มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (อังกฤษ : Udon Thani Rajabhat University, อักษรย่อ: มร.อด. – UDRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูอุดรธานี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ วิทยาลัยครูอุดรธานีจึงได้ยกฐานะเป็น สถาบันราชภัฏอุดรธานีและเปลี่ยนประเภทเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยขยายการศึกษาออกไปเพื่อจัดตั้งเป็น (ม.ใหม่) ที ศูนย์การศึกษาสามพร้าว ตำบลสาพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี ห่างจากพื้นที่เดิมประมาณ 15 กิโลเมตร

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมร.อด. / UDRU
คติพจน์ผู้นำทางปัญญา พัฒนาคน พัฒนาชาติ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (20 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณิศรา ธัญสุนทรกุล
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณิศรา ธัญสุนทรกุล
ผู้ศึกษา19,121 คน[1] (ปีการศึกษา 2563)
ที่ตั้ง
ส่วนกลาง
เลขที่ 64 ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000

ส่วนขยาย
เลขที่ 234 หมู่ที่ 1 ถนนบ้านเหล่า - ดอนกลอย ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ศุนย์ฯ บึงกาฬ
เลขที่ 285 หมู่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
สี██ สีเขียว
██ สีเหลือง
เว็บไซต์www.udru.ac.th

ประวัติ

แก้

ยุคแรก : ก่อกำเนิดนามโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑล

แก้

แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร”[2] มีสถานที่ตั้งเดิมอยู่ที่บริเวณสโมสรเสือป่ามณฑลอุดร (ตรงบริเวณถัดไปจากทุ่งศรีเมืองอุดร)เป็นที่ตั้งชั่วคราว มีราชบุรุษเพิ่ม การสมศีล ทำหน้าที่แทนครูใหญ่ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมณฑล โดยรับนักเรียนชายที่จบประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี นักเรียนเหล่านี้เป็นนักเรียนทุนจากจังหวัดต่าง ๆ ในมณฑลอุดร ต่อมาไม่นานจึงมีการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรบริเวณห้วยโซ่ (พื้นที่ในปัจจุบัน) บนพื้นที่ประมาณ 350 ไร่

ยุคที่ 2 : ยุบ ย้าย รวมตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี

แก้

โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑลอุดร” แต่ทำการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมณฑลเช่นเดิม

  • ปี พ.ศ. 2473 ทางการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรมณฑลอุดรขึ้น รับนักเรียนสตรีที่สอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษา เข้าเรียนต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมณฑล
  • ปี พ.ศ. 2477 ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี และเปิดรับนักเรียนชายเข้าเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรจังหวัด
  • ปี พ.ศ. 2475 ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ได้มีการยุบมณฑลอุดรให้เป็นจังหวัดอุดรธานี จึงมีผลทำให้โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑลอุดร เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุดรธานี”
  • ปี พ.ศ. 2482 มีประกาศกระทรวงธรรมการยุบโรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุดรธานี โอนไปสังกัดโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุดรธานี กรมสามัญศึกษา กระทรวงธรรมการ เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาพิเศษ 1 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 เข้าศึกษาต่อเพื่อส่งไปเป็นครูในท้องถิ่นทุรกันดาร เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
  • ปี พ.ศ. 2491 กรมสามัญศึกษาได้ส่งสำเนาประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งเรื่องการเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดอุดรธานี เป็น โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี
  • ปี พ.ศ. 2501 กรมการฝึกหัดครูได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่ง ย้ายโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูอุดรธานี มารวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานีและให้ใช้ชื่อเรียกรวมกันว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี” และแต่งตั้งให้ นายศิริ สุขกิจ ศึกษานิเทศก์เอกมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

ยุคที่ 3 : วิทยาลัยครูอุดรธานี

แก้

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานีเป็น “วิทยาลัยครูอุดรธานี”[3] พร้อมกับเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และหลักสูตรปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู โดยกำหนดในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ 2518 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

ให้วิทยาลัยครูอุดรธานีเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักศึกษาถึงระดับปริญญาตรีในสาขาครุศาสตร์ หลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู

— พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  • ปี พ.ศ. 2519 จัดตั้งคณะวิชาครุศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ และคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ปี พ.ศ. 2520 วิทยาลัยครูอุดรธานีได้ร่วมกับวิทยาลัยครูอีก 7 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินงานต่าง ๆ ร่วมกันในนามกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2528 มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 กำหนดให้วิทยาลัยครูรวมกันเป็นกลุ่มและสภาฝึกหัดครูได้ออกข้อบังคับว่าด้วยกลุ่มวิทยาลัยครู พ.ศ. 2528 เป็นผลให้วิทยาลัยครู 4 แห่งในภาคอีสานตอนบนรวมกันเป็น "สหวิทยาลัยอีสานเหนือ" มีสำนักงานตั้งอยู่ที่วิทยาลัยครูอุดรธานีและผลจากการแก้ไขพระราชบัญญัตินี้เอง วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาและได้จัดตั้งคณะวิทยาการจัดการขึ้นอีกคณะหนึ่งเพิ่ม

ยุคที่ 4 : นามพระราชทาน "สถาบันราชภัฏอุดรธานี"

แก้

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[4] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยครูอุดรธานี เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันราชภัฏอุดรธานีตั้งบัดนัน ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏเป็นล้นพ้นด้วยทรงพระเมตตา ทรงรพระกรุณาโปรดกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็น “สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ” นับเป็นมหาสิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏทั้งมวลจักได้ภาคภูมิใจ และพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณให้เต็มความสามารถในอันที่จะพัฒนาสถาบันราชภัฏให้เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

สถาบันราชภัฏอุดรธานีได้เปิดสอนในสาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ตามหลักสูตรวิทยาลัยครู (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2536) และปรับปรุง พ.ศ. 2543 ในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และมีภารกิจตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

มาตรา 7 “ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบัน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัยให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

— พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

ยุคที่ 5 : มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

แก้

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547[5] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้สถาบันราชภัฏอุดรธานี ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา บนพื้นที่ทั้งหมด 237 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา ซึ่งเหลือจากการแบ่งส่วนให้หน่วยงานราชการอื่น ๆ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีภารกิจและปณิธานตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

มาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

— พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

ยุคปัจจุบัน : ขยายการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

แก้

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งรับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และพันธกิจในการพัฒนาบุคลากร ในสาขาอาชีพต่างๆ มหาวิทยาลัยได้คำนึงถึงการกระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ขยายการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง กล่าวคือ

เมื่อปี พ.ศ. 2547 [6]ได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ" ในเขตอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ) โดยวัตถุประสงค์การจัดตั้งนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหน้าที่ดังกล่าวบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

และต่อมาปี พ.ศ. 2549 [7]สภามหาวิทยาลัยฯ ได้อนุมัติโครงการขยายมหาวิทยาลัยฯ บนพื้นที่ใหม่ ณ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการความรู้ การฝึกอบรม การศึกษาวิจัย รวมถึงการขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ชื่อว่า "โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาสามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี" ตั้งอยู่บนพี้นที่สาธารณประโยชน์บริเวณโคกขุมปูน หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บนพื้นที่ 2,090 ไร่ ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ซึ่งมีโครงการก่อสร้างอาคารและพัฒนาสถานที่ให้กลายเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการวิจัย และพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัย สร้างองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ท้องถิ่นชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกในอนาคต

