพญาโสมพะมิตรจึงยกไพร่พลข้ามสันเขาภูพานลงทิศใต้ สร้างพระพุทธรูปใหญ่ไว้ข้างสิมหนองเทาเก่าตั้งบ้านเรือนหนาแน่นและเป็นใหญ่ปกครองเมืองอยู่บ้านกลางหมื่น (ตำบลกลางหมื่น อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน) เป็นอิสระไม่ขึ้นแก่เมืองใด[18] ด้วยจำนวนไพร่พล 5,000 ต่อมาพระยาอุปชาและเมืองแสนฆ้องโปงถึงแก่กรรมพระเจ้าสิริบุนสานส่งทัพมารบกวน พญาโสมพมิตรจึงขึ้นไปสมทบกับเจ้าพระวอเจ้าพระตาขอไพร่พลร่วมสมทบอีกราว 3,000 คน ราวปีเศษ พ.ศ. 2325 จึงอพยพผู้คนย้อนกลับมาตั้งบ้านเรือนใหม่ที่แก้งส้มโฮง (แก่งสำโรง) ดงสงเปือยริมฝั่งน้ำปาวรวมไพร่พลราว 4,000 คน[19] เหลือไพร่พลที่บ้านกลางหมื่น 1,000 คน และได้ส่งบรรณาการได้แก่ “น้ำรัก สีผึ้ง นอแรด และงาช้าง” เป็นส่วยเพื่อนำทูลเกล้าถวายต่อกรุงเทพมหานคร ผ่านทางเวียงจันทน์ มีความว่า “ข้าพเจ้าก็แต่งแสนท้าวพระยาลาวมีชื่อคุมแสนดาบขวา แสนไชยสวัสดีลงไปแต่ก่อนนั้นก็กลับคือมาถึงแล้วให้การว่า พระบรมมีของตอบแทนงาช้าง ๕ กิ่ง จันทร์ ๗ ท่อน ดีบุก ๑๐ ทะลา ฝ่ายโสมพะมิตรมีของตอบแทน รัก ๕๐ กระบอก สีผึ้ง ๑๐ ชั่ง งาช้าง ๒ กิ่ง นอระมาดยอด ๑”[20]เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารในฐานะข้าขอบขัณฑสีมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปีพ.ศ. 2336 พญาโสมพะมิตเดินทางไปกรุงเทพมหานครเจริญไมตรีกับกษัตริย์สยาม โดยนำเครื่องเจริญสัมพันธไมตรีมีค่าเป็นกาน้ำสำริดหรือกาทองที่นำติดตัวมาแต่สมัยรับราชการ ณ เวียงจันทน์มอบแด่รัชกาลที่ ๑ พร้อม “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ผูกส่วยผลเรว สีผึ้ง กระวาน น้ำรัก และเงิน” ราชสำนักสยามจึงยกฐานะบ้านแก้งส้มโฮง ซ่งเปือย ริมน้ำปาว ขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ตามนามมงคลนิมิตของกาน้ำสำริด[21] สถาปนาพญาโสมพะมิตขึ้นเป็นพระยาไชยสุนทรเจ้าองค์ครองเมืองกาฬสินธุ์องค์แรก[22] ในฐานะประเทศราช (ต่อมาถูกลดฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกแต่ยังไม่มีหัวเมืองขึ้น) แต่นั้นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ยึดถือนามยศพระยาชัยสุนทรไว้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนี้โดยเฉพาะ พระยาชัยสุนทรครองเมืองด้วยความสงบเรียบร้อยโดยลำดับ พ.ศ. 2345 ทรงชราภาพจึงมอบหมายราชการให้ท้าวหมาแพงดูแลรักษา[23]
การพระราชทานสัญญาบัตรตราตั้งเป็นเจ้าเมือง
แก้พระขัติยะวงศา(สีลัง)เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ได้กราบบังคมทูลเบิกตัว เจ้าโสมพะมิตร เข้าถวายตัวกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ ขอตั้งเมืองและทำราชการปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ในระยะแรกนั้น ได้ประชุมกันเพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาฯเพื่อตั้งเมืองและสถาปนาตำแหน่งผู้ครองเมืองนั้น ดังนี้
คณะลูกขุน ณ ศาลา ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่
พระยาพิพัฒน์โกษา ๑
พระยาราชภักดี ๑
พระยาราชสุภาวดี ๑
พระมหาอำมาตย์ ๑
พระยาสุรเสนี ๑
ได้ประชุมกันเพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อเสนอนามบรรดาศักดิ์ดังนี้
“พระยาไชยรังสรรค์ ๑ พระยาไชยวงษา ๑ พระยาไชยสุริยวงษา ๑ พระยาไชยานุชิต ๑”
ในที่สุดคณะลูกขุน ณ ศาลา ได้ลงความเห็นเลือกนามบรรดาศักดิ์นำทูลเกล้าถวายเพื่อพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้ง โดยยุบรวมนามตามความเหมาะสมเป็นที่
"พระยาไชยสุนทร บวรภักดี ธานีศรีอุตระนิคมเขตร์ "
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศตามฐานะตำแหน่ง พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ดังสัญญาบัตรตราตั้ง ซึ่งประกอบด้วย
ครอบถมเครื่องในพร้อม ๑ สำหรับ, คนโทเงินถมยาคำ ๑ ใบ, ลูกประคำทอง ๑ สาย, กระบี่บั้งเงิน ๑ เล่ม, สัปทนปัตตู ๑ คัน, เสื้อเข้มขาบริ้วดี ๑ ผืน, แพรสีทับทิมติดขลิบ ๑ ผืน, ชวานปักทอง ๑ ผืน, แพรขาวห่ม ๑ ผืน, ผ้าปูม ๑ ผืน[24]
ประวัติจากเอกสารชั้นต้น
แก้ในพื้นเวียงจันทน์
แก้เอกสารพื้นเวียงจันทน์อย่างน้อย 3 ฉบับระบุตรงกันว่าเมื่อพระยาชัยสุนทรขึ้นปกครองเมืองกาฬสินธุ์ ก่อนเหตุการณ์สงครามเวียงจันทน์-สยามในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชฏฐาธิราชที่ 5 (เจ้าอนุวงศ์ ครองราชย์ราว พ.ศ. 2348-2371) สยามส่งนายกองมาสักเลกรุกล้ำแผ่นดินลาวจนชาวเมืองกาฬสินธุ์เดือดร้อน พระยาชัยสุนทรจึงอพยพไพร่พลไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองสกลนครซึ่งเป็นเมืองเดิมที่ทรงปกครองมาก่อน ดังข้อความ
แต่นั้น พอเมื่อหมดเขตต์แล้วม้มแห่งฤดูฝน ฝูงหมู่นายกองสักออกมามิช้า เขาก็ไปอยู่ตั้งทัพที่กาฬสินธุ์ จัดหัวเมืองเฮ่งมาโฮมหั้น แต่นั้น เลยเหล่าขำเขือกฮ้อนอุบาทว์หลายประการ เสนาเขาแหกเมืองหนีเจ้า เขาก็หมายเพิ่งเจ้ายั้งขม่อมเวียงจันทน์ เขาก็ขนครัวไปเพิ่งบุญจอมเจ้า ชื่อว่าพญาสมะบพิตรเจ้าแหกจากกาฬสินธุ์ เวียนกินเมืองเอกโทนจริงแท้ เจ้าก็มาอยู่สร้างทันที่หนองหาร ชื่อว่าเมืองสกลนครพื้นปฐพีพระธาตุใหญ่ ฯ[25]
พอเมื่อเหมิดเขดแล้วม้มแห่งระดูฝน ฝูงหมู่นายกองสักออกหลำซ้ำ เขาก็ไปอยู่ตั้งทันที่กาละสิน จัดหัวเมืองเล่งมาโฮมหั้น แต่นั้น เลยเล่าขำเขือดฮ้อนอุบาดหลายปะกาน เสนาเขาแหกเมืองหนีเจ้า เขาก็หมายเพิ่งเจ้าหยั้งขม่อมเวียงจัน เขาก็ขนคัวมาเพิ่งบุนจอมเจ้า ซื่อว่าพะยาสมพะมิดเจ้าแหกจากกาละสิน เลียนกินเมืองเอกโทนจิงแท้ เจ้าก็มาอยู่ส้างแทนที่หนองหาน ซื่อว่าเมืองสะกลนะคอนแผ่นดินพระทาดใหย่[26]
พอเมื่อเหมิดเขตแล้วม้มแห่งฤดูฝน ฝูงหมู่นายกองสักออกมาหล่ำซ้ำ เขาก็ไปอยู่ตั้งทันที่กาฬสินธุ์ จัดหัวเมืองเร่งมาโฮมหั้น แต่นั้น เลยเล่าขำเขือกฮ้อนอุบาทว์หลายประการ เสนาเขาแหกเมืองหนีเจ้า เขาก็หมายเพิ่งเจ้ายั้งขม่อมเวียงจันทน์ เขาก็ขนครัวมาเพิ่งบุญจอมเจ้า ชื่อว่าพระยาสมพมิตรเจ้าแหกจากกาฬสินธุ์ เลียนกินเมืองเอกโทนจริงแท้ เจ้าก็มาอยู่สร้างแทนที่หนองหาน ชื่อว่าเมืองสกลนครแผ่นดินพระธาตุใหญ่ ฯ[27]
ในพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาสัย: เอกสารฝ่ายท้องถิ่น
แก้เอกสารพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์ฉบับพระราษฎรบริหาร(ทอง) เจ้าเมืองกมลาสัย (เมืองกระมาลาไสย) เขียนด้วยลายมือภาษาลาวอักษรไทยบนสมุดข่อย (สมุดไทยขาวหมึกดำ) สมบัติเดิมของนางรำไพ อัมมะพะ (สกุลเดิม บริหาร) บุตรีของนายทองบ่อ บริหาร ผู้เป็นทายาท ถ่ายสำเนาเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2534 โดยธีรชัย บุญมาธรรม อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ต่อมานายบุญมี ภูเดช (เปรียญ) พิมพ์รวมในหนังสือพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และประวัติเมืองขึ้นในยุคเก่า ที่โรงพิมพ์จินตภัณฑ์การพิมพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2525 จำนวน 1,000 ฉบับ คำปรารภหนังสือระบุว่าได้ต้นฉบับจากพระราชพรหมจริยคุณ วัดกลาง เมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งพิมพ์จากหนังสือที่พระราษฎรบริหาร(ทอง) เรียบเรียงไว้ เอกสารระบุพระประวัติพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) โดยละเอียดดังนี้
...พระราษฎรบริหารเจ้าเมืองกมลาสัยได้ลำดับพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาสัยและเมืองขึ้นไว้สำหรับบ้านเมืองต่อไป เดิมปู่ย่าตายายเจ้านายได้สืบตระกูลต่อ ๆ มานั้นตั้งบ้านเรือนอยู่หนองหานพระเจดีย์เชียงชุมที่เป็นเมืองเก่า ครั้นอยู่มาจะเป็นปีใดไม่กำหนดครั้งนั้นพระครูโพนเสม็ดเจ้าอธิการวัดที่เรียกว่าพระอรหันตาพายสร้อยได้ต่อยอดพระธาตุพนม และเมื่อเกิดเหตุต่าง ๆ ได้พาครอบครัวพวกเจ้านายท้าวเพี้ยราษฎรยกไปตั้งทะนุบำรุงอยู่ ณ เมืองจำปามหานครที่เป็นเมืองเก่าร้างอยู่ ซึ่งโปรดฯ ตั้งเป็นเมืองนครจำปาศักดิ์เดี๋ยวนี้นั้น ตั้งเจ้าสร้อยศรีสมุทซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าเมืองเวียงจันทน์นั้นขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ครั้นอยู่มาช้านานหลายชั่วก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นต่าง ๆ เจ้านายท้าวเพี้ยจึงพร้อมกันพาครัวบุตรภรรยาบ่าวไพร่กลับคืนหนีมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ที่หนองหานพระเจดีย์เชียงชุมตำบลบ้านผ้าขาวพรรณาตามเดิม แต่ครอบครัวผู้คนยังค้างอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ก็ยังมาก ครั้นต่อมาภายหลังจะปีและศักราชหลวงเท่าใดไม่มีกำหนดแจ้ง ครั้งนั้นพระยาโสมพะมิต พระยาอุปชา เมืองแสนฆ้อนโปง เมืองแสนหน้าง้ำ ๔ คน เป็นผู้ใหญ่พากันควบคุมท้าวเพี้ยบ่าวไพร่บุตรภรรยาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่บ้านผ้าขาวพรรณาและหนองหานพระเจดีย์เชียงชุมซึ่งเป็นเมืองสกลนครเดี๋ยวนี้ มีท้าวเพี้ยบ่าวไพร่รวมประมาณสัก ๕,๐๐๐ เศษ รับราชการทำส่วยผ้าขาวขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ ครั้นอยู่มาพระยาอุปชากับเมืองแสนฆ้อนโปงถึงแก่กรรมไปแล้ว เจ้าเมืองเวียงจันทน์คิดก่อเหตุเกิดวิวาทบาดหมางขึ้นกับพวกพระยาโสมพะมิต เมืองแสนหน้าง้ำ ๆ อพยพพาครัวบุตรภรรยาท้าวเพี้ยบ่าวไพร่ประมาณ ๒,๐๐๐ เศษ หนีลงมาบรรจบอยู่ด้วยกับพวกพระวอที่แตกหนีอพยพครอบครัวมาแต่หนองบัวลำภูมาตั้งอยู่ ณ บ้านแจละแม ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเมืองอุบลราชธานี แต่พระยาโสมพะมิตนั้นอพยพพาครัวบุตรภรรยาท้าวเพี้ยบ่าวไพร่ประมาณสัก ๓,๐๐๐ เศษ ไปตั้งอยู่ริมน้ำปาวที่เรียกว่าแก่งสำโรง แล้วพระยาโสมพะมิตลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระยาโสมพะมิตเป็นที่พระยาชัยสุนทรเจ้าเมือง ขนานนามแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ แต่ ณ วันปีจอ จัตวาศก (จุ) ลศักราช ๑๑๖๔ พระยาชัยสุนทรโสมพะมิตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ชรา มีอายุสัก ๗๐ ปีเศษ หลงลืมสติจึงมอบราชการเมืองให้กับท้าวหมาแพงบุตรของพระยาอุปชานั้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา แล้วพระยาชัยสุนทรโสมพะมิตกับท้าวหมาแพงผู้รับว่าราชการเมืองต่างนั้นปรึกษาพร้อมกันทำแผนที่เมืองกาฬสินธุ์ แบ่งเขตแดนต่อกันกับเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่แม่น้ำลำพองข้างเหนือมาตกชีข้างตะวันตก ตะวันออกนั้นตั้งแต่น้ำลำพองตัดลัดไปห้วยสายบาทไปถึงห้วยไพรจาน ไปเขาภูทอกซอกดาวตัดไปบ้านผ้าขาวพรรณาบ้านเดิม ยอดลำน้ำสงครามตกแม่น้ำโขง เขตฝ่ายตะวันออกต่อแดนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร ผ่าเขาภูพานตัดมายังภูเขาหลักทอดยอดยัง ๆ ตกแม่น้ำลำน้ำชีเป็นเขตข้างใต้ ข้างตะวันตกแม่น้ำลำน้ำชีต่อแดนเมืองร้อยเอ็ดและต่อแดนเมืองยโสธรแต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นเมืองเป็นบ้านสิงห์โคกสิงห์ท่าอยู่ แล้วส่งแผนที่ลงไปทูลเกล้าฯ ถวาย...พระยาโสมพะมิตเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์อยู่ได้สามปีก็ถึงแก่กรรม ครั้นถึง ณ ปีขาล อัฐศก ศักราช ๑๑๖๘ ปี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งท้าวหมาแพงขึ้นเป็นพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์...[28][29]
ในพงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ: เอกสารฝ่ายสยาม
แก้เอกสารพงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ เรียบเรียงดัดแปลงแก้ไขจากพงศาวดารเมืองอุบลราชธานีโดยหม่อมอมราชวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) ภาคที่ 1 (ในภาคที่ 1-10) ซึ่งเป็นหนังสือตีพิมพ์เอกสารประวัติศาสตร์เรื่องต่าง ๆ ของไทยทั้งเอกสารในประเทศและที่แปลจากภาษาต่างประเทศ โดยโบราณคดีสโมสร หอสมุดพระวชิรญาณ และหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร อนุญาตให้จัดพิมพ์ในวาระต่างๆ มีทั้งหมด 82 ภาค กล่าวถึงพระประวัติพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) โดยละเอียดดังนี้
...ลุจุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลูเบญจศก ท้าวโสมพมิตร ท้าวอุปชา ซึ่งเดิมอยู่บ้านผ้าขาวแขวงเมืองศรีสัตนาคนหุต แลพาครอบครัวยกมาตั้งอยู่บ้านท่าแก่งสำโรงริมน้ำปาวนั้น ได้พาพวกญาติพี่น้องมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพฯ ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารควบคุมบ่าวไพร่ตัวเลขเก็บผลเร่วส่งทูลเกล้าฯ ถวาย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวโสมพมิตรเปนพระยาไชยสุนทรเจ้าเมือง ให้ท้าวคำหวาเปนที่อุปฮาด ยกบ้านแก่งสำโรงขึ้นเปนเมืองกาฬสินธุ์ทำราชการขึ้นกรุงเทพฯ อาณาเขตรเมืองกาฬสินธุ์ครั้งนั้นมีว่า ทิศตวันออกลำพยังตกลำน้ำชี ทิศเหนือเฉียงตวันตกภูเหล็กยอดลำน้ำสงครามมาลำไก่เขี่ย ตัดลงคูไชเถ้าเกาะจนกระทั่งห้วยสายบาทตกลำพวง ทิศเหนือเฉียงตวันออกภูศรีถานยอดลำห้วยหลักทอดตกลำพยัง แต่ภูศรีถานเฉียงเหนือยอดห้วยก้านเหลืองลงน้ำก่ำเมืองหนองหาร เฉียงเหนือภูเหล็กยอดลำน้ำสงครามมาลำน้ำยามถึงลำน้ำอุ่น ตัดมาหนองบัวส้างยอดน้ำลาดตกน้ำหนองหาร ครั้นพระยาไชยสุนทร (โสมพมิตร) อุปฮาด (คำหวา) ถึงแก่กรรมแล้ว จึ่งโปรดตั้งให้ท้าวหมาแพงบุตรท้าวอุปชา เปนพระยาไชยสุนทรเจ้าเมือง ให้ท้าวหมาสุยเปนอุปฮาด ให้ท้าวหมาพวงเปนราชวงษ์ ทั้งสองคนนี้เปนบุตรพระยาไชยสุนทร (โสมพมิตร) เปนผู้รักษาเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป แลโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงขึ้นไปสักตัวเลขเปนเลขขึ้นเมืองกาฬสินธุ์มีจำนวนครั้งนั้นรวม ๔๐๐๐ คน แบ่งเปนส่วนขึ้นกับเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงษ์ตามสมควร ฝ่ายราชวงษ์ (พอง) นั้น กระทำการเกี่ยงแย่งหาเปนสามัคคีกับพระยาไชยสุนทรไม่ จึ่งอพยพครอบครัวแยกไปตั้งอยู่ณบ้านเชียงชุมแล้วไปยอมสมัคขึ้นอยู่กับเมืองเวียงจันท์ (ศรีสัตนาคนหุต)...[30]
การพระศาสนา
แก้พระยาไชยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร) เป็นผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง และได้สร้างวัดไว้ในตัวเมืองกาฬสินธุ์มากถึง 3 วัด ได้แก่
•วัดศรีบุญเรือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2336 (ปัจจุบันเป็นวัดเหนือ)
•วัดกลาง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2337 (ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง)
•วัดใต้โพธิ์ค้ำ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2341
ปัจฉิมวัย
แก้เมื่อปี พ.ศ.2345 พระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ชราภาพ มีอายุสัก ๗๐ ปีเศษ หลงลืมสติจึงมอบราชการเมืองให้กับท้าวหมาแพงบุตรนั้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราในปี พ.ศ.๒๓๔๙ สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปีเศษและทางกรมการเมืองกาฬสินธุ์จึงไว้ทุกข์มีใบบอกขอพระราชทานเพลิงศพ ดังนี้
หมายรับสั่ง เรื่อง พระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิงและสิ่งของขึ้นไปเผาศพพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ จ.ศ. ๑๑๗๒
“ด้วย เจ้าพระยาภูธราภัยฯ รับพระราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า อุปฮาดท้าวเพียเมืองกาฬสินธุ์ บอกลงมาว่า พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ป่วยถึงแก่กรรม กำหนดจะได้เผาศพ ณ เดือน ๔ ข้างแรม ปีมะเมีย โทศก โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงาน จัดหีบศิลาหน้าเพลิง สิ่งของพระราชทานขึ้นไปเผาศพให้สมแก่เกียรติยศ นั้นให้เจ้าพระคลังในซ้ายเบิกหีบคำเปลวต่อพระคลังข้างในหีบ ๑ ส่งให้พระคลังวิเสทเย็บถุงใส่หีบ เร่งเบิกแต่ ณ วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ อนึ่ง ให้พระคลังรับหีบคำเปลว ต่อพระคลังในซ้ายมาเย็บถุงใหญ่ใส่หีบ ถุงเล็กใส่ศิลาหน้าเพลิง รับศิลาหน้าเพลิงต่อกรมแสง รับธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ต่อท่านข้างในใส่หีบให้พร้อม ส่งให้กรมวัง อนึ่ง ให้มหาดเล็ก รับศิลาหน้าเพลิงต่อกรมวัง ทูลเกล้าฯ แล้วส่งให้กรมวัง แต่ ณ วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ อนึ่ง ให้กรมแสงจัด หีบศิลาหน้าเพลิงสำรับ ๑ ผ้าไตร ๓ ไตร ผ้าขาว ๕ พับ ร่ม ๕๐ คัน รองเท้า ๕๐ คู่ ทองอังกฤษ ๔ กุลี กระดาษเงิน ๒๐ พับ กระดาษทอง ๒๐ พับ กระดาษแดง ๓ พับ กระดาษเขียว ๓ พับ กระดาษเส้น ๓ พับ กระดาษบัว ๓ พับ กระดาษฟาง ๕ พับ ชาห่อใหญ่ ๑ ห่อ ฝุ่น ๒ ห่อ หรดาน ๒ ห่อ ดินแดง ๕๐ เฟื้อง กาว ๒ ชั่ง รง ๑ ชั่ง
พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เทียบเอาอย่างเจ้าเมืองชนบท
วัน เดือน ปีมะเมีย โทศก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ ออกว่าราชการอยู่ที่วังได้นำจำนวน สิ่งของเผาศพพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ขึ้นกราบทูลฯ รับสั่ง ให้หมายไปตามนี้ฯ”[31]
ทายาท
แก้พระยาไชยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร) สมรสกับ อัญญานางสุวรรณหรือนางคำ (บุตรีของเจ้านาม เจ้าเมืองผ้าขาว) มีบุตร 4 คนเท่าที่ปรากฏนามคือ
1. ท้าวหมาแพง ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2349-2369 เป็นหมันไม่มีบุตรจึงขอบุตรชายของเจ้านางหวดผู้เป็นพี่สาวกับเจ้าราชวงศ์เมืองจำปาศักดิ์ (ฮวด) มาเป็นบุตรบุญธรรม 1 คน คือ
1.1 ท้าวเซียงโคตร ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่“ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์”เมื่อ พ.ศ. 2365-2369 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คนเท่าที่ปรากฏ คือ 1)พระราษฎรบริหาร(เกษ) เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 1 เป็นต้น
2. ท้าวหมาป้อง ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระธานี”อุปฮาดเมืองสกลนคร เมื่อ พ.ศ. 2365-2369 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 4 คนเท่าที่ปรากฏคือ
2.1 ท้าวเจียม ได้รับโปรดเกล้าฯการแต่งตั้งเป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2370-2381 สมรสกับอัญญานางทองคำ มีบุตร 7 คน คือ 1)นางพัน 2)ท้าวทอง 3)ท้าวด่าง 4)ท้าวสุริยะ 5)ท้าวบุญมา 6)นางดา 7)นางหลอด เป็นต้น
2.2 ท้าวลาว ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระประเทศธานี”อุปฮาดเมืองสกลนคร เมื่อ พ.ศ. 2381-2393 สมรสกับอัญญานางแก้ว มีบุตร 10 คน คือ 1)ท้าวพิมพา 2)ท้าวแสง 3)ท้าวโส 4)ท้าวพู 5)ท้าวชิน 6)ท้าวโชด 7)นางตื้อ 8)นางแท่ง 9)นางทองแดง 10)นางกัณหา เป็นต้น
2.3 ท้าวละ (จารย์ละ) ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2395-2396 สมรสกับอัญญานางจันทร์ มีบุตร 7 คน คือ 1)ท้าวพรหม 2)ท้าวเทพ 3)ท้าวบัว 4)นางเบ้า 5)ท้าวคาน 6)ท้าวคม 7)นางอุด เป็นต้น
2.4 ท้าวหล้า ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2381-2389 สมรสกับอัญญานางคำแดง มีบุตร 7 คน คือ 1)นางขาว 2)ท้าวโคตร 3)ท้าวสี 4)ท้าวไชย 5)ท้าวสีน 6)ท้าวคำ 7)นางหมอก เป็นต้น
3. ท้าวหมาสุ่ย ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระไชยสุนทร”อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2349-2370 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 3 คนเท่าที่ปรากฏคือ
3.1 ท้าวเกษ ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระสุวรรณ”อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2381-2383 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน คือ 1)ท้าวแสน 2)ท้าวพรหม 3)ท้าวคำไพ 4)ท้าวแสง 5)ท้าวขูลู 6)ท้าวขำ เป็นต้น
3.2 ท้าวกิ่ง ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2400-2413 สมรสกับคุณหญิงสุวรรณ มีบุตร 4 คน คือ 1)นางแพงสี 2)นางพา 3)ท้าวพั้ว 4)นางขำ เป็นต้น
