อำเภอร่องคำ
ร่องคำ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกตัวเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2516 และจัดตั้งในปี พ.ศ. 2536[1]
อำเภอร่องคำ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Rong Kham |
คำขวัญ: ใต้สุดกาฬสินธุ์ ดินแดนพระเก่ง กลองเส็งคู่บ้าน เบ่งบานประชาธิปไตย | |
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอร่องคำ | |
พิกัด: 16°16′0″N 103°44′26″E / 16.26667°N 103.74056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาฬสินธุ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 82.137 ตร.กม. (31.713 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 16,492 คน |
• ความหนาแน่น | 200.79 คน/ตร.กม. (520.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 46210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4604 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอร่องคำ หมู่ที่ 13 ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46210 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้เมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๖๓ ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีราษฎรกลุ่มหนึ่งอพยพครอบครัวมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของลำห้วยทราย และได้จับจองหักร้างถางพล เพราะเห็นว่าจะทำให้นาได้ ผลดี เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีร่องน้ำไหลซึม เรียกว่าแหล่งที่ซึมชาวบ้าน เรียกว่า (ร่องคำหรือฮ่อมคำ) เรียกกันต่อมาว่า "ร่องคำ" อำเภอร่องคำเดิมชื่อบ้านกุดลิง หมู่บ้านเดิมตั้งอยู่ริมห้วยทราย ซึ่งมีกุดอยู่กุดหนึ่งมีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่ากุดลิง จึงขนานนามว่าบ้านกุดลิง ต่อมาชาวบ้านกุดลิงมีพลเมืองหนาแน่นมากขึ้น จึงได้ขยายหมู่บ้านออกไปทางทิศเหนืออีกหมู่บ้านหนึ่ง ต่อมาราษฎรอพยพมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้นการติดต่อราชการกับอำเภอกมลาไสยยากลำบากเพราะท้องถิ่นอยู่ห่างไกลตัวอำเภอ การคมนาคมไม่สะดวก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอร่องคำขึ้น เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ ให้มีเขตการปกครองรวม ๒ ตำบล คือ ตำบลร่องคำ และ ตำบลสามัคคี ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลร่องคำ ให้ขึ้นอยู่เขตการปกครองอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นอำเภอร่องคำ [2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอร่องคำตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกมลาไสย และอำเภอโพธิ์ชัย (จังหวัดร้อยเอ็ด)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ชัย (จังหวัดร้อยเอ็ด)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงขวัญและอำเภอจังหาร (จังหวัดร้อยเอ็ด)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกมลาไสย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอร่องคำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 40 หมู่บ้าน
1. | ร่องคำ | (Rong Kham) | 13 หมู่บ้าน | ||||
2. | สามัคคี | (Samakkhi) | 15 หมู่บ้าน | ||||
3. | เหล่าอ้อย | (Lao Oi) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอร่องคำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลร่องคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่องคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสามัคคี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามัคคีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าอ้อยทั้งตำบล
รายชื่อโรงเรียน
แก้โรงเรียนรัฐบาล
แก้- โรงเรียนกุดลิงวิทยาคม
- โรงเรียนสองห้องราษฎรณ์บูรณะ
- โรงเรียนเหล่าเขืองโนนเสียววิทยา
- โรงเรียนสำเริงวิทยา
- โรงเรียนสามัคคีสำราญวิทย์
- โรงเรียนด่านใต้วิทยา
- โรงเรียนเหล่าอ้อยบำรุงวิทย์
- โรงเรียนดงพะยอมหนองคูสามัคคีวิทยา
- โรงเรียนเทศบาลตำบลร่องคำ
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร่องคำ
โรงเรียนเอกชน
แก้- โรงเรียนบุญมีวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลบุญมี
รายชื่อวัด
แก้วัดในเขตตำบลร่องคำ
แก้- วัดร่องคำ
- วัดปฐมแพงศรี
- วัดสว่างใต้
- วัดดอนปู่ตา
- วัดสองห้อง
- ที่พักสงฆ์ป่าดงเมือง
- ที่พักสงฆ์ป่าสองห้อง
ประเพณี
แก้- ประเพณีเส็งกลองร่องคำ เป็นประเพณีแข่งขันกลองพื้นบ้าน ที่ชาวบ้านในอำเภอร่องคำมีการละเล่นมาแต่โบราณ คำว่า"เส็ง"ในภาษาอีสานแปลว่า แข่งขัน ซึ่งประเพณีเส็งกลองร่องคำจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
- ประเพณีบุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟของอำเภอร่องคำมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากที่อื่น คือเป็นบั้งไฟเลาไม้แบบโบราณการแข่งขันเป็นแบบทางไกล จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ ราชกิจานุเบกษา,ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอร่องคำ เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๙๐ ตอน ๑๓ ง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ หน้า ๒๓๙