ตำบลหนองแปน (อำเภอกมลาไสย)
หนองแปน เป็นตำบลในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ตั้งของพระธาตุยาคูและเมืองฟ้าแดดสงยาง ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปนดิน มีคูเมืองสองชั้น มีลักษณะเป็นท้องน้ำ นอกจากนี้ยังมี พระธาตุยาคู ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดี แต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง มีการขุดพบใบเสมาหินทรายที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากร 130 แผ่น
ตำบลหนองแปน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Nong Paen |
พระธาตุยาคู ภายในพื้นที่หมู่ 7 บ้านเสมา | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาฬสินธุ์ |
อำเภอ | กมลาไสย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 31.05 ตร.กม. (11.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565)[1] | |
• ทั้งหมด | 6,749 คน |
• ความหนาแน่น | 217.35 คน/ตร.กม. (562.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 46130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 460308 |
เทศบาลตำบลหนองแปน | |
---|---|
พิกัด: 16°17′53.8″N 103°29′34.8″E / 16.298278°N 103.493000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาฬสินธุ์ |
อำเภอ | กมลาไสย |
จัดตั้ง | • 30 กันยายน 2535 (สุขาภิบาลหนองแปน) • 25 พฤษภาคม 2542 (เทศบาลตำบลหนองแปน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 31.05 ตร.กม. (11.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 6,749 คน |
• ความหนาแน่น | 217.35 คน/ตร.กม. (562.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05500403 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 397 หมู่ที่ 2 ถนนมหาสารคาม–กมลาไสย ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130 |
เว็บไซต์ | nongpaen |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลหนองแปนมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโนนศิลาเลิง (อำเภอฆ้องชัย)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลฆ้องชัยพัฒนา และตำบลกุดฆ้องชัย (อำเภอฆ้องชัย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกมลาไสย และตำบลธัญญา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกสะอาด (อำเภอฆ้องชัย)
ประวัติ
แก้หนองแปนเป็นตำบลเก่าแก่ในมณฑลร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นเป็นตำบลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453[2] ซึ่งพื้นที่ตำบลหนองแปนเดิมครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของอำเภอฆ้องชัยด้วย
ตำบลหนองแปนมีพื้นที่ขนาดกว้างขวางมาก จึงมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นตำบลต่าง ๆ คือ
- วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 5, 9, 18–19, 21–22, 24, 26–31, 33, 35–39 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน ตั้งเป็น ตำบลกุดฆ้องชัย[3] โดยมีเขตการปกครองรวม 20 หมู่บ้าน
- วันที่ 5 ตุลาคม 2514 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 4, 6–7, 12–13, 15, 17, 19 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดฆ้องชัย ตั้งเป็น ตำบลลำชี[4] โดยมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลหนองแปนทั้งหมด
- วันที่ 17 มิถุนายน 2518 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 6, 7, 9, 10–12, 20, 22 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน ตั้งเป็น ตำบลโคกสะอาด[5] โดยมีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 6–7, 9, 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน ตั้งเป็น ตำบลโนนศิลา (ตำบลโนนศิลาเลิง)[6] โดยมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ได้แยกพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน กับพื้นที่หมู่ 1, 3, 10, 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลลำชี ไปรวมกับพื้นที่หมู่ 2, 4, 11–12, 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดฆ้องชัย ตั้งเป็น ตำบลฆ้องชัยพัฒนา[7] โดยมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลหนองแปนทั้งหมด
หนองแปนมีตลาดเป็นที่ประชุมชน มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น มีการคมนาคมและการค้าขายเจริญมาก ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงได้ตั้ง "สุขาภิบาลหนองแปน"[8] ขึ้นในพื้นที่หมู่ 1–5, 8 และนับเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 สุขาภิบาลในอำเภอกมลาไสย ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น ก่อนที่จะยกขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลหนองแปน"[9]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภาตำบลหนองแปนเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลหนองแปน เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน[10] การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแนวเขตเทศบาลตำบลหนองแปน จะทำให้เทศบาลตำบลซึ่งแต่เดิมมีพื้นที่ 9.71 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 31.05 ตารางกิโลเมตร และครอบคลุมพื้นที่เต็มทั้งตำบลหนองแปน รวมทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลหนองแปนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านหนองแปน | (Ban Nong Paen) | ||||
หมู่ 2 | บ้านหนองแปน | (Ban Nong Paen) | ||||
หมู่ 3 | บ้านหนองแปน | (Ban Nong Paen) | ||||
หมู่ 4 | บ้านโนนสูง | (Ban Non Sung) | ||||
หมู่ 5 | บ้านนาเชือก | (Ban Na Chueak) | ||||
หมู่ 6 | บ้านโนนโพธิ์ศรี | (Ban Non Pho Si) | ||||
หมู่ 7 | บ้านเสมา | (Ban Sema) | ||||
หมู่ 8 | บ้านนาปิง | (Ban Na Ping) | ||||
หมู่ 9 | บ้านโนนสูง | (Ban Non Sung) |
ชื่อหมู่บ้านในตำบลหนองแปนนี้อ้างอิงตามกรมการปกครอง เนื่องจากเป็นชื่อหมู่บ้านที่บัญญัติไว้ทางการในทะเบียนปกครอง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลหนองแปน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลหนองแปน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแปนทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลหนองแปนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[11] และจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535[8]
ต่อมาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลหนองแปน[9] และในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ยุบสภาตำบลหนองแปนเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลหนองแปน เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน[10]
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลหนองแปนประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,749 คน แบ่งเป็นชาย 3,214 คน หญิง 3,535 คน (เดือนธันวาคม 2565)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 8 จาก 9 ตำบลในอำเภอกมลาไสย
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565[13] | พ.ศ. 2564 [14] | พ.ศ. 2563[15] | พ.ศ. 2562[16] | พ.ศ. 2561[17] | พ.ศ. 2560[18] | พ.ศ. 2559[19] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
หนองแปน (หมู่ 2) | 1,249 | 1,246 | 1,218 | 1,217 | 1,221 | 1,223 | 1,232 |
เสมา | 883 | 897 | 903 | 901 | 917 | 913 | 923 |
นาปิง | 803 | 799 | 810 | 810 | 823 | 828 | 838 |
นาเชือก | 797 | 795 | 798 | 812 | 811 | 813 | 824 |
โนนสูง (หมู่ 9) | 718 | 714 | 711 | 710 | 705 | 707 | 701 |
โนนสูง (หมู่ 4) | 685 | 701 | 706 | 718 | 719 | 724 | 721 |
หนองแปน (หมู่ 3) | 591 | 591 | 603 | 609 | 607 | 616 | 614 |
โนนโพธิ์ศรี | 586 | 588 | 590 | 593 | 595 | 595 | 599 |
หนองแปน (หมู่ 1) | 437 | 440 | 432 | 452 | 464 | 470 | 469 |
รวม | 6,749 | 6,771 | 6,771 | 6,822 | 6,862 | 6,889 | 6,921 |
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลร้อยเอ็ด]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 511–518. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2464
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (67 ง): 6304–6305. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (106 ง): 2750–2755. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (112 ง): 1466–1474. วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 26–34. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสยและอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): (ฉบับพิเศษ) 108–127. วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-51. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535
- ↑ 9.0 9.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ 10.0 10.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 11–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.