3.3 ท้าวหนูม้าว ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2413-2420 สมรสกับคุณหญิงบัวทอง มีบุตร 1 คนเท่าที่ปรากฏ คือ 1)ท้าวงวด ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ เป็นต้น
4. ท้าวหมาฟอง ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่“ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร” เมื่อ พ.ศ. 2349-2370 ภายหลังทำราชการแก้ตัวอาสารบทัพญวนที่เมืองโพธิสัตว์ จึงได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น”พระยากำแหงมหึมา”เจ้าเมืองกบินทร์บุรี ลำดับที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2370-2379 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 4 คนเท่าที่ปรากฏคือ
4.1 ท้าวสาย ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่“หลวงสุรอาสาปลัด”ปลัดเมืองกบินทร์บุรี เมื่อ พ.ศ. 2370-2378 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 2 คนเท่าที่ปรากฏ คือ 1)หมื่นหาญประจันศึก(ไม่ทราบนามเดิม) 2)หมื่นศรีสำแดงอาสา(ไม่ทราบนามเดิม) เป็นต้น
4.2 ท้าวหลง ได้รับรับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่“พระกำแหงมหึมา”เจ้าเมืองกบินทร์บุรี ลำดับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2379-2415 บรรดาศักดิ์เดิม”หลวงสุรกำแหง”สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คนเท่าที่ปรากฏ คือ 1)หลวงกำแหงมหึมา(เขียน) นายอำเภอเมืองกบินทร์บุรี เป็นต้น
4.3 ท้าวพลัด ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นที่“พระกำแหงมหึมา”เจ้าเมืองกบินทร์บุรี ลำดับที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2415-2433 บรรดาศักดิ์เดิม”หลวงสำแดงฤทธา”สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คนเท่าที่ปรากฏ คือ 1)หลวงฤทธิ์กำแหง(เกตุ) ปลัดเมืองกบินทร์บุรี เป็นต้น
4.4 นางหงษ์ สมรสกับ ชาวไทยเชื้อสายจีน(ไม่ปรากฏนาม) มีบุตร 3 คน คือ 1)นางเง็ก 2)หม่อมแจ่ม(ชายาเจ้าอุปราชศรีสุราช(คำพันธ์) ณ จำปาศักดิ์) 3)นางหนูพัด เป็นต้น
- เนื่องจากท้าวหมาแพงเป็นบุตรของท้าวอุปชาที่เจ้าโสมพะมิตรผู้มีศักดิ์เป็นลุงได้ขอมาเป็นบุตรบุญธรรม เพราะว่า”ท้าวอุปชาเป็นน้องชายของอัญญานางสุวรรณหรือนางคำ ผู้เป็นชายาของเจ้าโสมพะมิตร”
สายตระกูล
แก้พงศาวลีของพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อนุสรณ์
แก้- อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ตั้งอยู่ ณ ถนนกาฬสินธุ์ หน้าที่ทำการไปรษณีย์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ หล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าองค์จริง สูง 175 เซนติเมตร ประทับบนพระแท่น หัตถ์ขวาทรงกาน้ำหรือกลศ หัตถ์ซ้ายทรงดาบอาญาสิทธิ์ ชาวกาฬสินธุ์ร่วมกันก่อสร้างเพื่อแสดงกตเวทิตาต่อพระองค์
- วันบวงสรวงอนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) หล่อเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2524 ชาวกาฬสินธุ์จึงยึดถือวันที่ 13 กันยายนของทุกปีเป็นวันบวงสรวงอนุสาวรีย์
- ถนนโสมพะมิตร ตั้งอยู่ใกล้โฮงเดิมของเจ้าเมืองและอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ในอดีต[32]
ก่อนหน้า | พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | เจ้าเมืองกาฬสินธุ์, ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (พ.ศ. 2336 - 2349) |
พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) |
อ้างอิง
แก้- ↑ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ฉ ช ซ, (กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2536), หน้า 101-75
- ↑ ทองพูล ครีจักร (พ. ครีจันทร์), "บั้นต้น: พญาไกรหนีเมือง", ใน เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทน์ พงศาวดารลาวตอนเวียงจันทน์แตก: คำกลอน เริ่มกล่าวแต่สมเด็จพระเจ้าอนะเรศศรทราธิราชทรงสถาปนานครเวียงจันทน์ แล้วยกทัพไปตีสยาม ๆ ยกพลขึ้นมา ตีได้ครั้งที่ 1 และที่ 2 จนเป็นเหตุเกิดสงครามญวน, (พระนคร: อาารเรียน 2559), หน้า 35
