พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ

มหาอำมาตย์ตรี[2] นายพันตรี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2480) เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติแต่ หม่อมทรัพย์

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง19 กันยายน พ.ศ. 2435[1]
ประสูติ19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404
สิ้นพระชนม์13 มีนาคม พ.ศ. 2480 (75 ปี)
หม่อม6 คน
พระบุตร18 คน
ราชสกุลมาลากุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
พระมารดาหม่อมทรัพย์
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พันตรี

พระประวัติ

แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ พระนามเดิม หม่อมเจ้าอลังการ อดีตองคมนตรี อธิบดีกรมส่วย รัฐมนตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สภานายกรัฐมนตรี บังคับการกรมพระคชบาล และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ถือศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เนื่องในวันฉัตรมงคล[3] เครื่องยศในเวลารับพระสุพรรณบัฏ หีบหมากเสวยไม้แดงหุ้มทองคำลงยา ตราครุฑ 1 หีบ[4] เป็นผู้ให้กำเนิดวงการภาพยนตร์ไทย โดยจัดให้มีการละเล่น ซีนีมาโตแครฟ จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ ข้างประตูสามยอด ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการฉายในประเทศไทย และเป็นวิวัฒนาการใหม่ในโลกขณะนั้น[5]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2479 (แบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2480) ที่ปราจีนบุรี ด้วยโรคลมอัมพาต ปัจจุบันคือเส้นโลหิตแตก ประชวรไม่กี่วันก็สิ้นพระชนม์

พระโอรส-พระธิดา

แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ เสกสมรสกับหม่อมเล็ก จ.จ.[6] หม่อมเจิม หม่อมผาด หม่อมนวล หม่อมทรัพย์ และหม่อมถนอม มีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 18 คน ดังนี้

ในหม่อมเล็ก

  • หม่อมราชวงศ์ณัฐสฤษดิ์ สมรสกับบุญช่วย มีธิดา 2 คน
  • หม่อมราชวงศ์ฐิตะไชย
  • หม่อมราชวงศ์ไขฉวี สมรสกับนาวาเอก หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ราชนาวี (แสวง หาสตะนันทน์) มีบุตร-ธิดา 8 คน
  • หม่อมราชวงศ์ศรีธวัช สมรสกับทองอยู่ ทัพชูวงศ์ มีบุตร-ธิดา 5 คน และถมยา มั่นมณี มีบุตร 3 คน
  • หม่อมราชวงศ์พัฒนา สมรสกับเหมย เดี่ยวเด่น มีบุตร-ธิดา 5 คน, ละม้าย ภูเดช มีบุตร-ธิดา 7 คน และเที่ยง บ้านกลาง มีบุตร-ธิดา 6 คน
  • หม่อมราชวงศ์บรรจง สมรสกับสุดจิตต์ เตมียสูตย์ มีธิดา 2 คน และกับนายแพทย์โพธิ์ นาคะเสถียร มีบุตร-ธิดา 2 คน

ในหม่อมเจิม ศรียาภัย

  • หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ สมรสกับสวัสดิ์ (สกุลเดิม หทยานนท์) มีบุตร-ธิดา 2 คน

ในหม่อมผาด

  • หม่อมราชวงศ์ประเทือง สมรสกับละออ มีบุตร-ธิดา 6 คน และสุภาพ มีธิดา 1 คน

ในหม่อมนวล

  • หม่อมราชวงศ์แฉล้ม สมรสกับพันตรี นายแพทย์ หลวงฉัตรพลรักษ์ (ฉัตร พงศ์ศักดิ์) มีบุตร 1 คน

ในหม่อมทรัพย์

  • หม่อมราชวงศ์ชลอ มาลากุล

ในหม่อมถนอม

  • หม่อมราชวงศ์แข สมรสกับรัตน เชื้อสุวรรณ มีธิดา 1 คน
  • หม่อมราชวงศ์ประยูร สมรสกับสว่าง (สกุลเดิม วรรณมิตร) มีธิดา 1 คน, สีนวล มีบุตร-ธิดา 4 คน และอุทัย มีบุตร 1 คน
  • หม่อมราชวงศ์สมพงษ์ สมรสกับประทุม (สกุลเดิม ศรีใหม่) มีบุตร-ธิดา 7 คน
  • หม่อมราชวงศ์สมถวิล สมรสกับประธาน เขียวลายเลิศ มีธิดา 1 คน
  • หม่อมราชวงศ์เจริญ สมรสกับสำเนียง (สกุลเดิม เปรมสมิทธ์) มีบุตร-ธิดา 9 คน
  • หม่อมราชวงศ์ขจิตร์ สมรสกับร้อยตรีเดชา เจริญชื่น มีบุตรธิดา 2 คน
  • หม่อมราชวงศ์ละเวียด สมรสกับศิริ ปานไหล่ มีบุตรธิดา 3 คน

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • หม่อมเจ้าอลังการ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2479)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ

  1. การพระราชพิธีศรีสัจปานกาล พระราชทานพระชัยวัฒน์ องค์เล็ก แลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แลตั้งองคมนตรี (หน้า ๒๐๑)
  2. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย (หน้า ๙๙๔)
  3. "สถาปนาพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอลังการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
  4. เครื่องยศที่ได้รับพระราชทานเวลารับพระสุพรรณบัตร แลสุพรรณบัตร
  5. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  6. จตุตถจุลจอมเกล้า
  7. ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
  8. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 หน้า 417
  9. พระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 หน้า 542
  10. "พระราชทานเหรียญราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 15 (ตอน 26): หน้า 283. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)