ฮ่อ , จีนยูนนาน ภาษาไทยถิ่นเหนือเรียกว่า ห้อ[2] (อังกฤษ: Haw, จีน: 云南人) เป็นการเรียกกลุ่มชนเชื้อสายจีนที่อพยพลงมาจาก มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยไม่จำแนกว่านับถือศาสนาใด[3] เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทย พม่า และลาว มีทั้งอาศัยอยู่บนเทือกเขาและในเมือง ในประเทศไทยชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนานมักอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน

ฮ่อ
ภาพถ่ายชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดลำปาง, จังหวัดพะเยา
ไทย ประเทศไทย
ภาษา
ภาษาจีน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง
ศาสนา
ตามประเพณีทั่วไปของชาวจีนฮั่นที่นับถือทั้ง 4 ศาสนาพร้อมกัน ได้แก่: นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์

การอพยพ แก้

ชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามานั้นพอจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มพ่อค้าคาราวาน[4] ที่ใช้ม้าต่างหรือ ล่อ เป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้าผ่านมาทางฮ่องลึกหรือด่านแม่สาย เดินทางตามช่องทางนี้มาตั้งแต่โบราณ
  2. กลุ่มจีนฮ่อลี้ภัย ในช่วงปราบปรามกบฏปันทาย นำโดยสุลต่านสุลัยมาน (Sulayman ibn Abd al-Rahman) หรือตู้เหวินซิ่ว (ภาษาจีนกลาง:杜文秀) ผู้สถาปนารัฐผิงหนานขึ้นในมณฑลยูนนานในช่วงปี ค.ศ. 1856–1873 แต่กลับถูกทางการราชวงศ์ชิงปราบปรามอย่างราบคาบ คาดการว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนไปนับล้านคน
  3. กลุ่มทหารกู้ชาติจีนอพยพเข้ามา หลังจากการปฏิวัติประเทศจีนประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1949 ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ทำให้ทหารกองพล 93 ของจีนคณะชาติหรือพรรคก๊กมินตั๋งต้องถอยร่นลงมาอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า และต่อมาส่วนหนึ่งได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศไต้หวัน อีกส่วนหนึ่งปักหลักอยู่ทางภาคเหนือของไทย [5]

ศิลปะและวัฒนธรรม แก้

ภาษา แก้

ชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน ใช้ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ในการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว คนรุ่นหลังสามารถอ่านเขียนภาษาจีนมาตรฐานได้ดี จะมีการสอนภาษาจีนในโรงเรียนไทย นักเรียนชาวฮ่อก็จะได้เรียนการเขียนอักษรจีนตัวย่อและพินอิน ครั้นเสร็จสิ้นการเรียนในโรงเรียนไทย พวกเขาจะเข้าเรียนโรงเรียนจีนต่อในช่วงภาคค่ำ โดยศึกษาการเขียนอักษรแบบจีนตัวเต็ม[6]

ประเพณี แก้

ประเพณีชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน

งานปีใหม่หรือตรุษจีน แก้

จะมีการเซ่นไหว้เจ้าที่ด้วยอาหาร ผลไม้ จุดประทัด ทุกคนต่างหยุดงาน และแต่งกายสวยงามเลี้ยงสุราอาหาร ให้ของขวัญแก่กัน มีการไหว้บิดามารดา(ไหว้บรรพบุรุษ)หรือสามีภรรยาที่ล่วงลับไปแล้ว

การขึ้นบ้านใหม่ แก้

จะมีการเซ่นเจ้าอย่างแบบจีนโดยเอาผ้าผืนใหญ่ มาเขียนตัวอักษรจีนปิดไว้บนขื่อและประตู ห้อยชายลง เจ้าของบ้านจะฆ่าหมู ไก่ เป็ด และแพะ ปรุงเป็นอาหารเลี้ยงชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่มารับประทานน้ำชา อาหาร มีการเล่นละครแบบยูนนานคล้าย ๆ งิ้ว

ลักษณะบ้านเรือน แก้

ชาวฮ่อนิยมตั้งบ้าน เรือนที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่มีชนชาติอื่นเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ปะบน การปลูกบ้านของชาวฮ่อ จะใช้ดินมาปั้นเป็นก้อน ๆ โดยไม่ต้องเผาไฟ ทำเป็นอิฐก่อกันเป็นตึก 2 ชั้นเตี้ย ๆ ข้างบนทึบ ชายคายื่นล้ำลงมาเพื่อกันไม่ให้ฝนสาดฝาพังทลาย และเพื่อป้องกันอิฐดิบนั้น ชาวฮ่อจึงใช้ปูนผสมดินเหนียวกับทรายฉาบนอกอีกชั้นหนึ่ง[7]

อาหาร แก้

อาหารของชาวฮ่อหรือจีนยูนนาน รู้จักกันในชื่ออาหาร Dian เป็นอาหารของชาวจีนฮั่นผสมผสานกับชนกลุ่มน้อยในมณฑลยูนนานในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์มากที่สุด อาหารของยูนนานจึงมีความหลากหลายอย่างมาก อาหารยูนนานหลายมีรสชาติค่อนข้างเผ็ด และมีเห็ดเป็นส่วนประกอบ ดอกไม้ เฟิร์น สาหร่าย และแมลง ก็นำมาทำอาหารได้เช่นกัน อาหารของชาวจีนยูนนานมีความไกล้เคียงกับอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีพรมแดนติดกับภูมิภาคนี้และได้ผสมผสานกับอาหารของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่อีกด้วย อาหารของชาวจีนยูนนานจึงมีความหลากหลาย

สามผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาวจีนยูนนาน คือ ชาผูเอ่อร์ ซึ่งได้รับการปลูกแบบดั้งเดิม และ แฮม Xuanwei ซึ่งมักใช้ปรุงรสอาหารตุ๋นและเคี่ยวในอาหารจีน รวมไปถึงสำหรับทำน้ำสต็อกและน้ำซุป และ ฮวาเจียว guoqiao ใช้ทำพริกปิ้งย่างของจีนหรือที่คนไทยเรียนว่า หม่าล่า และยังใช้ทำซุปก๋วยเตี๋ยวไก่อีกด้วย

อาหารยูนนานมีความเป็นเอกลักษณ์ เช่น ชีส Rubing และ ชีส Rushan และและอิทธิพลอื่นๆ ได้แก่ อิทธิพลของมองโกเลียในสมัยราชวงศ์หยวน (เช่น การตั้งถิ่นฐานชาวเอเชียกลางในยูนนาน) และอิทธิพลของอินเดียและทิเบตที่มีต่ออาหารของชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน[8]

ศาสนา แก้

 
มัสยิดบ้านฮ่อในจังหวัดเชียงใหม่

ชาวจีนฮ่อประมาณ 1 ใน 3 จะนับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาจีนกลาง [9] นอกนั้นจะนับถือบูชาบรรพบุรุษ และถูกกลืนไปในวัฒนธรรมล้านนา โดยผู้ที่เป็นมุสลิมจะถูกเรียกว่า ผ่าสี่ แต่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจะเรียกว่า ผ่าห้า[10] สันนิษฐานได้ว่าคำว่าผ่าสี่อาจจะมาจากภาษาไทใหญ่ มีความหมายว่า เปอร์เซีย

ชาวฮ่อที่ยังนับถือผีบรรพชนนั้น จะมีซินแสหรือที่เรียกว่าสล่าเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่ออย่างชาวจีน[11] นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์[2]

อย่างไรก็ตาม ชาวจีนฮ่อมุสลิม ตามความหมายของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จะหมายถึงชาวหุย ซึ่งหมายถึงชาวมุสลิมที่มีลักษณะวัฒนธรรมและค่านิยมเช่นเดียวกับชาวจีนเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม มักอาศัยอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน[12]

ชาวจีนยูนนานมีการนับถือสามศาสนาหลักคือ พุทธ คริสต์และอิสลาม ในประเทศไทยสามารถแบ่งกลุ่มตามความเชื่อทางศาสนาได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

ฮั่นเจียว เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานผสมลัทธิเต๋า มีศาลเจ้าและในบ้านจะมีหิ้งบูชาบรรพบุรุษ

หุยเจียว เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดหรือสุเหร่าเพื่อประกอบพิธี

จีตู๋เจียว เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ มีโบสถ์เป็นศาสนสถานที่ใช้เพื่อทำพิธีกรรมในหมู่บ้านและความเชื่อเรื่องสิ่งสักการบูชา 5 ประการได้แก่ ฟ้า ดิน กษัตริย์ บิดามารดาและครู

สีแดงเป็นสีมงคล การบูชาผีเรือนจะทำให้ผู้บูชาอยู่เย็นเป็นสุข กระดูกไก่สามารถใช้ทำนายโชคชะตาอนาคตและความรุ่งเรืองของบุคคลได้ ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ และชีวิตหลังความตาย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 2540, น.63
  2. 2.0 2.1 "จีนยูนนาน". มูลนิธิโครงการหลวง. 24 มกราคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ชาวจีนฮ่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-07-05.
  4. Hellet, 1890 และ Bock, 1884 อ้างใน Suthep Soonthornpasuch, 1977
  5. หนังสือครบรอบ 80 ปี มัสยิดบ้านฮ่อ ,2539 ผศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี
  6. เหนือขวัญ บัวเผื่อน (กันยายน–ธันวาคม 2560). วัฒนธรรมการสืบทอดภาษาของชาวไทยเชื้อสายจีน ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย (PDF). Dusit Thani College Journal (11:3). p. 289. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-15.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  7. "จีนยูนาน หรือ จีนฮ่อ | Royal Project Foundation". www.royalprojectthailand.com.
  8. แอนเดอร์สัน, EN (1988). อาหารของจีน (ภาพประกอบ พิมพ์ซ้ำ ปรับปรุงแก้ไข) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล. หน้า 91, 178, 207. ISBN [[1]]. สืบค้นเมื่อ24 เมษายน 2557
  9. "คุ้มนายพล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-29.
  10. "แอ่วกาดฮ่อ ตลาดจีนฮ่อ เชียงใหม่ จากเว็บพันทิป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-23.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ฮ่อ
  12. China's Muslim Hui Community