พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช หรือเจ้าสุริยะ พระราชโอรสของเจ้าต่อนคำ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2156 หลังจากที่พระเชษฐาของพระองค์แย่งชิงราชสมบัติกัน นับแต่พระบัณฑิตโพธิศาละราชสวรรคต พระองค์ได้ซ่องสุมกำลังอยู่ในป่าและได้ยกทัพเข้ามาตีเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2181 และเป็นฝ่ายที่ยึดครองเวียงจันทน์ได้ และขึ้นครองราชย์ขณะที่พระชนม์ได้ 25 ชันษา[ต้องการอ้างอิง]
พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช | |
---|---|
รัชกาลก่อนหน้า | เจ้าต่อนคำ |
รัชกาลถัดไป | พระยาจันทสีหราช เมืองแสน |
พระราชบุตร | เจ้าราชบุตร เจ้านางนางสุมัง |
พระราชบิดา | เจ้าต่อนคำ |
หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ให้เจ้าชมพู พระเชษฐาไปอยู่เมืองเว้ในประเทศเวียดนาม เจ้าบุญชู พระเชษฐาอีกองค์หนึ่งออกผนวชตลอดชีวิต ส่วนพระโอรสของเจ้าไชยที่เป็นพระเชษฐาคือเจ้าปุให้ไปครองเมืองด่านซ้ายและเจ้าสร้อยให้ไปครองเมืองสะพือ พระองค์ครองราชย์สมบัติจนถึง พ.ศ. 2238 เป็นรัชกาลที่ยาวนานและสงบสุขรัชกาลหนึ่ง ในรัชสมัยของพระองค์มีชาวยุโรปเดินทางเข้ามาถึงล้านช้าง ดังที่ปรากฏในบันทึกของเจอร์ราด วาน วูสตอฟ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และบันทึกของบาทหลวงมาร์นี
พระองค์ได้มีการทำศึกสงครามครั้งใหญ่กับอาณาจักร์อยุธยาอยู่หลายครั้ง และสุดท้ายล้านช้างเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้อยุธยาสูญเสียเสบียงและกำลังพลไปอย่างมหาศาลกับการทำสงครามพ่ายแพ้ต่อล้านช้างซึ่งส่งผลให้อยุธยาบอบช้ำอย่างหนักไม่สามารถขยายอิทธิพลไปยังหัวเมืองอื่นๆได้อีก อีกทั้งยังสูญเสียประเทศราชภายใต้อำนาจบางแห่งอีกด้วย นอกจากนี้ท่านยังนำทัพล้านช้างได้ไปตีเมืองพวนและกวาดต้อนไทพวนเข้ามาไว้ในเวียงจันทน์เป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา อีกทั้งยังมีเมืองเชียงรุ่งเข้ามาสวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้นกับท่านอีกด้วย
พระองค์ได้สั่งประหารเจ้าราชบุตร พระราชโอรสในข้อหาลักลอบเป็นชู้กับพระชายาของพระองค์ ทำให้เมื่อพระองค์สวรรคตจึงขาดรัชทายาทที่ชัดเจน มีแต่พระราชนัดดาที่ทรงพระเยาว์ ทำให้เกิดความปั่นป่วนและแย่งชิงเชื้อพระวงศ์มาเป็นพวกตน บางองค์ได้หลบหนีออกนอกราชอาณาจักร การแย่งชิงราชสมบัติหลังการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวงศานำไปสู่การแยกอาณาจักรล้านช้างเป็น 3 อาณาจักรในที่สุด
พระราชสันตติวงศ์แก้ไข
ทรงมีราชบุตรราชธิดากับพระเทวี3องค์คือ
นอกจากนี้ท่านยังมีพระธิดานามว่า หม่อมคำแล หรือมีอีกพระนามว่า นางคำ ซึ่งได้เสกสมรสกับเจ้าอินทกุมารเจ้าผู้ครองนครศรีฟ้าวาหะหัว (เชียงรุ่ง) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์อาฬโวสวนต๋าน ซึ่งได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงล้านช้างเมื่อครั้งเสียเมืองเชียงรุ่งให้จีนฮ่อ มีบุตรร่วมกัน พระนามว่า เจ้าองค์คำ ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งล้านช้างหลวงพระบางและเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่ในภายหลัง
อ้างอิงแก้ไข
- พิกุล สมัครไทย. “พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาธรรมิกราชแห่งยุคทองของล้านช้าง.” ใน กิตติพงษ์ ประพันธ์ (บก.), บทความสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13 “ภูมิภาคนิยม และท้องถิ่นนิยมสมัยใหม่ในโลกไร้พรมแดน”. น. 142-157. [มปท.]: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2562.
- มหาบุนมี เทบสีเมือง. ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่ม 2 อาณาจักรลาวล้านช้างตอนต้น. แปลโดย ไผท ภูธา. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. 2554.หน้า 334-349