โรคบิด
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
โรคบิด คือชื่อโรคชนิดหนึ่ง มี 2 ชนิด คือ บิดไม่มีตัว และ บิดมีตัว
โรคบิด dysentery | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | A09.0, A03.9, A06.0, A07.9 |
ICD-9 | 004, 007.9, 009.0 |
MeSH | D004403 |
อาการของบิดไม่มีตัว
แก้- ไม่มีอาการใด ๆ เลย แต่จะรู้สึกไม่สบายท้อง เพราะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในลำไส้
- มีอาการน้อย ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด และปวดบิดแต่ไม่มาก
- มีอาการรุนแรง ปวดท้องบิดอย่างรุนแรง มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายมีมูกเลือดและหนองปน ถ่ายน้อยแต่บ่อยมาก ถ้าร่างกายอ่อนแอ อาจจะมีการช็อคได้
- โรคแทรกซ้อน เชื้อโรคเข้าไปยังกระแสเลือด ทำให้เลือดนั้นเป็นพิษ อาจช็อคจนเสียชีวิตได้ ลำไส้ใหญ่มีการอักเสบอย่างรุนแรง เกิดอาการเสียน้ำอย่างมากจนช็อคและเสียชีวิตได้
อาการของบิดมีตัว
แก้- ไม่มีอาการใด ๆ เลย แต่จะรู้สึกไม่สบายท้อง ถ้าไปตรวจจะพบอะมีบา Entamoeba histolytica ในอุจจาระ
- มีอาการชนิดเฉียบพลัน ปวดบิด ถ่ายอุจจาระเหลว อุจจาระมีกลิ่นคล้ายหัวกุ้งเน่า อาการไม่แรงเท่าบิดไม่มีตัว ถ้าผู้ป่วยต้านทานโรคได้น้อย อาจจะมีไข้สูงและถ่ายเป็นมูกเลือดมาก
- มีอาการชนิดเรื้อรัง เป็นผลจากบิดชนิดเฉียบพลัน แล้วรับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อะมีบาจึงตายไม่หมด ทำให้อาการไม่หายขาด และเป็นไปเรื่อยๆ
- โรคแทรกซ้อน ลำไส้เกิดการทะลุ เกิดแผลที่ลำไส้ใหญ่ เป็นฝีที่ตับ เพราะอะมีบาเข้าไปที่กระแสเลือดและไปยังตับอักเสบและเป็นฝี ฝีนี้อาจแตกทะลุไปยังปอด ทำให้เป็นฝีที่ปอดด้วย
วิธีป้องกัน
แก้- เมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคบิด กรุณารีบไปพบแพทย์
- เลือกรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปราศจากสารพิษและสิ่งสกปรกเจือปน