นอกจากนี้  ยังมีโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Parks) เพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข การแพทย์และพยาบาล การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ศูนย์ศึกษาพันธุ์ไม้พื้นเมือง และอาคารโรงพยาบาล เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษา และให้บริการท้องถิ่นชุมชนในอนาคต

การศึกษา

แก้

หน่วยงานภายใน

แก้
  • สำนักงานอธิการบดี
    • กองนโยบายและแผน
    • งานประกันคุณภาพการศึกษา
    • ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
    • กองบริหารงานบุคคล
    • กองพัฒนานักศึกษา
    • กองกลาง
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ศูนย์วิทยบริการ
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • ศูนย์ภาษา
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
    • ศูนย์วิทยาศาสตร์
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สำนักวิชา

แก้

คณะ

แก้

โรงเรียนสาธิต

แก้

ศูนย์การศึกษา

แก้

เป็นวิทยาเขตแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งมีที่ตั้งนอกเขตจังหวัดตั้งอยู่พื้นที่ จังหวัดบึงกาฬ

การวิจัย

แก้

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [8]ได้นำผลงานวิจัยไปจัดแสดงในงาน “มหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)” ซึ่งได้ขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ โดยการจัดงานครั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.00 น. และทรงเสด็จพระราชดำเนินชมนิทรรศการภายในงาน โดยทรงให้ความสนพระทัยในบูทนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สร้างความปลื้มปิติแก่ชาวราชภัฏอุดรธานีเป็นล้นพ้น

โดยในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้นำผลงานวิจัยไปจัดแสดงรวม 2 ผลงาน ได้แก่

  • ผลงานวิจัยเพื่อผลิตน้ำนมคุณภาพอย่างยั่งยืน : การใช้นวัตกรรมอาหารสัตว์ท้องถิ่น และเทคนิคการตรวจและรักษาโรคเต้านมอักเสบในฟาร์มโคนมเพื่อผลิตน้ำนมคุณภาพอย่างยั่งยืน

โดยคณะวิจัย  ผศ.ดร.น.สพ.ฤทธิชัย พิลาไชย , สพ.ญ.ปราณปรียา คำมี , ผศ.สุดาวรรณ ชื่นปรีชา , ดร.น.สพ.ยศวริศ เสมามิ่ง และ น.สพ.ธีระกุล นิลนนท์ : สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

  • ผลงานวิจัย การใช้ใบและหัวมันสำปะหลังหมักเป็นอาหารโคนมเพื่อผลิตคุณภาพน้ำนมดิบคุณภาพ

โดยคณะวิจัย  ผศ.ดร.น.สพ.ฤทธิชัย พิลาไชย , ผศ.ดร.อนันต์ เพชรล้ำ , ผศ.ดร.นิราวรรณ กุนัน , ดร.วลัยลักษณ์ แก้ววงษา , ดร.ภัทยา นาประเสริฐ , อ.วีระชัย ทองดี และ อ.เยาวพล ชุมพล : สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ , สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช , ศูนย์วิจัยและพัฒนาท้องถิ่น บ้านตาด คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

พื้นที่มหาวิทยาลัย

แก้

พื้นที่เก่าในเมือง

แก้
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นการอาคารที่มีลักษณะเด่น เมื่อมองเข้ามายังมหาวิทยาลัยฯ จะมองเห็นเด่นชัด มีความสูง 15 ชั้น ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำหรับการบริหารงานของมหาวิทยาลัย และหอประชุมขนาดเล็กและปานกลางจำนวนหลายห้อง โดยเป็นที่ทำการของสำนักงานอธิการบดี

  • หอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นสถานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยฯ เป็นศูนย์การจัดการแสดงเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยฯ และความเป็นมาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งความเป็นมาและความเป็นอยู่ อาชีพ รูปภาพเก่า ของจังหวัดอุดรธานีด้วย จะเปิดให้เข้าเยี่ยมชมได้เฉพาะเป็นกรณีพิเศษ เช่น จัดงานวันสถาปนา งานวันวิทยาศาสตร์-ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ เป็นต้น

  • หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือเหล่านักศึกษานิยมเรียกว่า "อาคารกิจการนักศึกษา" เป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 ชั้น โดยมีหอประชุมขนาดใหญ่ในบริเวณชั้น 2 ขนาดบรรจุได้ 5,000 ที่นั่ง ส่วนบริเวณชั้นล่างเป็นที่ทำการของส่วนงานกิจการนักศึกษา อาทิเช่น กองพัฒนานักศึกษา องค์การนักศึกษา เป็นต้น ลักษณะอาคารเป็นแบบบ้านชั้นเดี่ยวแต่มีหน้าจั่ง 2 ทิศทั้งด้านหน้าและด้านข้างด้านขาวหากมองด้านหน้าของตัวอาคาร โดยมีทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยฯ ไปสู่ตัวเมืองอุดรธานี ด้านข้างหอประชุมฯ ด้วย ส่วนหอประชุมชั้น 2 มีทางขึ้น-ลง 4 มุมอาคาร และทางลาดขนาดใหญ่สำหรับยานพาหนะทางด้านข้าง

  • สนามกีฬาใหม่

สนามกีฬาใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานและมีลู่วิ่งรอบสนาม เมื่อปี พ.ศ. 2560 สโมรสฟุตบอลจังหวัดอุดรธานี (อุดรธานี เอฟซี) ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสร[9]

พื้นที่ใหม่สามพร้าว

แก้
  • หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว)

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) เป็นโครงการก่อสร้างหอประชุมนานาชาติและใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในอนาคต) และเพื่อให้ประชาชนพร้อมด้วยชุมชนใช้ประโยชน์ในการจัดสัมนาฯ หรือประชุม รวมถึงการจัดแสดงสินค้าต่างๆ

การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากดอกทองกวาว ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุดรธานีและประจำมหาวิทยาลัยฯ เนื่องจากตัวอาคารมีความลาดโค้งหลายระดับ และปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วเมื่อปลายี พ.ศ. 2559 กิจกรรมที่จัดภายในหอประชุมใหญ่ ได้แก่ พิธีไหว้ครู ประจำปี 2563 และการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48

  • อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 เป็นอาคารเรียนรวมและตึกบริหารของมหาวิทยาลัย ที่จะย้ายออกไปทำการในพื้นที่ใหม่สามพร้าวในอนาคต เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี โดยมีแรงบบันดาลใจมาจากไหบ้านเชียง แหล่งมรดกโลกของชาวจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันใช้เป็น "สำนักบริหารงานมหาวิทยาลัย ส่วนสามพร้าว" และห้องเรียนรวมของนักศึกษา