- ↑ Komany, Sphaothong , หนังสือพื้นเวียงจัน กอน 7: พงสาวะดานเจ้าอะนุวง เวียงจัน, ตรวจแก้และถ่ายออกจากภาษาไทยมาเป็นภาษาลาวโดย สะเพาทอง กอมะนี, (Buffalo, New York: โรงเรียนอุดมศึกษา Grover Cleveland High School, 1998 (พ.ศ. 2541)), หน้า 26
- ↑ Phannoudej, Cham, พื้นเมืองเวียงจันทน์ กอน 7 พงสาวะดานเจ้าอะนุวงส์ เวียงจันทน์: หนังสือพื้นเวียง (กลอน 7) พงศาวดารเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์, (Le Plessis-Trévise: จาม พันนุเดช, 1992 (พ.ศ. 2535)), หน้า 22
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย: ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) อักษร ก เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), หน้า 349
- ↑ มูลนิธิเอเซีย, บันทึกการเมืองไทย (Profiles of Thai politics): โครงการวิจัย "บันทึกการเมืองไทย" สนับสนุนโดย มูลนิธิเอเซีย, ชาติชาย เย็นบำรุง และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บรรณาธิการ), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิเอเซีย, 2530), หน้า 377
- ↑ http://www.phyathaipalace.org/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99/nameH.html
- ↑ พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,พงศาวดารเมืองสกลนคร ฉบับลายมือ อำมาตย์โท พระยาประจันตะประเทศธานี(โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร),(สกลนคร:โรงพิมพ์สมศักดิ์การพิมพ์ กรุ๊ป, 2561)
- ↑ สภาวัฒนธรรมอำเภอกมลาไสย,เมืองกมลาไสย(กาฬสินธุ์:กาฬสินธุ์การพิมพ์, 2547)
- ↑ สภาวัฒนธรรมอำเภอกมลาไสย,เมืองกมลาไสย(กาฬสินธุ์:กาฬสินธุ์การพิมพ์, 2547).หน้า28
- ↑ 11.0 11.1 หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร), (2458) "พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) เรียบเรียง ภาคที่ 1: คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 4 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้านางโสฬศนารี ณ จำปาศักดิ์ สารโสภณ(นางอักษรการวิจิตร) ณ วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙", พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ: หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร).หน้า17
- ↑ 12.0 12.1 12.2 อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพคุณแม่ทิพคลี ศรีกาฬสินธุ์(นางสรรพบรรณกิจ) ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคาม พ.ศ.๒๕๑๕(กรุงเทพฯ:สหมิตรการค้า,2515)
- ↑ วัชรวร วงศ์กัณหา, "เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ รอยจารึกประวัติศาสตร์ 220 ปี อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร) เจ้าเมืองคนแรก (Kalasin City Municipality: The historical inscription Praya Chai-sunton Monument (Tao Some-pa-mit), The First Governor)", ใน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น แผนบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560, ร้อยภาพเล่าเรื่องเมืองกาฬสินธุ์ (Arranɡinɡ The Pictures for Tellinɡ story of Kalasin City), สุชานาถ สิงหาปัด, อาจารย์ ดร. (บรรณาธิการ), แปลและเรียบเรียงภาษาอังกฤษโดยนิตย์ บุหงามงคล, รองศาสตราจารย์ ดร., (ขอนแก่น: บริษัท ศิริภัณฑ์ (2497) จำกัด, 2560), หน้า 98-99
- ↑ กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, สัมมนาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอีสานงานนิทรรศการวัสดุก่อสร้างและผลงานสถาปัตยกรรมอีสาน สถาปัตยกรรมอีสานสัญจร: วันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. 2530 ณ โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น, (กรุงทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2530), หน้า 91.
