เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร)

เจ้าพระยารัตนบดินทร์ นามเดิม รอด (บางแห่งว่าบุญรอด)[1] เป็นขุนนางในสกุลกัลยาณมิตร ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายกคนสุดท้าย

เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร)
สมุหนายก
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2429 – พ.ศ. 2435
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
ถัดไปพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2368
เสียชีวิต23 เมษายน พ.ศ. 2441 (73 ปี)
บุพการี

ประวัติ แก้

เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มีนามเดิมว่า รอด เกิดเมื่อปีจอ จ.ศ. 1187 (ตรงกับ พ.ศ. 2368) เป็นบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปีมะแม พ.ศ. 2390 มีบรรดาศักดิ์เป็นนายเล่ห์อาวุธ หุ้มแพร[2]

ปีชวด พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนเป็นหลวงฤทธินายเวร แล้วเลื่อนอีกในปีนั้นเป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็ก ถึงปีชวด พ.ศ. จึงโปรดให้เป็นพระยาราชวรานุกูล วิบูลยภักดีวิริยพาหะ ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ศักดินา 2000[2]

รับราชการ แก้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2416 โปรดให้ท่านมีนามเดิมแต่เพิ่มตำแหน่งผู้รักษากรุงศรีอยุธยา ถือศักดินา 10000 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2417 จึงโปรดให้ท่านว่าที่เสมอเสนาบดีกรมเกษตราธิบดี ดำรงศักดินา 10000[2] ต่อมาได้เป็นกรรมการกฤษฎีกาและองคมนตรี แล้วได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยาตำแหน่งที่จตุสดมภ์เสนาบดีในวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 มีนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี ศรีวิไชยราชมหไยสวรรย์ อเนกานันต์ธัญญาหาร พิจารณ์ปฏิพัทธ นพรัตนมุรธาธร มหิศรสมุหเชฐเกษตราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10000[3]และสุดท้ายได้รับสถาปนาเป็นสมุหนายกเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบค่ำ ปีจออัฐศก จุลศักราช 1248 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2429 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มหินทรมหากัลยาณมิตร อเนกบุญฤทธิประสิทธิสาธุคุณ วิบุลยศุภผล นิพัทธกุศลกิริยาภิรัต วงโศปบัติมหามัตยตระกูล อดูลยเมตยาชวาธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณารักษ์ อุดมศักดิพิเศษ นาครามาตยเชษฐมหาสมุหนายก สยามโลกยดิลกบรมราชมานิต สกโลดรทิศประเทศาธิบดี มหาราชสีหมุรธาธร อัครมหาดไทยวริศรเสนาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ที่สมุหนายกศักดินา 10000[4]

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

เจ้าพระยารัตนบดินทรป่วยมานาน และถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2441 วันต่อมา เวลาบ่าย 4 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าพนักงานแต่งศพ ลงลองใน ตั้งบนแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบโกศไม้สิบสอง แวดล้อมด้วยเครื่องสูงสามชั้น[1] ถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2442 เวลาบ่าย 5 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 "ข่าวอสัญญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (5): 47. 1 พฤษภาคม ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 111
  3. พระราชทานสัญญาบัตรในปีเถาะเอกศก (หน้า 69-70)
  4. ข่าวราชการ (หน้า 235)
  5. "เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยารัตนบดินทร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (5): 61–62. 30 เมษายน ร.ศ. 118. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ (หน้า 386)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-29.
  7. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา
  8. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่โปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานนำไปและส่งไปพระราชทาน
บรรณานุกรม