พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์

สมาชิกราชวงศ์ไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2432) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 4) เป็นอธิบดีกรมพยาบาลพระองค์แรก[1]และเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405
สิ้นพระชนม์11 ตุลาคม พ.ศ. 2432 (27 ปี)
หม่อมหม่อมสาย
พระบุตรหม่อมเจ้าเล็ก
หม่อมเจ้าปิยสรรพางค์
หม่อมเจ้าสุรางค์ศรี โศภางค์
ราชสกุลโศภางค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 4)

พระประวัติ

แก้
 
"หนังสือว่าด้วยอำนาจผีแลผีหลอก" ผลงานพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 4) เมื่อวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 พระองค์เป็นต้นราชสกุลโศภางค์

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงรับราชการหลายตำแหน่ง เป็นเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอักษรพิมพการ (โรงพิมพ์หลวงอักษรพิมพการ สำนักงานพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา) พระองค์มีผลงานพระนิพนธ์เรื่อง หนังสือว่าด้วยอำนาจผีแลผีหลอก (ตีพิมพ์ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงพระศพของพระองค์เอง เมื่อ พ.ศ. 2433 และตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2464) และเป็นอธิบดีกรมพยาบาล เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ

หากเรียงลำดับพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 ที่ยังมีพระชนม์อยู่ในขณะนั้น โดยเรียงตามพระชันษา พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ จะมีลำดับต่อจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งที่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้ากรมพระอาลักษณ์คิดชื่อกรมให้คล้องจองกับกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ และได้ชื่อกรมว่า กรมหมื่นศุภกาพย์กวีการ แต่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ สิ้นพระชนม์เสียก่อนรับกรม ชื่อกรมนี้จึงไม่ได้มีการสถาปนาแต่อย่างใด

เนื่องจากการทรงงานอย่างหนักในหลายหน้าที่ทั้งงานประจำและงานจร ทำให้พระพลานามัยของพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ทรุดลง แม้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพและบรรดาเจ้านายที่เป็นพระพี่น้องจะเคยทูลตักเตือนว่าทรงงานเกินพระกำลัง ควรแบ่งเบางานด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของกรมพยาบาลให้ผู้อื่นทำแทน แต่พระองค์ไม่ทรงรับฟังและตั้งพระทัยจะทรงงานถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อไป กระทั่งเมื่อแพทย์ตรวจพบว่าพระองค์ประชวรด้วยวัณโรคเนื่องจากพระปัปผาสะ (ปอด) พิการ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์จึงเสด็จประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราช และตั้งพระทัยไว้ว่าหากรักษาไม่หายก็จะขอสิ้นพระชนม์ในโรงพยาบาล เพราะทรงผูกพันกับโรงพยาบาลศิริราชมาตั้งแต่ทรงเริ่มจัดตั้ง

เมื่อประชวรครั้งที่จะสิ้นพระชนม์นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ออกพระโอษฐ์ด้วยความตกพระทัยว่า "ไม่รู้เลยว่าใช้ศรีเกินกำลัง" และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จไปเยี่ยมพระอาการของพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้ง เป็นพยานแห่งพระเกียรติยศสูงสุดที่ได้ถวายงานสนองพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 2 ค่ำ ปีฉลูเอกศก จ.ศ. 1251 ตรงกับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2432 เวลา 13.40 น. สิริพระชันษาได้ 27 ปี 2 เดือน 23 วัน คิดเป็นวันได้ 9,947 วัน พระศพได้ตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ วังสะพานถ่านของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ เนื่องจากก่อนเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชจนกระทั่งสิ้นพระชนม์นั้น พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ประทับอยู่ ณ ตำหนักแพที่บางยี่ขัน ยังมิทันได้สร้างวังของพระองค์เอง ได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพตามราชประเพณี โดยพระราชทานเพลิงพระบุพโพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 (ตามปฏิทินปัจจุบัน) ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน หลังจากนั้นจึงได้เชิญพระอัฐิของพระองค์ไปประดิษฐานไว้ที่หอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระอังคารนั้นได้บรรจุไว้ที่วัดพระนามบัญญัติ (วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ในปัจจุบัน)

พระโอรสและธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ เป็นต้นราชสกุลโศภางค์ มีหม่อม 1 คน คือ หม่อมสาย (สกุลเดิม สาตราภัย; ธิดาพระยารามกล่อมสาตราภัยกำแหง) มีพระโอรสและธิดา 3 องค์ เป็นชาย 2 องค์ และหญิง 1 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้าเล็ก หม่อมสาย ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  2. หม่อมเจ้าปิยสรรพางค์ ต.จ. หม่อมสาย มกราคม พ.ศ. 2423 18 ตุลาคม พ.ศ. 2453 หม่อมทองคำ
ไฟล์:หม่อมเจ้าสุรางค์ศรี.JPG 3. หม่อมเจ้าสุรางค์ศรี โศภางค์ ป.ป.ร.3 หม่อมสาย 11 เมษายน พ.ศ. 2427 4 สิงหาคม พ.ศ. 2507

หม่อมเจ้าปิยสรรพางค์สมรสกับหม่อมทองคำ มีโอรสธิดา 4 คน คือ

  • หม่อมราชวงศ์ประมวญศรี โศภางค์
  • หม่อมราชวงศ์หญิงเครือศรี โศภางค์
  • หม่อมราชวงศ์เชวงศรี โศภางค์
  • หม่อมราชวงศ์หญิงเยี่ยมศรี โศภางค์

ปัจจุบันนี้ ราชสกุลโศภางค์ยังมีผู้สืบราชสกุลหลงเหลืออยู่ แต่ปรากฏรายชื่อเพียง 2 ท่านคือ คุณสุชัญญ์ญา โศภางค์ ณ อยุธยา ซึ่งได้รับรางวัลที่ 3 ในการประกวดรถโบราณของสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2562[2] และคุณวิวัฒน์พล โศภางค์ ณ อยุธยา ซึ่งปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี[3]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2432)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้