- ↑ สำนักผังเมือง, ผังเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ 2528, (พระนคร: สำนักผังเมือง, 2528), หน้า 20-21
- ↑ สอน เพชรเจียรไน, (2019 (พ.ศ. 2562)) "ลำล่องประวัติเมืองกาฬสินธุ์", มูลมัง ดนตรีอีสาน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=mmDX49LWT7I [๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔].
- ↑ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์, "เอกสารหมายเลข 2 /2559" ใน ประกาศจังหวัดกาฬสินธุ์: สรุปผลการดำเนินงาน การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์การจัดงานกาฬสินธุ์ 222 ปี ใต้ร่มพระบารมี (กาฬสินธุ์ 222 ปี (222 nd KALASIN Anniversary)), (กาฬสินธุ์: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ฝ่ายบริหารทั่วไป, 2558), หน้า 1
- ↑ ดูรายละเอียดใน สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ (ประเทศไทย) สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม, งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เล่มที่ 12-17, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประชาสัมพันธ์และพิมพ์เอกสารการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500, 2500), ไม่ปรากฏจำนวนหน้า
- ↑ สมาคมชาวอีสาน, อีสาน เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี ของสมาคมชาวอีสาน, ธวัชชัย จักสาน (บรรณาธิการ), (กรุงเทพฯ: สมาคมชาวอีสาน, 2534), หน้า 117
- ↑ หอสมุดแห่งชาติ,จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๑ เลขที่ ๗/ก.
- ↑ สถานีหมอลำ สถานีของคนรักหมอลำ (นามแฝง), (2021 (2564)) "ลำกลอน ชุดประวัติศาสตร์ไทยอีสาน หมอลำศรีพร แสงสุวรรณ บุญแต่ง เคนทองดี", บริษัท ราชบุตรเอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=PelrmiNBLe0 [7 พฤษภาคม 2564]
- ↑ ประยูร ไพบูลย์สุวรรณ, โบราณวัตถุสถานในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง: กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น 20 ธันวาคม 2515, (พระนคร: กรมศิลปากร, 2515), หน้า 25
- ↑ ดูรายละเอียดใน กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542), 254 หน้า.
- ↑ ๒๐๐ปีราชวงศ์จักรีกับประวัติศาสตร์เมืองกาฬสินธุ์.จัดพิมพ์โดยจังหวัดกาฬสินธุ์,หน้า ๖๖
- ↑ ทองพูล ครีจักร (พ. ครีจักร์), "บั้นต้น: พญาไกรหนีเมือง", ใน เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทน์ พงศาวดารลาวตอนเวียงจันทน์แตก: คำกลอน เริ่มกล่าวแต่สมเด็จพระเจ้าอนุรุทธาธิราชทรงสถาปนานครเวียงจันทน์ แล้วยกทัพไปตีสยาม ๆ ยกพลขึ้นมา ตีได้ครั้งที่ 1 และที่ 2 จนเป็นเหตุเกิดสงครามญวน, หน้า 35
- ↑ Komany, Sphaothong , หนังสือพื้นเวียงจัน กอน 7: พงสาวะดานเจ้าอะนุวง เวียงจัน, หน้า 25-26
- ↑ Phannoudej, Cham, พื้นเมืองเวียงจันทน์ กอน 7 พงสาวะดานเจ้าอะนุวงส์ เวียงจันทน์: หนังสือพื้นเวียง (กลอน 7) พงศาวดารเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์, หน้า 22
- ↑ ธวัช ปุณโณทก (เรียบเรียง), "พงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์", ใน มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8: ประจันตประเทศธานี, พระยา - พงศาวดารเมืองสกลนคร, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542), หน้า 2549-2853
- ↑ ดูรายละเอียดใน บุญมี ภูเดช (เปรียญ), พงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และประวัติเมืองขึ้นในยุคเก่า, (กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์จินตภัณฑ์การพิมพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์, 2525), 90 หน้า. และ Pu-dech, Bunme, Kalasin City Annals and History of Ancient Age Colony, (Kalasin: Jintapan Printing, 1932), 90 p..
- ↑ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร), (2458) "พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) เรียบเรียง ภาคที่ 1: คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 4 อำมาตย์เอก พระยาศรีสำรวจ (ชื่น ภัทรนาวิก) ม.ม, ท.ช, รัตน ว,ป,ร.4 พิมพ์แจกในงานศพ พัน ภัทรนาวิก ผู้มารดา เมื่อปีเถาะสัปตศก พ.ศ. 2458", พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ: หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B2%[ลิงก์เสีย] [๙ มกราคม ๒๕๖๓].
- ↑ ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๓ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- ↑ ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร สำนักวิทยบริการ และภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, งานวิจัยเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: บทคัดย่อ เล่ม 11, (มหาสารคาม: ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร สำนักวิทยบริการ และภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540), หน้า 61.