กลุ่มเซ็นทรัล

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Central Group) เป็นกลุ่มด้านธุรกิจค้าปลีกและบริการทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ดำเนินธุรกิจหลากหลายแขนง อาทิ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า, ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจบริหารและการตลาดสินค้าแฟชั่น, ธุรกิจโรงแรมและ รีสอร์ท, ธุรกิจร้านอาหาร รวมไปถึงธุรกิจดิจิทัลไลฟ์สไตล์ [1]

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
ประเภทกลุ่มธุรกิจเอกชน
อุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีกและบริการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2490
ผู้ก่อตั้งเตียง จิราธิวัตน์, สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์
สำนักงานใหญ่22 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลชิดลม ชั้น 15 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
ทศ จิราธิวัฒน์
ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Executive Chairman and CEO)
ผลิตภัณฑ์
พนักงาน
80,000 คน
บริษัทในเครือบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) (SET:CRC)
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (SET:CPN)
บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) (SET:CENTEL)
เว็บไซต์www.centralgroup.com

ประวัติแก้ไข

 
ห้างเซ็นทรัลราชประสงค์ เมื่อแรกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2507

บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง หรือชื่อการค้า ห้างเซ็นทรัล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 โดย เตียง จิราธิวัฒน์ (นี่เตียง แซ่เจ็ง) และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (ฮกเส่ง แซ่เจ็ง) บุตรชายคนโต เป็นร้านค้าตึกแถวครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นขนาด 1 คูหา ปากตรอกกัปตันบุช (ปัจจุบันคือซอยเจริญกรุง 30) ย่านสี่พระยา จำหน่ายหนังสือ รวมทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และเครื่องสำอาง ทั้งสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเซ็นทรัลเป็นกิจการใหม่ที่สานต่อจากกิจการร้านชำ เข่งเซ่งหลี ย่านบางขุนเทียน ของเตียง

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง ย้ายที่ตั้งไปยังตึกแถว 3 คูหา ย่านสุริวงษ์ ปากตรอกชาร์เตอร์แบงก์ ในปี พ.ศ. 2500 เตียง ได้ร่วมทุนกับบุตรชายทั้งสามคน อันได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร เปิดทำการห้างสรรพสินค้าเต็มรูปแบบที่ย่านวังบูรพา โดยใช้ชื่อว่า เซ็นทรัล วังบูรพา ต่อมาจึงขยายสาขาสู่ย่านเยาวราช แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเปิดสาขาใหม่ที่ย่านราชประสงค์ในปีพ.ศ. 2507 สาขาสีลมในปี พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2516 เปิดห้างสรรพสินค้าแบบจุดเดียวเสร็จสรรพ (one stop) ที่ชิดลม ต่อมา พ.ศ. 2524 จึงขยายกิจการตั้งสาขาลาดหญ้า ในฝั่งธนบุรี และเปิดสาขาลาดพร้าว ในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในบรรดาห้างสรรพสินค้าไทยในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2535 ได้ขยายสาขาไปต่างจังหวัด ที่อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ ขยายสาขาไปสู่ต่างจังหวัด

กลุ่มธุรกิจของบริษัทแก้ไข

ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มเซ็นทรัล แบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้า, ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์, โรงแรมและร้านอาหาร, ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท, บริการด้านการเงินและฟินเทค, เดอะ วัน, ธุรกิจใหม่ในยุคดิจิทัล

ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (Malls & Commercial Properties)แก้ไข

ดูเพิ่มที่: เซ็นทรัลพัฒนา

รับผิดชอบในการบริหารอาคารอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การค้า และส่วนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนามีการแบ่งธุรกิจภายในดังนี้

บริหารศูนย์การค้าแก้ไข

บริหารอาคารสำนักงานแก้ไข

  1. เซ็นทรัล ลาดพร้าว รีเทลทาวเวอร์
  2. เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า Tower A
  3. เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า Tower B
  4. เซ็นทรัล ซิตี้ ทาวเวอร์
  5. เซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิสเศส
  6. เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ทาวเวอร์
  7. เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส A
  8. เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส B
  9. จี ทาวเวอร์
  10. ยูนิลีเวอร์ เฮาส์
  11. เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (กำลังก่อสร้าง)
  12. ทีเพลส (CPN โดย สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ ยูนิเวนเจอร์ เป็นผู้บริหารอาคาร)