  • อาคารกลุ่มเทคโนโลยี

อาคารกลุ่มเทคโนโลยี หรือเรียกอีกอย่างว่า "อาคาร TB" อาคารกลุ่มเทคโนโลยี TB เหล่านี้เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นช่วงแรกๆ ในโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยออกไปสู่ตำบลสามพร้าว โดยสร้างแล้วเสร็จประมาณราวปี พ.ศ. 2551 และรับนักศึกษาเข้าศึกษาในพื้นที่อาคารเมื่อปีการศึกษา 2553 และนิยมเรียกนักศึกษารุ่นนี้ว่า "ดอกเห็ดช่องที่ 1" ต่อมาเหล่านักศึกษารุ่นหลังก็ถูกนับเรียงชื่อดอกเห็ดเป็นรุ่นๆ ตามกันมา ปัจจุบันอาคารกลุ่มเทคโนโลยี TB มีทั้งหมด 6 อาคาร โดยกลุ่มตัวอาคารเป็นสีขาว คือ

(1) อาคาร TB1 เป็นอาคารตึก 2 ชั้นอยู่ทางบริเวณด้านหลังอาคาร TB2 โดยมีทางเชื่อมไปมาถึงกันได้บริเวณทางด้านหลังของอาคาร TB2 ชั้น 2 ปัจจุบันอาคาร TB1 ใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1-4 คณะเทคโนโลยี

(2) อาคาร TB2 เป็นอาคารตึก 4 ชั้นอยู่ทางทิศใต้ของถนนภายในมหาวิทยาลัยโดยมุ่งหน้าไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง ปัจจุบัน อาคาร TB2ใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1-4 คณะเทคโนโลยี

(3) อาคาร TB3 เป็นอาคารขนาดใหญ่ 4 ชั้นกว้างขวาง อยู่ตรงข้ามอาคาร TB2 ทางทิศเหนือของถนนภายในมหาวิทยาลัยโดยมุ่งหน้าไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง ปัจจุบันชั้นล่าง เป็นศูนย์อาหารและเคยเป็นอดีตศูนย์บริหารงานของมหาวิทยาลัย อาทิเช่น งานคลัง งานทะเบียน งานบริหารมหาวิทยาลัย(ส่วยย่อย) เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งขยายพื้นที่โดยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่ใหม่สามพร้าว โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่พื้นที่เก่าในเมือง และส่วนด้านในยังเป็น "สำนักงานคณบดี" ของคณะเทคโนโลยีด้วย (ปัจจุบันย้ายไปที่อาคารวิศวกรรมศาสตร์ฯ) ส่วนชั้น 2 - 4 เป็นส่วนห้องเรียนขนาดใหญ่ และภายในชั้น 4 ยังแบ่งส่วนเป็นหอประชุมขนาด 300 ที่นั่ง

(4) อาคาร TB4 เป็นอาคารตึก 4 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังอาคาร TB3 โดยมีทางเชื่อมไปมาถึงกันได้บริเวณทางด้านหลังของอาคาร TB3 ทุกชั้น ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำหรับเรียนรวมในวิชาพื้นฐานและวิชาทั่วไปของคณะเทคโนโลยี

(5) อาคาร TB5 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังอาคาร TB3 ถัดจากอาคาร TB4ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีทุกสาขาวิชา

(6) อาคาร TB6 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังสุดของอาคาร TB4 ถัดจากอาคาร TB5 ไป ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษากลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์

(7) อาคาร TB7 เป็นอาคารชั้นเดียว รูปทรงโมเดิร์น 2 หลังหันหน้าเข้าหากัน อยู่ทิศตะวันตกของอาคาร TB4 และ TB5 ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนของนักศึกษาสาชาวิชาโยธาสถาปัตยกรรม

(8) อาคารเทคโนโลยีสื่อสาร เฉลิมพระเกียรติฯ เดิมชื่อว่า อาคารวิศวกรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2561 เป็นอาคารสีน้ำตาลเข้มพร้อมลวดลายผ้าหมี่ขิด ซึ่งเป็นลายผ้าประจำจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันอาคารปฏิบัติการและที่ตั้ง "สำนักงานคณบดี" ของคณะเทคโนโลยี

(9) อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีการอาหาร เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่ทางทิศเหนือสุดของกลุ่มอาคารเทคโนโลยีหันหน้าตรงข้ามกับอาคารเทคโนโลยีสื่อสาร เฉลิมพระเกียรติฯ ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษากลุ่มวิชาอาหารและบริการ

(10) อาคารปฏิบัติการทางเกษตร เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้สำหรับฝึกปฏิบัติงานของกลุ่มวิชาเกษตร ได้แก่ อาคารจรรยาบรรณสัตว์ทดลอง ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมฯ โรงเรือนฝึกปฏิบัติการธุรกิจการเกษตร โรงเรือนฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และฟาร์มฮัก

(11) อาคารปฎิบัติการครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นอาคารห้องโถงฝึกปฏิบัติการนักศึกษากลุ่มวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารเทคโนโลยีสื่อสาร เฉลิมพระเกียรติฯ ด้านซ้ายทอดยาวคู่ขนานกัน

  • อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์

อาคารกลุ่มวิทยาศาตร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า "อาคาร ScB" อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ ScB เหล่านี้เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นช่วงที่สองของโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยออกไปสู่ตำบลสามพร้าว โดยเริ่มโครงการสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2552 โดยสร้างอาคาร ScB1 ขนาดใหญ่ของกลุ่มขึ้นก่อนแล้วสร้างอาคารอื่นๆ ตามลำดับถัดมา ปัจจุบันอาคารอาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ ScB พวกนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยมีอาคารทั้งหมด 4 อาคารโดยกลุ่มตัวอาคารเป็นสีฟ้า-ขาว คือ

(1) อาคาร ScB1 เป็นอาคารขนาดใหญ่ 6 ชั้นกว้างขวางมีพื้นทีมาก ติดถนนภายในทางด้านทิศตะวันออก นับถัดจากอาคาร ScB2 ถัดไป เป็นโครงการย้ายคณะวิทยาศาสตร์จากพื้นที่เก่าในเมืองที่คับแคบออกไปดำเนินการเรียนการสอน โดยในอนาคตจะเป็นที่ตั้งสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนทางสายวิทยาศาสร์สุขภาพมากขึ้นในลำดับถัดไป โดยปัจจุบันเใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวมและที่ทำการ "สำนักงานคณบดี" คณะวิทยาศาสตร์

(2) อาคาร ScB2 เป็นอาคารตึก 6 ชั้นตรงสูง ติดถนนภายในทางด้านทิศตะวันออก จะเจอตัวอาคารนี้ก่อนตัวอาคารอื่นๆ ในกลุ่มทั้งหม โดยภายในมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1-4 คณะวิทยาศาสตร์

(3) อาคาร ScB3 เป็นอาคารตึก 5 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของตัวอาคาร ScB2 ถัดไปโดยมีทางเชื่อมระหว่างกันทุกๆชั้น และภายในมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1-4 คณะวิทยาศาสตร์

(4) อาคาร ScB4 เป็นอาคารตึก 5 ชั้น อาคารนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านในสุดของกลุ่มอาคาร ซึ่งอยู่ด้านหลังของตัวอาคาร ScB3 ถัดไป ส่วนด้านหลังของอาคารนี้จะมองเห็นกลุ่มอาคารเทคโนโลยี TB ด้วย โดยอยู่ห่างกันไม่มากนัก ส่วนด้านภายในอาคารมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนและที่ทำการ "สำนักงานคณบดี" คณะพยาบาลศาสตร์

