เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์)
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช นามเดิม เวก เป็นขุนนางสกุลบุณยรัตพันธุ์ อดีตแม่ทัพในสงครามปราบฮ่อ
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช มีนามเดิมว่า เวก (บางแห่งว่าเวทย์[1] หรือ เวศ[2]) เกิดเมื่อปีฉลู จ.ศ. 1203 (ตรงกับ พ.ศ. 2384) เป็นบุตรเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กมีบรรดาศักดิ์เป็นนายพิไนยราชกิจ หุ้มแพร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนเป็นนายกวดมหาดเล็ก หุ้มแพรต้นเชือก ต่อมาเลื่อนเป็นพระสุริยภักดี เจ้ากรมสนมทหาร แล้วเป็นพระยาราชวรานุกูล ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ตามลำดับ โปรดให้เป็นแม่ทัพไปสงครามปราบฮ่อแล้วต้องปืนข้าศึกจนบาดเจ็บสาหัส ต่อมาเลื่อนเป็นพระยาศรีธรรมาธิราช ผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง ถือศักดินา ๕๐๐๐ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2435[4]จนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช อันเตบุริกามาตย์มหานิเวศนานุรักษ์ ภูธรามัจศักดิพิพัฒ ศรีสัตยธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10000[5]
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2453) วันต่อมาเวลาบ่าย 4 โมงเศษ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าพนักงานแต่งศพ ยกลงลองใน ตั้งบนฐานกระจก ประกอบโกศแปดเหลี่ยม แวดล้อมด้วยฉัตรเบญจา 4 คัน พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 3 คืน[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[1]
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)[7]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (35): 893. 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "ข่าวอสัญญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 2553–2554. 27 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 128. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 151
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ "ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (34): 741. 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (26): 282. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 151-153. ISBN 974-417-534-6