เว้
เว้ (เวียดนาม: Huế เฮฺว้; จื๋อโนม: 化) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเถื่อเทียนเว้ ประเทศเวียดนาม และเคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียนช่วงปี พ.ศ. 2345–2488 มีชื่อเสียงจากโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วเมือง จำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 340,000 คน
หมู่โบราณสถานเมืองเว้ * | |
---|---|
![]() | |
![]() สุสานจักรพรรดิขาย ดิ่ญ | |
พิกัด | 16°28′00″N 107°34′45″E / 16.46667°N 107.57917°E |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iv) |
อ้างอิง | 678 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2536 (คณะกรรมการสมัยที่ 17) |
พื้นที่ | 315.47 ha |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
สภาพทางภูมิศาสตร์ แก้
เมืองเว้ตั้งอยู่ในเวียดนามตอนกลาง ริมฝั่งแม่น้ำหอม ถัดเข้ามาในแผ่นดินจากริมฝั่งทะเลจีนใต้เพียง 2–3 ไมล์ ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ประมาณ 540 กิโลเมตร และห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางเหนือประมาณ 644 กิโลเมตร
ข้อมูลภูมิอากาศของเว้ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 34 (93) |
36 (97) |
38 (100) |
40 (104) |
39 (102) |
40 (104) |
40 (104) |
40 (104) |
38 (100) |
35 (95) |
35 (95) |
32 (90) |
40 (104) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 23 (73) |
24 (75) |
27 (81) |
30 (86) |
33 (91) |
34 (93) |
34 (93) |
34 (93) |
31 (88) |
28 (82) |
26 (79) |
23 (73) |
28.9 (84) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 20 (68) |
21 (70) |
23 (73) |
26 (79) |
28 (82) |
29 (84) |
29 (84) |
29 (84) |
27 (81) |
25 (77) |
23 (73) |
20 (68) |
25 (77) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 17 (63) |
18 (64) |
20 (68) |
22 (72) |
23 (73) |
25 (77) |
25 (77) |
24 (75) |
23 (73) |
22 (72) |
20 (68) |
18 (64) |
21.4 (70.5) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 8 (46) |
11 (52) |
12 (54) |
13 (55) |
17 (63) |
21 (70) |
20 (68) |
21 (70) |
18 (64) |
16 (61) |
12 (54) |
11 (52) |
8 (46) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 180 (7.09) |
90 (3.54) |
60 (2.36) |
60 (2.36) |
80 (3.15) |
90 (3.54) |
50 (1.97) |
130 (5.12) |
500 (19.69) |
680 (26.77) |
640 (25.2) |
370 (14.57) |
2,930 (115.35) |
ความชื้นร้อยละ | 87 | 87 | 84 | 79 | 74 | 69 | 67 | 70 | 79 | 84 | 84 | 86 | 79.2 |
แหล่งที่มา: Weatherbase |
สถานที่ท่องเที่ยว แก้
ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำคือที่ตั้งของพระราชวัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของย่านประวัติศาสตร์ โบราณสถานและวัดสำคัญส่วนใหญ่ในเมืองเว้จะตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำจะเป็นเมืองใหม่ ซึ่งมีย่านธุรกิจและที่พักอาศัยมากมาย
สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเว้ส่วนใหญ่จะเป็นป้อมปราการ พระราชวังหลวง และสุสานจักรพรรดิ
หมู่โบราณสถานในเมืองเว้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2536
เว้เป็นเมืองที่เงียบสงบและน่าค้นหา มีบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเกิดที่เมืองนี้ หรือได้เคยมาเยือนเมืองนี้ ปัจจุบันเว้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเวียดนาม
ประวัติศาสตร์ แก้
แรกเริ่มนั้นเว้เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์เหงียน ซึ่งปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียดนามตอนใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-19
เว้มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปี พ.ศ. 2488 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนามทรงสละราชสมบัติ และมีการก่อตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ทางตอนเหนือของเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงได้รับการช่วยเหลือจากชาวฝรั่งเศสในอาณานิคม และทรงก่อตั้งเมืองหลวงใหม่ คือ ไซ่ง่อน ทางใต้ของประเทศ
ในช่วงสงครามเวียดนาม เว้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับอาณาเขตระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยเว้อยู่ในอาณาเขตของเวียดนามใต้ ในปี พ.ศ. 2511 ตัวเมืองได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะโบราณสถานหลายแห่งที่ระดมยิงและถูกระเบิดจากกองทัพอเมริกัน แม้หลังสงครามสงบลงแล้ว เหล่าโบราณสถานก็ยังไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ เนื่องจากถูกกลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์และชาวเวียดนามบางส่วนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบอบศักดินาในอดีต แต่หลังจากที่แนวคิดทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป ก็เริ่มมีการบูรณะโบราณสถานบางส่วนมาจนถึงปัจจุบัน
มรดกโลก แก้
เมืองเว้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 เมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่เมืองการ์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