  • อาคารกลุ่มสังคมมนุษย์

(1) อาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและภาษาอาเซียน เป็นอาคารขนาดใหญ่ 5 ชั้น พร้อมอาคารลูกด้านหน้า 2 ชั้น ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2561 ติดถนนภายในมหาวิทยาลัยทางไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง โดยอาคารมีลักษณะเด่นคือตัวอาคารมีสีส้ม-ขาว เอกลักษณ์ลายลวดผ้าหมี่ขิดด้านหน้าอาคาร ปัจจับันใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาและที่ทำการ "สำนักงานคณบดี" คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

(2) อาคาร PL หรือ ชื่อเต็มว่า "Public Administration and Law นิติรัฐประศาสนศาสตร์" ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2562 เป็นอาคารขนาด 4 ชั้นยกใต้ถุนสูง อยู่ถัดไปจากอาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและภาษาอาเซียน โดยมีสีดำ-ขาว พร้อมลายลวดผ้าหมี่ขิดด้านหน้าอาคาร ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนของสาขาวิชานิติศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • อาคารกลุ่มที่พักอาศัย

(1) บ้านพักคณาจารย์

(2) หอพักบุคลากร

(3) หอพักนักศึกษา

  • ศูนย์วิทยบริการ

เป็นพื้นที่ห้องสมุด สื่บค้นข้อมูลทางการศึกษา และห้องประชุมกลุ่มเล็กของนักศึกษา

  • สนามกีฬากลาง

สถนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) เป็นสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้งของนักศึกษาในพืนที่ใหม่สามพร้าว และยังเป็นที่จัดกิจกรรม นันทนาการต่างๆมากมาย เช่น การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48

วันสำคัญ

แก้

วันสถาปนา

แก้

ทุกวันที่ 1 พฤศจิกายน [10]ของทุกปี นับว่าเป็น "วันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี" โดยมหาวิทยาลัยจะจัดพิธีทำบุญตักบาตรบริเวณลานหน้าหอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อความเป็นสิริมงคล และรำลึกถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ที่มีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมลฑลอุดร เมื่อปี พ.ศ. 2466  จากนั้นได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูอุดรธานี  สถาบันราชภัฏอุดรธานี  จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้สถาบันราชภัฏอุดรธานี ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” ตั้งแต่นั้นมา

วันราชภัฏ

แก้

ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ [11]ของทุกปี เป็น “วันราชภัฏ” สืบเนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูอุดรธานี และวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจึงถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีด้วยเช่นกัน[12]

คำว่า “ราชภัฏ” ให้ความหมายที่กินใจความว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”

เนื่องในวันราชภัฎ[13] ในทุกๆ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่างๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ “ชาวราชภัฎ” หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฎจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดิ์ดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุกๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฎคือ “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

วันวิทยาศาสตร์ - ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ

แก้

ทุกปีสัปดาห์วิทยาศาสตร์ไทย ช่วงระหว่าง 15-20 สิงหาคมทุกปี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จะจัดงานวันวิทยาศาสตร์ – ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ[14] เป็นประจำเพื่อให้ความรู้และวิทยาการแก่ประชาชนในพื้นที่  อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจทางด้านวิชาการ เป็นการเปิดโลกทัศน์สู่คลังความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากนี้ ยังเป็นการเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง

ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการ ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมของนักศึกษา งานวิจัยต่างๆ การแนะนำสาขาวิชา การบรรยายทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ ประกวดสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติฯ การตอบปัญหาอาเซียน การประกวดสุนัขไทยหลังอานและแมว ประกวดไก่พื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์ การออกร้านจำหน่ายสินค้า อาหาร การประกวดกล้วยไม้ การแสดงดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม นิทรรศการเทิดพระเกียรติ  นิทรรศการผ้าไทย  การเดินแฟชั่นผ้าไทย นิทรรศการจากศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ,นิทรรศการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ , คลินิกเทคโนโลยี , ประกวด Science Show , แข่งขันตอบปัญหา – ทักษะทางวิทยาศาสตร์ , สาธิตการใช้พลังงานทดแทน, จักรยานติดเครื่องยนต์ รถล้อเดียว , การประกวดหุ่นยนต์, บริษัททัวร์จำลอง Happiness Travel , บรรยาย-เสวนา ทางวิชาการ , การสอนผลิตสื่อการเรียนการสอนและโครงงานนักศึกษา , การแต่งกายชุดประจำชาติอาเซียน ประกวดร้องเพลง เทศกาลอาหารนานาชาติ  เป็นต้น

นอกจากนี้  ยังมีกิจกรรมการประกวด แข่งขัน ทักษะทางวิชาการต่างๆ อาทิ การแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย  , แข่งขันต่อศัพท์อักษรไขว้ภาษาอังกฤษ , แข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ,ประกวดวาดภาพ ,  เลือกซื้อหนังสือ สินค้าโอท็อป , กิจกรรมบันเทิงและการแสดงศิลปวัฒนธรรม ณ เวทีกลาง  และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชนจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ให้ความสนใจเข้าร่วมชมงานอย่างคับคั่ง ตลอดการจัดงาน

 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

แก้
  • ปี พ.ศ. 2548 [15]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[16]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปี พ.ศ. 2547-2559 [17]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 10 (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[18]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ประจำปี ผู้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สถานที่ หมายเหตุ
รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
พ.ศ. 2526

(17-20,22-25,27 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูอุดรธานี-วิทยาลัยครูทั่วประเทศ
พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2537 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร หอประชุมมหาวชิราลงกรณ สถาบันราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏอุดรธานี-สถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2548[20] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี[21] เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2559[22] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร[23]
ประจำปี ผู้เสด็จพระราชดำเนินฯ สถานที่ หมายเหตุ
รัชสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
พ.ศ. 2560 - 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2563 [24] สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
พ.ศ. 2564 - 2566[25] นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีผู้แทนพระองค์มอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2567 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หอประชุมราชภัฏรังสฤษฏ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ประธานองคมนตรีผู้แทนพระองค์มอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ครุยวิทยฐานะ

แก้

ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีลักษณะคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา ลักษณะเป็นครุยเนื้อผ้าโปร่งสีขาวมีแทบสีเขียว-เหลือง-ทอง-น้ำเงิน และแทบสีคณะอยู่ตรงกลาง

สีแถบประจำคณะ

  •   สีฟ้า = คณะครุศาสตร์
  •   สีเหลือง = คณะวิทยาศาสตร์
  •   สีชมพู = คณะวิทยาการจัดการ
  •   สีแสด = คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  •   สีแดง = คณะเทคโนโลยี
  •   สีเขียวไข่กา = คณะพยาบาลศาสตร์

ลักษณะครุยวิทยะฐานะ

แก้
  • ดุษฎีบัณฑิต [26]

