สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย

จางวางตรี นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 มีพระนามลำลองว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์โปรดงานทางด้านศิลปะ ดนตรี และการละคร โดยทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชันษา 31 ปี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
เจ้าฟ้าชั้นเอก
กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
ประสูติ5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435
พระจุฑาธุชราชฐาน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
สิ้นพระชนม์8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 (31 ปี)
พระราชวังปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร
พระราชทานเพลิง8 ธันวาคม พ.ศ. 2466
พระเมรุ ท้องสนามหลวง
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช
หม่อม
  • หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา
  • ระวี จาตุรจินดา
พระบุตร
ราชสกุลจุฑาธุช
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระประวัติ

แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย พระราชโอรสองค์ที่ 90 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 8 ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. 1254 ตรงกับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 ณ พระตำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว​พระราชทานนามเขตพระราชฐานว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนาม "สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" ซึ่งประสูติ ณ ที่แห่งนั้น [1] เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร" พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี, พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
  2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
  4. จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
  5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
  6. พลเรือเอก สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
  7. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 18 มกราคม ร.ศ. 123 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2448) ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายณุตตมศักดิ์ วิบูลยลักษณวิลาศ มหามกุฎราชพงษานุพัทธ์ วิวรรฒผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย[2]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว​โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย​ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธและเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาใน Magdalene College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2461 และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อ พ.ศ. 2461

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระทัยใฝ่งานศิลปะ โปรดการทรงแกรนด์เปียโน ฮาร์พ และไวโอลิน โปรดศิลปะการละคร ได้ทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณพระราชวังปทุมวันเดิมแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ทรงสร้างวังเพ็ชรบูรณ์เป็นที่ประทับ ซึ่งหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว วังเพ็ชรบูรณ์ก็ปล่อยร้างและไม่มีคนดูแล แม้แต่พระญาติของพระองค์ จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในปี 2475 คณะราษฎรเห็นว่าวังแห่งนี้ร้างไม่มีคนดูแลแต่ยังทรงคุณค่าอยู่ จึงได้โอนกรรมสิทธิ์วังแห่งนี้มาดูแลต่อ โดยให้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 บริษัท วังเพ็ชรบูรณ์ จำกัด โดยอุเทน เตชะไพบูลย์ ได้เช่าที่ดินสร้างเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลได้เข้ามาปรับปรุงใหม่เป็นเซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนพระตำหนักเดิมถูกย้ายมาอยู่ที่ซอยอัคนี (ซอยงามวงศ์วาน ๒) ชื่อว่า ตำหนักประถม อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี [1]

สิ้นพระชนม์

แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระวรกายไม่แข็งแรง ประชวรพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการเรื้อรัง ประกอบกับเกิดเป็นพระโรคบิดและพระหทัยอ่อนล้า แพทย์ได้ถวายพระโอสถประคับประคองอย่างเต็มที่ พระอาการทรงบ้างทรุดบ้างและพระอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ สิ้นพระชนม์ ณ วังปทุมวัน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 31 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพมาประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น ประกอบพระโกศทองน้อยตำหนักปารุสกวัน[4]และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[5]

ครอบครัว

แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นต้นราชสกุล "จุฑาธุช" อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465 ซึ่งก่อนจะอภิเษกสมรสพระองค์ทรงมีหม่อมอยู่ก่อนแล้วสองท่านคือหม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริสัมพันธ์) ธิดาพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ กับระวี จาตุรจินดา (สกุลเดิม ไกยานนท์) นางละครจากคณะละครวังสวนกุหลาบ[6]

ส่วนพระโอรสและพระธิดามีอย่างละพระองค์ ประสูติแต่หม่อมทั้งสองท่านหาได้ประสูติแต่หม่อมเจ้าบุญจิราธร ผู้เป็นชายาเลย พระบุตรทั้งสองพระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า เมื่อแรกประสูติ แต่ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2470 ทั้งนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ประสูติแต่หม่อมลออ ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ประสูติแต่หม่อมระวี[7]

  1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร มีธิดาสองคนคือ หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร และหม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
  2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับแพเมลา สมี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ และศรีไศล สุชาตวุฒิ มีบุตรและธิดาจากการสมรสครั้งแรกคือ หม่อมราชวงศ์ดิลก จุฑาธุช และหม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช

ด้วยความที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช มีหม่อมมารดาเป็นนางละครมาก่อนจึงทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชจากการสืบราชบัลลังก์ ด้วยทรงมองว่ามีมารดาเป็นสตรีที่ไร้สกุลรุนชาติ ดังปรากฏในพระบรมราชโองการตอนหนึ่ง ความว่า "…ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชยนั้นเสียเถิด เพราะหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีแม่ที่ไม่มีชาติสกุล เกรงว่าจะไม่เป็นที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์…"[8] ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชผู้เป็นทายาทในสายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมิได้สืบราชสมบัติ เช่นเดียวกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ที่มีหม่อมมารดาเป็นนางต่างด้าว[9]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 18 มกราคม พ.ศ. 2448)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย[2] (18 มกราคม พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

พระยศในราชสำนัก

แก้
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2461: หัวหมื่น[10]

ตำแหน่ง

แก้
  • 2 มิถุนายน พ.ศ. 2462: ที่ปรึกษาโรงเรียนเพาะช่าง[11]
  • 15 มกราคม พ.ศ. 2464: กรรมการพิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ[12]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ ดังต่อไปนี้[4]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พระประวัติเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2007-02-24.
  2. 2.0 2.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (44): 801–802. 29 มกราคม ร.ศ. 123. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เสด็จเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๔๘๐
  4. 4.0 4.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง). 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. การพระเมรุท้องสนามหลวง (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 4000–4011. 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
  6. "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย". พิพิธภัณฑ์จุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  8. สุพจน์ ด่านตระกูล. "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต". ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-16. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. สุพจน์ ด่านตระกูล. "ปรีดี พนมยงค์ กับสถาบันกษัตริย์และกรณีสวรรคต". สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  11. ประกาศกระทรวงธรรมการ
  12. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  13. "พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ และพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 21 (ตอน 44): หน้า 799. 29 มกราคม ร.ศ. 123. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 48. 9 เมษายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35 (ตอน 0 ง): หน้า 2926. 26 มกราคม พ.ศ. 2461. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 39 (ตอน 0 ง): หน้า 2772. 7 มกราคม พ.ศ. 2465. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37 (ตอน 0 ง): หน้า 3710. 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 3094. 19 มีนาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้