เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เป็นสมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ 4–5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) | |
---|---|
สมุหนายก | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2406 – พ.ศ. 2421 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2351 |
เสียชีวิต | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2421 (70 ปี) |
บุตร | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์) พระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม) เจ้าจอมมารดาตลับ ท้าวสมศักดิ์ (โหมด) |
บุพการี | |
เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2351 นามเดิมชื่อ นุช เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) ในรัชกาลที่ 3 เป็นนายสนิทหุ้มแพร แล้วเป็น หลวงศักดิ์นายเวร แล้วเลื่อนเป็น พระยาสุริยภักดี เมื่อปลายรัชกาลถูกถอด ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เป็น พระยามหามนตรี แล้วเลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช ครั้นเจ้าพระยานิกรบดินทร ถึงอสัญกรรม จึงโปรดฯให้เป็น เจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก[1] ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2418 เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อทางเมืองหลวงพระบางทัพหนึ่ง[2] และเป็นทัพหน้าในสงครามเชียงตุง ด้านศาสนา ได้ปฏิสังขรณ์วัดเครือวัลย์วรวิหาร และสร้างเจดีย์ 2 องค์ สำหรับบรรจุอัฐิคนในตระกูลบุณยรัตพันธุ์ หรือผู้เกี่ยวเนื่องทางตระกูล[3] และปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม[4]
บุตรธิดาของท่าน คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์) พระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม) เจ้าจอมมารดาตลับ ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ และ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ ในรัชกาลที่ 4 และท้าวสมศักดิ์ (โหมด)
เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2421 อายุ 71 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2416 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
อ้างอิง
แก้- ↑ "เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์". สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร. p. 26.
- ↑ "ประวัติหลวงพัฒนพงศ์ภักดี". วชิรญาณ.
- ↑ "วัดเครือวัลย์วรวิหาร". สำนักงานเขตบางกอกใหญ่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
- ↑ "วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม (วัดเขาดิน)". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.