มาตรา 4 (1) เป็นเสื้อคลุมทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณแขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือ ปลายแขนปล่อย มีสำรดรอบขอบ สำรดต้นแขน และสำรดปลายแขน โดยพื้นสำรดทำด้วยผ้าสักหลาดสีน้ำเงิน กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ที่ริมทั้งสองข้าง เว้นระยะห่าง 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้างทาบแถบสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร เว้นระยะห่าง 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ทาบแถบสีทอง กว้าง 0.5 เซนติเมตร ตอนกลางสำรดเป็นแถบสีเขียว กว้าง 3 เซนติเมตร และมีแถบสีประจำคณะ กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 3 แถบ ระยะห่างระหว่างแถบสีประจำคณะ 0.5 เซนติเมตร อยู่กลางสำรด และมีตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ทำด้วยโลหะดุนนูนสีเงิน สูง 4 เซนติเมตร ติดบนสำรดรอบขอบด้านหน้าอกทั้งสองข้าง

— พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2552
  • มหาบัณฑิต

มาตรา 4 (2) เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต เว้นแต่ตอนกลางสำรดรอบขอบ สำรดต้นแขน และสำรดปลายแขน มีแถบสีประจำคณะ กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 2 แถบ ระยะห่างระหว่าง แถบสีประจำคณะ 0.5 เซนติเมตร

— พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2552
  • บัณฑิต

มาตรา 4 (3) เช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต เว้นแต่ตอนกลางสำรดรอบขอบ สำรดต้นแขน และสำรดปลายแขน มีแถบสีประจำคณะ กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 1 แถบ

— พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2552

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้
ทำเนียบผู้บริหาร ในอดีต - ปัจจุบัน[27]
รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1.ขุนประสม คุรุการ (ชื้น เชษฐสมุน) ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมลฑลอุดร 6 ก.ค.2471 - 10 ม.ค.2495
2.อาจารย์ อมร วรรณิสร ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 10 ม.ค.2495 - 1 ต.ค. 2495
3.อาจารย์ จำนงค์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 1 ต.ค.2495 - 1 พ.ค.2501
4.อาจารย์ ศิริ สุขกิจ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 1 พ.ค.2501 - 1 ก.ค. 2501
5.อาจารย์ บุญจันทร์ วงศ์รักมิตร อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 1 ก.ค.2502 - 12 ต.ค. 2515
6.อาจารย์ สกล นิลวรรณ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 12 ต.ค.2515 - 6 พ.ย. 2516
7.อาจารย์ สุวิช อำนาจบุดดี ผู้อำนวยการ (รักษาการ) วิทยาลัยครูอุดรธานี 6 พ.ย.2516 - 14 พ.ย. 2517
8.อาจารย์ ทวี ห่อแก้ว อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 14 พ.ย.2517 - 23 มี.ค. 2520
9.ดร.วิชัย แข่งขัน อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 23 มี.ค.2520 - 1 ต.ค. 2523
10.รองศาสตราจารย์ ดร. จารึก เพชรจรัส อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 1 ต.ค.2523 - 17 ก.ค. 2529
11.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนทร คำโตนด อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 17 ก.ค.2529 - 16 ก.ค. 2537
12.ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.พล คำปัวสุ อธิการบดี สถาบันราชภัฏอุดรธานี 27 ก.ย.2537 - พ.ศ. 2542
13.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี สถาบันราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2542 - 8 ก.ค. 2546 (วาระที่ 1)
14.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร โฆสิระโยธิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 7 ก.ค.2546 - 12 ธ.ค. 2547
15.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 12 ธ.ค. 2547[28] - 12 ม.ค. 2552 (วาระที่ 2)
16.ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรักษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 13 ม.ค.2552 [29]- 8 พ.ค.2560[30]
17.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ม่วงปฐม อธิการบดี (รักษาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 9 พ.ค.2560 - 18 ธ.ค. 2560[31]
18.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 19 ธ.ค.2560[32] - 18 ธ.ค.2564 (วาระที่ 3)
19.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณิศรา ธัญสุนทรกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 19 ธ.ค.2564[33] - ปัจจุบัน

ทำเนียบนายกสภาฯ

แก้
ทำเนียบนายกสภาฯ ในอดีต - ปัจจุบัน [34]
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1.นายโกวิท วรพิพัฒน์ นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี 5 กันยายน 2542 - 23 กุมภาพันธ์ 2544
2. นายสงบ ลักษณะ นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี 24 กุมภาพันธ์ 2544 - 9 กันยายน 2546[35]
3. พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี 10 กันยายน 2546 - 16 มกราคม 2548 (วาระที่ 1)[36]
3. พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 17 มกราคม 2548 - 18 สิงหาคม 2551 (วาระที่ 2)[37]
4. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 19 สิงหาคม 2551 - 1 ธันวาคม 2554 (วาระที่ 1)
4. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 ธันวาคม 2554 - 23 มิถุนายน 2558 (วาระที่ 2)[38]
4. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 24 มิถุนายน 2558 - 27 ตุลาคม 2560 (วาระที่ 3)[39]
5. ดร.ชัยพร รัตนนาคะ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 10 พฤษภาคม 2561 - 24 ธันวาคม 2561 (ลาออก)[40]
6. ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ทำหน้าที่แทน) 25 ธันวาคม 2561 - 18 พฤศจิกายน 2561[41]
7. ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 18 พฤศจิกายน 2561 - ปัจจุบัน

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

แก้

ดูเพิ่มเติม การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ดังนี้

ระดับปริญญาตรี

แก้
  • ระบบโควตา[42] จะดำเนินการในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยแต่ละเขตพื้นที่จะดำเนินการรับสมัครเอง ซึ่งอาจจะมีการกำหนดคุณสมบัติการรับสมัคร วิธีการ และระยะเวลาในการคัดเลือกแตกต่างกัน
  • ระบบรับตรง[43] มหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการรับสมัครบุคคลที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฯ ในช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และดำเนินการสอบคัดเลือกเองในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี โดยผู้สมัครต้องมาสมัครด้ยตนเองที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น

ระดับปริญญาโท

แก้

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้กำหนดการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท[44] โดยรับสมัครสอบคัดเลือกจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกโดยตรง ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี

ระดับปริญญาเอก

แก้

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก[45] โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งจะรับสมัครสอบคัดเลือกพร้อมกันกับระดับปริญญาโท ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี

การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย

แก้

การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถือว่าเป็นการเดินทางมาได้หลากหลายทาง[46]

พื้นที่เก่าในเมือง

แก้
  • รถส่วนตัว

ขับมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุดรธานี เข้าตัวเมืองมา มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ติดห้าแยกวงเวียนอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

(1) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศเหนือ จ.หนองคาย ถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ ให้ตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(2) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 22 นิตโย ฝั่งทิศตะวันออก จ.สกลนคร ถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ ให้เลี้ยวขาวแล้วตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(3) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศใต้ จ.ขอนแก่น ถึงสี่แยกเลี่ยงเมือง (สีแยกบ้านจั่น) ให้ตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขซ้ายมือของท่านก่อนถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ

(4) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 210 ฝั่งทิศตะวันตก จ.หนองบัวลำภู ถึงสามแยกเลี่ยงเมืองก่อนถึงสนามบินนานาชาติอุดรธานี เลี้ยวขาวมาทางถนนเลี่ยงเมือง ถนนหมายเลข 216 เพื่อสะดวกต่อการเดินทางรถไม่หนาแน่นเท่าถนนเส้นภายในเมือง เมื่อถึงสี่แยกเลียงเมือง (สีแยกบ้านจั่น) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าเมือง แล้วตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขซ้ายมือของท่านก่อนถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ

  • รถขนส่งสาธารณะ

รถขนส่งสาธารณะ เส้นทางสาย บขส.เก่า จะจอดส่งผู้โดยสารก่อนเข้า บขส.เก่าทุกคัน บริเวรข้างมหาวิทยาลัยฯ ฝั่งวงเวียนกรมหลวงฯ

  • รถไฟ

เดินทางมายถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งจะอยู่ใจกลางเมืองอุดรธานี ห่างจากมหาวิทยาลัยฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วต่อรถขนส่งสาธารณะซึ่งวิ่งผ่านหน้ามหาวิทยาลัยฯ อาทิเช่น รถสองแถวสาย 6, 12, 15 ,22, 41, 44 เป็นต้น

  • ทางอากาศยาน

สามารถเดินทางมาลงที่สนามบินนานาชาติอุดรธานี ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยฯ พื้นที่เก่าในเมือง ระยะห่างประมาณ 5 กิโลเมตร

พื้นที่ใหม่สามพร้าว

แก้
  • รถส่วนตัว

ขับมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุดรธานี เข้าตัวเมืองมา มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่นอกตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออก บนทางหลวงชนบท หมายเลข 2410 (ถนนสามพร้าว-ดอนกลอย)

(1) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศเหนือ จ.หนองคาย ถึงสี่แยกเลี่ยงเมือง (สี่แยกรังสิณา) ให้เลี้ยวซ้ายตามถนนหมายเลข 216 ข้ามทางรถไฟมาจะถึงสี่แยกไฟแดงสามพร้าวให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2410 ให้ตรงไปผ่านสี่แยกอนามัยสามพร้าวไปประมาณ 6 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(2) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 22 นิตโย ฝั่งทิศตะวันออก จ.สกลนคร จะใช้เส้นทางมุงหน้าเข้าตัวเมืองแล้วเลือกใช้ตามที่กล่าวใน (3) ก็ได้ หรือใช้เส้นทางดังนี้ วิ่งมาถึงสี่แยกหนองหาน ให้เลี้ยงขาวเข้าตัวอำเภอหนองหาน ผ่านออกไปยังทางหลวงชนบท หมายเลข 2312 (ถนนหนองหาน-อำเภอเพ็ญ) โดยมุงหน้าไปยังอำเภอพิบูลย์รักษ์แต่ก่อนถึงตัวอำเภอพิบูลย์รักษ์ โดยเมื่อถึงสามแยกดอยกลอย (หมู่บ้านดอยกลอย) ให้เลี้ยวซ้ายไปยังทางหลวงชนบท หมายเลข 2410 (ถนนสามพร้าว-ดอนกลอย) มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ซ้ายมือของท่าน

(3) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศใต้ จ.ขอนแก่น ถึงสี่แยกเลี่ยงเมือง (สีแยกบ้านจั่น) ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 216 ข้ามทางรถไฟไป นับผ่านไปจนถึงไฟแดงที่ 3 จะถึงสี่แยกไฟแดงสามพร้าวให้เลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 2410 ให้ตรงไปผ่านสี่แยกอนามัยสามพร้าวไปประมาณ 6 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(4) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 210 ฝั่งทิศตะวันตก จ.หนองบัวลำภู ถึงสามแยกเลี่ยงเมืองก่อนถึงสนามบินนานาชาติอุดรธานี หากเลี้ยวซ้ายจะไปตามเส้นทางที่ (3) หากเลี้ยวซ้ายตรงไปจะเป็นไปตามเส้นทางที่กล่าวใน (1)

  • รถขนส่งสาธารณะ

รถขนส่งสาธารณะ ให้ลงถึง บขส.เก่า แล้วเดินออกมาด้านหน้า บขส. จะมีรถขนส่งสาธารณะสีแดง สาย 9 ถึงมหาวิทยาลัยฯ (สามพร้าว)

  • รถไฟ

เดินทางมายถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งจะอยู่ใจกลางเมืองอุดรธานี ต่อรถขนส่งสาธารณะมายังศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี ถนนด้านหน้าศูนย์การค้าฯ จะมีรถขนส่งสาธารณะสีแดง สาย 9 ถึงมหาวิทยาลัยฯ (สามพร้าว)

  • ทางอากาศยาน

สามารถเดินทางมาลงที่สนามบินนานาชาติอุดรธานี ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยฯ พื้นที่ใหม่สามพร้าว ระยะห่างประมาณ 20 กิโลเมตร

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

แก้

การเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีนั้นจะใช้เวลาในการเรียนต่างกันตามแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยฯ ยังแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จะต้องใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมาก เพราะแต่ละพื้นที่สังคมโดยรอบต่างกันสิ้นเชิง

  • พื้นที่เก่าในเมือง

นักศึกษาที่ทำการเรียนและใช้ชีวิตในพื้นที่เก่าในเมือง จะใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง เพราะพื้นที่นี้ตั้งอยู่ในกลางเมืองอุดรธานี

  • พื้นที่ใหม่สามพร้าว

นักศึกษาที่ทำการเรียนและใช้ชีวิตในพื้นที่ใหม่สามพร้าว จะเป็นนักศึกษาที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายสังคมชนบท เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ก่อสร้างใหม่ ในพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ ร่วมทั้งได้รับความร่มเย็นของพืชพรรณนาๆ ชนิดอีกด้วย บรรยากาศชวนให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสดีโดยพื้นที่นี้เป็นที่พื้นที่ขนาดกว้างใหญ่ พร้อมยังเป็นพื้นที่ที่ได้ให้บรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาและคณาจารย์อีกด้วย

กิจกรรมและประเพณีของมหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยฯ มีกิจกรรมต่างๆ ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมเพื่อที่จะได้พบปะและทำความรู้จักกันในระดับคณะและทั้งระดับมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งมีการจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี

  • ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [47]ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ เป็นประจำทุกปีในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ของทุกปีการศึกษาซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม โดยมีท่านอธิการบดี จะมากล่าวต้อนรับและให้โอวาทแก่นักศึกษาใหม่ ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษด้วย โดยจะมีนักศึกษาใหม่เข้าปฐมนิเทศอย่างพร้อมเพรียงเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย และชี้แจงให้นักศึกษาใหม่ได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา ตลอดจนข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

  • ประกวดเฟรชชี่คณะ

กิจกรรมการประกวดเฟรชชี่คณะ Faculty of Freshy นั้น เป็นการจัดประกวดเพื่อค้นหาตัวแทนของแต่ละคณะ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมการประกวดดาว-เดือน มหาวิทยาลัย UDRU Freshy ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกๆ ปี ก่อนการมีการจัดประกวดดาว-เดือน มหาวิทยาลัย UDRU Freshy ขึ้น 2-3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นงานระดับคณะ แต่ละคณะจะกำหนดการและสถานที่เองทั้งหมด โดยอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยฯ

  • ประกวดดาว-เดือน มหาวิทยาลัย

กิจกรรมการประกวดขวัญใจน้องใหม่[48]  UDRU  เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการรับน้องสร้างสรรค์  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์  เกิดความรักสามัคคีระหว่างเพื่อน และรุ่นน้อง รุ่นพี่  นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความรักและภูมิใจต่อสถาบันการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย

เมื่อกิจกรรมรับน้องมาถึงวาระสุดท้ายแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯ จะมีการจัดประกวดขวัญใจน้องใหม่ UDRU Freshy ทุกๆ ปี โดยจัดแบ่งเป็น 2 รอบ รอบความสามารถพิเศษและรอบตัดสิน โดยในแต่ละรอบจัดแบ่งการจัดงานออกเป็น 2 ครั้งในพื้นที่เก่า-ใหม่ หมุนวงเวียนกันไปทุกๆ ปีไม่ซ้ำกัน โดยจะมีผู้ผ่านการประกวดขวัญใจน้องใหม่ ทั้งชายและหญิง ซึ่งมาจากตัวแทนคณะของแต่ละคณะ รวม 15 คู่ 30 คน เข้าประกวด แสดงความสามารถพิเศษเน้นวัฒนธรรมท้องถิ่น และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่อหน้าคณะกรรมการ และมีการตัดสินอีกครั้งในการจัดรอบตัดสิน รวมทั้งจัดมินิคอนเสริ์ตจากศิลปินต่าง ๆ มากมายแต่ละปีก็หมุนเวียนกันไปมา อาทิเช่น วง Tattoo Color วงของนักศึกษามหาวิทยาลัยฯ เป็นต้น ซึ่งบรรยากาศการประกวดเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักศึกษารุ่นพี่รุ่นน้อง ร่วมเชียร์และให้กำลังใจผู้เข้าประกวดเป็นจำนวนมาก

  • พีธีไหว้ครู

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [49]จัดพิธีไหว้ครูเป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระคุณครูอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่นักศึกษาใหม่  ตลอดจนทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับพระราชทานนาม “ราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระราชลัญจกรให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

โดยพิธีไหว้ครูจะเริ่มจาก ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นายกองค์การนักศึกษา นำกล่าวไหว้ครูและกล่าวคำปฏิญาณตน หลังจากนั้นตัวแทนนักศึกษา นำพานดอกไม้ธูปเทียนเข้าบูชาครูอาจารย์  หลังจากนั้น อธิการบดีเจิมหนังสือ เพื่อความเป็นสิริมงคล ตัวแทนนักศึกษานำขับบทกลอนบูชาครู และร่วมกันร้องเพลงพระคุณที่สาม แลยังได้มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณแก่คณาจารย์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ  รวมทั้งนักศึกษาที่ได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย จากนั้นเป็นพิธีมอบทุนการศึกษา ให้แก่นักศึกษาที่เรียนดี ความประพฤติเรียบร้อย แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นประจำทุกปี

มีความภูมิใจในความเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย  และขอให้นักศึกษามีความฉลาด อดทน ตั้งใจพากเพียรเรียนหนังสือ และอ่อนน้อมถ่อมตน เสมือนดอกเข็ม หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกมะเขือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการไหว้ครู  ขอให้นักศึกษาทุกคน ประสบความสำเร็จในชีวิต  และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

— ดร. ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดี : ปีการศึกษา 2559
  • กิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ ลอดซุ้มอัญเชิญตราพระราชลัญจร และประดับตรามหาวิทยาลัย

โดยกิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ ลอดซุ้มอัญเชิญตราพระราชลัญจร และประดับตรามหาวิทยาลัยประกอบด้วย ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อัญเชิญตรามงคลมอบให้นายกองค์การนักศึกษา เพื่ออัญเชิญเข้าสู่ขบวน ขบวนอัญเชิญตราพระราชลัญจรเคลื่อนเข้าสู่สนามกีฬาเพื่อประดิษฐานหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ วงประสานเสียงเพลงมาร์ชมหาวิทยาลัย และเพลงราชภัฏสดุดี ตัวแทนถือธงคณะ ไปวางบนปะรำพิธี นักศึกษาใหม่ถวายบังคมพระบรมฉายาลักษณ์ และพระราชลัญจกร ประธานในพิธีกล่าวถวายราชสดุดีและมอบเข็มให้นักศึกษาใหม่ จากนั้นเป็นการแสดงฟ้อนเทิดพระเกียรติ และจุดเทียนชัยถวายพระพร และปิดท้ายด้วยการบูม UDRU ของนักศึกษาใหม่[50]

สำหรับกิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ เป็นการเสริมสร้างความรัก ความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษา ส่งเสริมความรักสามัคคีระหว่างนักศึกษารุ่นพี่กับรุ่นน้อง และเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการ กิจกรรมรับน้องเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม สานสัมพันธ์ รุ่นพี่-รุ่นน้อง แบบไร้แอลกอฮอล์  สร้างภูมิคุ้มกัน ถ่ายทอดกระบวนการเป็นนักศึกษาที่ดี มีความรู้คู่คุณธรรม รู้จักปรับตัวจากนักเรียนสู่การเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอย่างสมบูรณ์แบบ  และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุข  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น และความสามัคคี ถึงแม้ว่าระหว่างที่ทำพิธีจะมีพายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก  แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมแต่อย่างใด

ปรากฏการณ์โลกโซเซียว เมื่อปีการศึกษา 2559 [51]กิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ ลอดซุ้มอัญเชิญตราพระราชลัญจร และประดับตรามหาวิทยาลัย ได้เป็นที่ฮือฮ่าในโลกโซเซียวเป็นอย่างมาโดยสำนักข่าวแห่งหนึ่ง ได้ตีพิมพ์ข่าวการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยทางมหาวิทยาลัยได้ออกมาชี้แจ้งแล้วว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามความสมัครใจของนักศึกษาทุกคน โดยไม่ได้มีการบังคับให้ทำกิจกรรมดังกล่าว จึงทำให้โลกได้รู้ถึงความเป็น ราชภัฏ "คนของพระราชา" มากขึ้น

  • พิธีทอดกฐินสามัคคี

เนื่อด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [52]อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาทราบและร่วมงานด้วย จึงได้จัดงานทอดกฐินเป็นประจำทุกปีขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อสืบสานประเพณีบุญเดือนสิบสองหรือบุญกฐิน ตามประเพณีฮีต 12 ของชาวอีสาน และเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้ร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ตั้งองค์กฐินให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคทำบุญ และได้รวบรวมปัจจัยจากคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้มีจิตศรัทธาโดยได้บริจาคเงินเพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนในเขตจังหวัดอุดรธานีแลใกล้เคียงและเพื่อใช้ในงานสาธารณกุศล อาทิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา วัดวาอาราม สวนสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น

โดยในงานแบ่งออกเป็น 2 วัน

วันที่ 1 จะมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีสวดสมโภชองค์กฐิน และถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ 9 รูป จากนั้นได้ร่วมรับประทานอาหารเย็น โดยมีการออกโรงทานของคณะอาจารย์ นักศึกษา หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ

วันที่ 2 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ สถานที่กำหนดตามกำหนดการของทุกๆ ปี

  • งานฉลองเมืองอุดรธานี

ประชาชนชาวอุดรธานีทุกหมู่เหล่า ร่วมงานวันที่ระลึกการก่อตั้งเมืองอุดรธานีเป็นประจำทุกๆ ปี

วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี จังหวัดอุดรธานีมีการจัดงานวันที่ระลึกการตั้งเมืองเมืองอุดรธานีที่บริเวณวงเวียนพระอนุสาวรีย์ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ข้างหน้ามหาวิทยาลัยฯ พื้นที่เก่าในเมือง) โดยมีองคมนตรี มาเป็นประธาน พร้อมด้วยราชนิกูล “ทองใหญ่” และผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี  นำข้าราชการทุกภาคส่วน องค์กรภาคเอกชน คหบดี และชาวอุดรธานี เข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ในพิธีวันที่ระลึกการก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในช่วงเช้าได้จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวนรุ่นของการครบปีก่อตั้ง บริเวณรอบพระอนุสาวรีย์ฯ การถวายพานพุ่มดอกไม้สด พิธีบายศรีสู่ขวัญบ้าน สู่ขวัญเมือง และรำบวงสรวง จากนั้นประธานในพิธี ได้อ่านประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

  • กิจกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษา

การเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษา [53]มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเลือกผู้บริหารนายกองค์การนักศึกษาของมหาวิทยาลัย  นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการระบอบประชาธิปไตยในสถาบันการศึกษา เพื่อวางรากฐานไปสู่การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของประชาชนต่อไป ซึ่งได้จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษาขึ้นมาก่อนสิ้นปีการศึกษา โดยให้มีนักศึกษาออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้นำของตนในปีการศึกษาถัดไปเพื่อเป็นการวางแผนล่วงหน้า โดยจะมีการจัดตั้งแต่ช่วงเช้า 08.30 – 15.00 น. และไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอนด้วย

  • ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองพัฒนานักศึกษา [54]จะมีการจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศให้แก่ผู้กำลังจะสำเร็จการศึกษาในทุกๆ ปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาที่กำลังจะก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ออกไปทำงานรับใช้สังคม โดยมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ เรื่องการปรับตัวจากวัยเรียนสู่วัยทำงาน รวมทั้งแนะแนวทางการสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน  และหลักในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน และการเตรียมพร้อมสู่ตลาดแรงงานหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

งานกีฬามหาวิทยาลัย

แก้
  • งานกีฬาวังแดงเกมส์

"วังแดง" เป็นอาคารหลังแรกของ “โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร” ตั้งแต่แรกอาคารหลังนี้ได้ถูกใช้เป็นอาคารอำนวยการหลักของโรงเรียน ภายในประกอบไปด้วยห้องหับต่าง ๆ ซึ่งเคยถูกใช้ประโยชน์มาหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องทำงาน กระทั่งบางครั้งก็เป็นที่พักสำหรับครู ด้วยความที่มีห้องเหลือเฟือ ประกอบกับสมัยนั้นบริเวณนี้ยังเป็นพื้นที่เปลี่ยว ไม่เจริญดังเช่นทุกวันนี้ การได้พักอยู่ในที่เดียวกับที่ทำงานคงเป็นการดีและปลอดภัย ส่วนที่มาของชื่อ “วังแดง” นี้ไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงเรียกตามความใหญ่โตของอาคาร และความสลับซับซ้อนของห้องหับ อีกทั้งเรียกตามสีเนื้อไม้ที่ใช้ทำผนังอาคารก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ชื่อวังแดงนี้มิได้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ บางครั้ง ก็มีการเรียกว่า “อาคารกลาง” หรือ “อาคารขุนประสม” ด้วยเช่นกัน[55]

งานกีฬาวังแดงเกมส์ เป็นงานกีฬาที่จัดขึ้นโดยองค์การนักศึกษา และสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆ พร้อมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด ด้วยการหันมาเล่นกีฬา เสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง  อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา[56]

โดยมีการแข่งขันกีฬา 8 ชนิดกีฬา[57] ได้แก่ ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล เปตอง ตะกร้อ บาสเกตบอล วอลเลย์บอลชายหาด และกีฬาพื้นบ้าน โดยพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงเช้าจะมีกิจกรรมการเดินขบวนพาเหรด  ขบวนกองทัพนักกีฬา การแข่งขันกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ การแข่งขันฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ  พิธีมอบเหรียญรางวัล  และพิธีปิดการแข่งขันในช่วงเย็น

การแข่งขันกีฬานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกีฬาอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานสายใย ความรักสามัคคี มีมิตรภาพและความสมานฉันท์ ระหว่างนักศึกษา, อาจารย์และบุคลากร ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 งานในแต่ละปี และจัดในสถานที่เดียวกันเป็นเจ้าภาพ โดยทางกีฬานักศึกษาจะมีการจัดขึ้นก่อนงานกีฬาอาจารย์บุคลากร 2-3 สัปดาห์ ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ส่งทัพนักกีฬาราชภัฏอุดรธานี เข้าร่วมชิงชัยในการแข่งขันกีฬานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[59] และการแข่งขันกีฬาอาจารย์และบุคลากร[60] มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกๆ ครั้งตลอดมา

  • งานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ส่งทัพนักกีฬาเข้าชิงชัยในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยทุกๆ ปี[61] และการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 ได้รับเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ณ สนามกีฬาใหม่และสนามกีฬาในจังหวัดอุดรธานี

การจัดอันดับ

แก้

Nature Index จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group จัดให้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อยู่ในอันดับที่ 12 ของประเทศไทย ปี 2016 [62]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

นักการเมือง

แก้
  • นายกว้าง รอบคอบ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา กรมพลศึกษา
  • นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ
  • นายธีระชัย แสนแก้ว อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
  • นายสมคิด บาลไธสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย

ครู/อาจารย์

แก้

นักร้อง/นักแสดง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สถิตินักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีการศึกษา 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/174/5.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/004/1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00141755.PDF
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2017-01-20.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  9. http://www.smmsport.com/reader.php?news=170789[ลิงก์เสีย]
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  12. https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%8F&action=edit&section=3
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  14. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/383-aug-23-2016-a.html[ลิงก์เสีย]
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  18. 18.0 18.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-19.
  19. https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/news-all/executive-ps-news/9470-2563-2564-6.html
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  24. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  25. https://www.udru.ac.th/website/index.php/featured-articles/17-udru-news/around-udru/1012-udrunews-11-sep-2023-02.html
  26. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
  27. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  28. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/002/1.PDF
  29. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
  30. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
  31. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-07-03.
  32. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/002/1.PDF
  33. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  35. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  37. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  38. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  39. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  40. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
  41. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
  42. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  43. http://www.udru.ac.th/images/admission2017/document/UDRU-ADMISSION-2017-Conditions.pdf[ลิงก์เสีย]
  44. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  45. "http://www.udru.ac.th/itml.html". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  46. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17.
  47. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  48. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  49. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  50. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  51. https://education.kapook.com/view155592.html
  52. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  53. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  54. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  55. https://udgmzo.wordpress.com/2012/09/09/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/
  56. http://www.smoedudru.com/smokaru/index.php/2015-07-05-05-48-06/39-%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-27[ลิงก์เสีย]
  57. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  58. http://khunsakarin.nrru.ac.th/student/main.php?part=detail&pack=history_competition[ลิงก์เสีย]
  59. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  60. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-03. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  61. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  62. http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/academic/all/countries-Thailand