บริหารโรงแรมแก้ไข

  1. เซ็นทารา โฮเทล แอนด์ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี @ เซ็นทรัล อุดร (CPN เป็นเจ้าของโครงการ ซื้อต่อจากโครงการโรงแรมเจริญศรี แกรนด์รอยัล โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  2. ฮิลตัน พัทยาบีช @ เซ็นทรัล พัทยา (CPN เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Hilton เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  3. เซ็นทารา โคราช @ เซ็นทรัล โคราช (CPN โดย ซีพีเอ็น โคราช เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  4. โก! โฮเทล บ่อวิน @ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ่อวิน (CPN โดย เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  5. เซ็นทารา วัน ระยอง @ เซ็นทรัล ระยอง (CPN โดย ซีพีเอ็น ระยอง เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  6. เซ็นทารา อุบล @ เซ็นทรัล อุบล (CPN โดย เซ็นทรัลเวิลด์ สาขาอุบลราชธานี เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  7. ดุสิตธานี กรุงเทพ @ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (CPN โดย วิมานสุริยา เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Dusit เป็นผู้บริหารโรงแรม)
  8. โก! โฮเทล ลาดกระบัง @ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง (CPN โดย เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ Centara เป็นผู้บริหารโรงแรม)

บริหารที่พักอาศัยแก้ไข

  1. เซ็นทรัลซิตี้ เรสซิเดนซ์ (CPN เป็นเจ้าของพื้นที่บางส่วนของโครงการ)
  2. เอสเซ็นท์ เชียงใหม่
  3. เอสเซ็นท์ ขอนแก่น
  4. เอสเซ็นท์ ระยอง
  5. แกรนด์ คาแนล ดอนเมือง
  6. เบ็ล แกรนด์ อเวนิว แอท แกรนด์ พระราม 9

การลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ที่ถือหุ้นมากกว่า 10% [2]แก้ไข

  • บจก. เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว - ศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และเซ็นทรัล บางนา
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ - อาคารที่พักอาศัย พื้นที่ร้านค้าให้เช่า ถือหุ้น/ลงทุนในบริษัทและ/หรือศูนย์การค้าอื่น
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 - เซ็นทรัล พระราม 2
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ - เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และเซ็นทรัล เชียงใหม่
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ - เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี - เซ็นทรัล ชลบุรี
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ - ศูนย์การค้าและสำนักงานเซ็นทรัล พระราม 9, เอสพลานาด รัชดาภิเษก
  • บจก. บางนาเซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ - เซ็นทรัล บางนา (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 99.99%)
  • บจก. ซีพีเอ็น พัทยา - เซ็นทรัล พัทยา และโรงแรมฮิลตัน พัทยา
  • บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ - เซ็นทรัลเวิลด์ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี เซ็นทรัล อุดร พิษณุโลก อุบล สมุย อีสต์วิลล์ มหาชัย และอยุธยา(ถือตรง 90% และผ่าน บจก. บางนาเซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ 10%)
  • บจก. สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ - แฟชั่นไอส์แลนด์ ลุมพินี ไลฟ์เซ็นเตอร์ เทอร์มินอล 21 โคราช (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 12% และ บจก. สแควร์ ริทซ์ พลาซา 3%)
  • บจก. สแควร์ ริทซ์ พลาซา - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 12%)
  • บจก. อยุธยาเกษตรธานี - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 11.85%)
  • บจก. ซีพีเอ็น เรสซิเด้นซ์ - โครงการที่อยู่อาศัย เอสเซ็นท์ เชียงใหม่และระยอง
  • บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ - เซ็นทรัล เชียงราย เซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี เซ็นทรัล ลำปาง
  • บจก. ซีพีเอ็น โกบอล - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ลงทุน และ/หรือ ถือหุ้นในบริษัทอื่น
  • บจก. ซีพีเอ็น ซิตี้ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ 99.99%)
  • บจก. ซีพีเอ็น คอมเพล็กซ์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ 99.99%)
  • บจก. ซีพีเอ็น เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ - ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
  • บจก. ซีพีเอ็น ระยอง - เซ็นทรัล ระยอง
  • บจก. ซีพีเอ็น โคราช - เซ็นทรัล โคราช
  • บจก. ซีพีเอ็น เรซซิเด้นซ์ ขอนแก่น - โครงการที่อยู่อาศัย เอสเซ็นท์ ขอนแก่น (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น 78.13%)
  • บจก. ซี.เอส.ซิตี้ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 99.97%)
  • บจก. ศาลาแดง พร๊อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ - เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิเซส
  • บมจ. แกรนด์ คาแนล แลนด์ - แกรนด์ พระราม 9 (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น พัทยา 67.53%)
  • บจก. เบย์วอเตอร์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือตรง 50% ถือผ่าน บจก. รัชดา แอสเซท โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ. แกรนด์ คาแนล แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเซ็นทรัลพัฒนาอีก 50%)
  • บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ - กลุ่มศูนย์การค้ามาร์เก็ตเพลส, กลุ่มศูนย์การค้าวิลล่า, กลุ่มศูนย์การค้าเพาเวอร์เซ็นเตอร์ (ถือตรง 4.11% และผ่าน บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ 92.13%)
  • Global Retail Development & Investment Limited - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น โกบอล 99.94%)
  • Global Commercial Property Limited - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน Global Retail Developmen & Investment Limited 99.94%)
  • CPN Venture Sdn. Bhd. - ให้คำปรึกษาด้านการบริหารและการจัดการอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น โกบอล 99.94%)
  • CPN Real Estate Sdn. Bhd. - ลงทุน และ/หรือ ถือหุ้นในบริษัทอื่น (ถือผ่าน CPN Ventrue Sdn. Bhd 99.94%)
  • CPN Malls Malaysia Sdn. Bhd - ลงทุน และ/หรือ ถือหุ้นในบริษัทอื่น (ถือผ่าน CPN Ventrue Sdn. Bhd 99.94%)
  • Central i-City Malls Malaysia Sdn. Bhd. - ลงทุน และ/หรือ ถือหุ้นในบริษัทอื่น (ถือผ่าน CPN Malls Malaysia Sdn. Bhd. และ CPN Real Estate Sdn. Bhd. 99.94%)
  • Central i-City Sdn. Bhd. - ลงทุน และ/หรือ ถือหุ้นในบริษัทอื่น (ถือผ่าน Central Plaza i-City Malls Malaysia Sdn. Bhd 99.94%)
  • Central i-City Real Estate Sdn. Bhd. - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น โกบอล และ บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 59.97%)
  • กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซีพีเอ็น รีเทล โกรท โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ - ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต
  • กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซีพีเอ็น คอมเมอร์เชียล โกรท โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ - ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์
  • กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 โดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย - ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เซ็นทรัลเวิลด์
  • กองทุนรวมธุรกิจไทย 5 โดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย - ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เซ็นทรัลพลาซา บางนา

