พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร อธิบดีกรมกฤษฎีกา[5] อธิบดีศาลฎีกา และราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย ทรงเป็นต้นราชสกุล ศรีธวัช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
องคมนตรี[1][2][3] | |
ดำรงตำแหน่ง | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย |
รัฐมนตรีสภา[4] | |
ดำรงตำแหน่ง | 24 มกราคม พ.ศ. 2437 |
ประสูติ | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2400 |
สิ้นพระชนม์ | 11 มีนาคม พ.ศ. 2454 (53 ปี) |
หม่อม | หม่อมอุ่ม ศรีธวัช ณ อยุธยา หม่อมเสงี่ยม ศรีธวัช ณ อยุธยา หม่อมเผื่อน ศรีธวัช ณ อยุธยา |
พระบุตร | 13 พระองค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | ศรีธวัช |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาบัว ในรัชกาลที่ 4 |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) เมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. 1219 (16 ตุลาคม พ.ศ. 2400) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทางฝั่งพระมารดา ทรงมีพระเชษฐาพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ ได้แก่
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (พ.ศ. 2402-2449)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำการปฏิสังขรณ์หอพระมณเฑียรธรรม เป็นพนักงานรับบัญชีและนำฎีกาที่ราษฏรร้องทุกข์ทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2426
เมื่อ พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้มีโรงพยาบาลขึ้นในประเทศไทย จึงตั้ง "คณะคอมมิตตีจัดการ" คณะหนึ่ง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 เพื่อจัดการตั้งโรงพยาบาลตามพระราชประสงค์ คณะกรรมการดังกล่าวมี 9 คน มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริธัชสังกาศ เป็นนายก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำพิธีเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระราชทานนามว่า "ศิริราชพยาบาล" ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกา(กรมฎีกา)[6] และเป็นราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437[7]
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ทรงศักดินา 15000[8]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453[9]
สิ้นพระชนม์
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ประชวรมานาน แม้จะทรงรับการรักษาแต่อาการยังทรงกับทรุดเรื่อยมา จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2453 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2454) เวลา 20.34 น. สิริพระชันษา 53 ปี 146 วัน เวลา 5 โมงครึ่งวันถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ แล้วเจ้าพนักงานพระศพมาประดิษฐานในท้องพระโรง ประกอบพระโกศกุดั่นน้อย เครื่องสูง 5 ชั้น พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมมีกำหนด 3 เดือน[10]
พระโอรสและพระธิดา
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ทรงเป็นต้นราชสกุลศรีธวัช มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่
- หม่อมอุ่ม[ลิงก์เสีย] (สกุลเดิม: ทิพย์วัฒน์) ธิดาขุนทิพเสนา (จุ้ย)
- หม่อมเสงี่ยม (สกุลเดิม: ณ นคร) ธิดาพระยาเสนานุชิด (นุช)
- หม่อมเผื่อน
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 13 พระองค์ เป็นชาย 5 พระองค์ หญิง 6 พระองค์ และไม่ทราบว่าเป็นหญิงหรือชาย 6 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ | หม่อมเสงี่ยม | 25 มีนาคม พ.ศ. 2419 | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 | หม่อมเจ้าหญิงอาทรถนอม ศรีธวัช หม่อมชื่น หม่อมประทีป | |
2. หม่อมเจ้าธำรงสิริ | ที่ 1 ในหม่อมอุ่ม | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2420 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2476 | หม่อมเอื้อน หม่อมสาย (สิงห์สุวิช) | |
3. หม่อมเจ้าหญิงนิภา | ที่ 2 ในหม่อมอุ่ม | 7 กันยายน พ.ศ. 2421 | พ.ศ. 2506 | ||
4. หม่อมเจ้านิสากร | ที่ 3 ในหม่อมอุ่ม | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 | 3 มีนาคม พ.ศ. 2472 | หม่อมสาย หม่อมทรัพย์ | |
5. หม่อมเจ้าหญิงอาทรถนอม | ที่ 4 ในหม่อมอุ่ม | พ.ศ. 2423 | พ.ศ. 2493 | หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช | |
6. หม่อมเจ้าธวัชชัยเฉลิมวงศ์ | ที่ 5 ในหม่อมอุ่ม | 16 เมษายน พ.ศ. 2431 | พ.ศ. 2480 | หม่อมเจ้าหญิงกังวาลสุวรรณ ทองแถม หม่อมแฉ่ง หม่อมตี่ หม่อมสังเวียน (ธาดาสีห์) | |
7. หม่อมเจ้าธงไชยสิริพันธ์ | หม่อมเผื่อน | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2433 | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | หม่อมชื้น | |
8. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
9. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
10. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
11. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
12. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
13. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี |
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย (16 ตุลาคม พ.ศ. 2400 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2426)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2438 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2453 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[14]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[15]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/45.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/47.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/044/367.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/024/270_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/039/331_2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดี, เล่ม ๑๑, ตอน ๓๙, ๒๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๓, หน้า ๗๓๙-๗๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๒, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๔, หน้า ๗๓๙-๗๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม ๒๗, ตอน ก, ๓๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๙, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙, หน้า ๓๑๐๖-๓๑๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เล่ม 12 หน้า 305
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/1557.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/035/1012.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | ประธานศาลฎีกาไทย (พ.ศ. 2432) |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (23 ธันวาคม พ.ศ. 2437 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย |