เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)

ขุนนางไทย

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นเป็นข้าราชการชาวไทย ต้นสกุล "เพ็ญกุล" ผู้ก่อตั้งโรงละครอย่างตะวันตกโดยใช้ชื่อว่า ปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre) และการริเริ่มแสดงละครโดยเก็บค่าชม

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
เกิด16 พฤษภาคม พ.ศ. 2364
เสียชีวิต2 มกราคม พ.ศ. 2437 (72 ปี)
ตำแหน่งสมุหพระสุรัสวดี
ครอบครัวเพ็ญกุล

ประวัติ แก้

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง มีนามเดิมว่า วันเพ็ญ เพราะเกิดในวันเพ็ญเดือน 6 ปีมะเส็ง เวลายามหนึ่ง ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2364[1] ภายหลังเรียกเพียงโดยย่อว่าเพ็ง เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) เพ็งมีพี่น้องอีกสี่คน ตนเองเป็นคนสุดท้อง ได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับเจ้าฟ้ามงกุฎที่อารามสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎทรงขอรับไปเลี้ยงและทรงออกนามว่า "พ่อเพ็ง" ครั้นเสด็จทรงราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว โปรดให้เพ็งเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กที่ตำแหน่งเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี

ต่อมาภายหลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังสหราชอาณาจักร เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต เมื่อกลับคืนมายังกรุงเทพมหานครแล้ว จึงโปรดเลื่อนเจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นพระบุรุษรัตนราชวัลลภ ในคราวที่พระองค์ประชวรใกล้จะสิ้นนั้น พระบุรุษรัตนราชวัลลภก็ได้เฝ้าดูพระราชหฤทัยด้วย

ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์เป็นรัชกาลถัดมา ก็โปรดให้พระบุรุษรัตนราชวัลลภเป็นสมุหพระสุรัสวดีที่บรรดาศักดิ์พระยาราชสุภาวดี และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2417 ก็รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวรยุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ มีสถานะเทียบเท่าสมุหนายก แต่ว่าการกรมพระสุรัสวดีอย่างเดิม

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2437[1] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2438 ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 103-6. ISBN 974-417-534-6
  2. ราชกิจจานุเบกษา, เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยามหินธรศักดิธำรง, เล่ม ๑๒, ตอน ๕๑, ๒๐ มีนาคม ๒๔๓๘, หน้า ๕๐๑-๒
  3. พระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ (หน้า ๕๕๗)