พระยาชัยสุนทร (กิ่ง)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวกิ่งหรือกิ่งหงษา” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 (พ.ศ. 2396–2411)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูล ณ กาฬสินธุ์และวงศ์กาฬสินธุ์“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) | |
---|---|
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2396 – พ.ศ. 2411 | |
ก่อนหน้า | พระยาชัยสุนทร(จารย์ละ) |
ถัดไป | พระยาชัยสุนทร(หนู) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบปีเกิด เมืองกาฬสินธุ์ |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2411 เมืองกาฬสินธุ์ |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
ชาติกำเนิด
แก้เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระไชยสุนทร(หมาสุย)อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเกษ ท้าวกิ่ง ท้าวหนูม้าว ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม
การรับราชการ
แก้•เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร (ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 และได้เป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6
•ภายหลังพระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 ได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ. 2396 กรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลให้โปรดเกล้าฯ พระทานสัญญาบัตรตั้งท้าวกิ่ง เป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวหนูม้าวบุตรท้าวหมาสุย เป็นที่อุปฮาด ท้าวเกษบุตรราชวงศ์เซียงโคตร เป็นที่ราชวงศ์ และพระอินทิสาร(ขี่)บุตรพระยาไชยสุนทร(ทอง) เป็นที่ราชบุตร
•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”
อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”
ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”
ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”
เหตุการณ์สำคัญ
แก้•ปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระบรมราชโองการใบบอกพระราชทานสารตราตั้งเมืองกาฬสินธุ์โปรดเกล้าฯให้ อุปฮาดท้าวจารย์ละบุตรท้าวหมาป้องผู้รักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์เป็นที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ท้าวกิ่งบุตรอุปฮาดหมาสุยเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ท้าวเกษบุตรราชวงศ์เซียงโคตรเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และให้พระอินทิสาร(ขี่)ราชบุตรเมืองสกลนครมาเป็นราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ ตามลำดับและต่อไม่นานเมื่อสารตราตั้งมาวางไว้ที่เมืองกาฬสินธุ์พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ)ก็ถึงแก่กรรมลงกรมการเมืองจึงพร้อมใจตั้งอุปฮาดกิ่งเป็นผู้รักษาราชการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป
•ปี พ.ศ. 2397 พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์มีใบอกลงไปว่าราชบุตรเมืองกุดสิมนารายณ์ว่างลง จึงขอโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวขัติยะ เป็นราชบุตรเมืองกุดสิมนารายณ์ พระราชทานเสื้ออัตลัตดอกสะเทิน ๑ แพรขาว ๑ ผ้าเชิงปูม ๑ เป็นเครื่องยศ
•ปี พ.ศ. 2398 พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์พร้อมกับท้าวหนูม้าวน้องชาย จึงลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ เพื่อรับพระราชทานสัญญาบัตรตราตั้งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์และทูลขอแต่งตั้งท้าวหนูเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์และพักรออยู่กรุงเทพฯ 2 ปี ท้าวหนูม้าวจึงได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์
•ปี พ.ศ. 2400 พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์กับอุปฮาด(หนูม้าว)กลับจากราชการที่กรุงเทพฯ พร้อมเชิญสารตราตั้งกรมการเมืองมาวาง ณ เมืองกาฬสินธุ์ จัดให้ราชวงศ์(เกษ)และพระอินทิสาร(ขี่)ราชบุตร อยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่กรมการเมืองกาฬสินธุ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง
•ปี พ.ศ. 2405 เมืองกาฬสินธุ์มีใบบอกขออุปฮาด(ด้วง)เป็นที่”พระธิเบศร์วงษา”เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ จึงโปรดเกล้าตามที่ขอไป พระราชทานถาดหมากคนโทเงิน ๑ สำรับ สัปทนแพรขลิบ ๑ เสื้อเข้มขาบก้านแย่ง ๑ แพรสีทับทิมติดขลิบ ๑ ผ้าดำปักไหมทอง ๑ แพรขาวห่ม ๑ ผ้าปูม ๑ เป็นเครื่องยศ
•ปี พ.ศ. 2407 พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์มีใบบอกขอตั้งท้าวขัตติยะให้เป็นว่าที่ราชวงศ์เมืองภูแล่นช้างและในปีนี้หัวเมืองฝ่ายตะวันออกเกิดทุพภิกขภัยฝนแล้งข้าวแพง ซื้อขายกันราคาสัดละตำลึงหรือ ๔ ทนานต่อบาท เจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพี้ย ราษฎร พากันได้รับความอดอยากยากแค้น จึงขอให้เรียกกองสักเลกยกจากเมืองยโสธรกลับลงไปยังกรุงเทพฯ
•ปี พ.ศ. 2409 พระยาไชยสุนทร(กิ่ง)กับราชวงศ์(เกษ) เกิดเหตุขัดแย้งวิวาทกันและเป็นความลงไปค้างอยูกรุงเทพฯ ราชวงศ์(เกษ) จึงขอให้เจ้าพนักงานเข้ากราบบังคมทูลขอแยกจากเมืองกาฬสินธุ์ ไปตั้งอยู่บริเวณบ้านสระบัว ตำบลดงมะขามเฒ่า ปากห้วยกอก ริมน้ำปาว กับขอให้ตั้งอยู่ ณ บ้านพันลำ ตำบลภูคนโท ขอยกขึ้นเป็นเมือง
•ปี พ.ศ. 2410 มีใบบอกพระราชทานสารตราตั้งบ้านสระบัวขึ้นเมืองกมลาไสยและบ้านพันลำขึ้นเป็นเมืองสหัสขันธ์ พร้อมแต่งตั้งกรมการเมืองกมลาไสยโดยให้ท้าวเกษราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์เป็นที่”พระราษฎรบริหาร” เจ้าเมือง ท้าวทองเป็นที่อุปฮาด ท้าวบัวเป็นที่ราชวงศ์ ท้าวมหานามเป็นที่ราชบุตร ส่วนเมืองสหัสขันธ์แต่งตั้งให้ ท้าวแสนเป็นที่”พระประชาชนบาล” เจ้าเมือง ท้าวพรหมเป็นที่อุปฮาด ท้าวคำไภยเป็นที่ราชวงศ์ ท้าวแสงเป็นที่ราชบุตร ทั้งสองเมืองให้ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์
•ปี พ.ศ.2411 พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์พร้อมกับพระอินทิสาร(ขี่)ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และท้าวคำไภยราชวงศ์เมืองสหัสขันธ์ ถึงแก่กรรมลง จึงโปรดเกล้าฯให้อุปฮาดหนูม้าวเป็นที่”พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมือง ท้าวเหม็นเป็นที่”พระไชยสุนทร”อุปฮาด เพี้ยซานนท์(โคตร)เป็นที่ราชวงศ์ พระสุริยมาตย์(สุรินทร์)เป็นที่ราชบุตร รักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป
ถึงแก่กรรม
แก้•พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 15 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2411 สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 เพียงเท่านี้
ทายาท
แก้พระยาไชยสุนทร(กิ่ง) สมรสกับคุณหญิงสุวรรณ(ทองคำ) และมีบุตร 4 คน ได้แก่
1) นางแพงศรี สมรสกับ พระราษฎรบริหาร(เกษ)เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 1 มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)ท้าวทอง 2)ท้าวบัว 3)ท้าวคำแสน 4)ท้าวนวล 5)ท้าวธรรม เป็นต้น
2) นางพา สมรสกับ พระยาไชยสุนทร(โคตร)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 มีบุตร 10 คน ได้แก่ 1)ท้าวหนู 2)ท้าวสุรินทร์ 3)ท้าวทองอินทร์ 4)ท้าวคำตา 5)ท้าวคำแสน 6)ท้าวจารย์เฮ้า 7)นางข่าง 8)นางคะ 9)นางบัวสา 10)ท้าวคำหวา เป็นต้น
3) พระยาไชยสุนทร(พั้ว)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 10 สมรสกับคุณหญิงพลูเงิน มีบุตร 8 คน คือ 1)นางสิงห์ 2)ท้าวเบ้า 3)นางเต้า 4)ท้าวเฮือง 5)นางเชือง 6)นางเคือง 7)นางเหลื่อม 8)นางหล้า เป็นต้น
4) นางขำ สมรสกับพระไชยสุนทร(หนูหมี)อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ มีบุตร 8 คน ได้แก่ 1)นางเสริม 2)นางบู่ทอง 3)ท้าวทับ 4)ท้าวตัน 5)นางเสริม 6)นางทิพย์คลี่(ประคีย์) เป็นต้น
สายตระกูล
แก้พงศาวลีของพระยาชัยสุนทร (กิ่ง) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนหน้า | พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) | เจ้าเมืองกาฬสินธุ์, ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (พ.ศ. 2396 - 2411) |
พระยาชัยสุนทร (หนู) |