บริษัทร่วมค้ากับเอกชนอื่นแก้ไข

ค้าปลีก และแบรนด์สินค้า (Retail & Brands)แก้ไข

ธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้า เป็นสายธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเซ็นทรัล ครอบคลุมทั้งในเอเชีย และยุโรป โดยมีจุดแข็งอยู่ที่การมีแบรนด์ชื่อดังหลากหลายแบรนด์ ระบบการดำเนินงานที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีประสบการณ์ และความสามารถ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มฟู้ด, กลุ่มแฟชั่น, กลุ่มฮาร์ดไลน์ และ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้

กลุ่มแฟชั่น (Fashion Group)แก้ไข

ในกลุ่มแฟชั่น จะประกอบไปด้วย 3 หมวดธุรกิจดังนี้

ห้างสรรพสินค้าที่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์
ห้างสรรพสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์
ร้านค้าเฉพาะทาง
สินค้านำเข้า
  • Accessorize
  • Casio G-Shock
  • Mango
  • Mango Touch
  • H.E. by Mango
  • Dorothy Perkins
  • Combi
  • Wallis
  • Hush Puppies
  • Lee
  • Miss Selfridge
  • Jurlique
  • John Henry

กลุ่มฟู้ด (Food Group)แก้ไข

รับผิดชอบในการบริหารส่วนร้านค้าสินค้าอุปโภค บริโภค ภายใต้การบริหารของ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล

  • ท็อปส์ (Tops)
    • ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด (Tops Fine Food)
    • ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ (Tops Food Hall)
      • ไทยเฟเวอริท (Thai Flavorites)
    • ท็อปส์ คลับ (Tops Club)
    • ท็อปส์ (Tops)
    • โก! มาร์เก็ต (go! Market)
  • อีตไทย (EATHAI)
  • เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท (FamilyMart)
  • ท็อปส์ ไวน์ เซลลาร์ (Tops Wine Cellar)
  • มัทสึโมโตะ คิโยชิ (Matsumoto Kiyoshi)
  • โก! เวียดนาม (GO! Vietnam)

กลุ่มฮาร์ดไลน์ (Hardline Group)แก้ไข

รับผิดชอบในการบริหารส่วนร้านค้าสินค้าใหญ่ที่ไม่ใช่สินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค

กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ (Property)แก้ไข

 
เซ็นทรัล เอ็มบาสซี
 
มาร์เก็ตเพลส วงศ์สว่าง ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565

โรงแรมและร้านอาหาร (Hospitality)แก้ไข

กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ และบริหารงานโรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่โรงแรมหรูระดับพรีเมียม ไปจนถึงโรงแรมราคาย่อมเยา ภายใต้แบรนด์เซ็นทารา แกรนด์, เซ็นทารา, เซ็นทรา และโคซี่ ตลอดจนแบรนด์โรงแรมต่างชาติอย่าง พาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ และฮิลตัน พัทยา นอกจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลยังได้ร่วมลงทุนโรงแรมในเครือเฟลิซกรุ๊ป ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โรงแรมฮิลลารีส์, โรงแรมรีลีฟ, โรงแรมไอซีไอ และโรงแรมสต็อก

นอกจากนี้ กลุ่มเซ็นทรัลยังเป็นผู้นำด้านเชนร้านอาหารในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้บริหารจัดการแบรนด์ร้านอาหารมากมายที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และสากล อาทิ มิสเตอร์โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง, เดอะ เทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัดสึยะ, เฟซท์, สลัด แฟคทอรี่ และบราวน์

อ้างอิงแก้ไข

ดูเพิ่มแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข