หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช

หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช (เดิม หม่อมเจ้าจิรบุญญ์ณี ชุมพล; 10 สิงหาคม พ.ศ. 2440 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2523) เป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ10 สิงหาคม พ.ศ. 2440
ชีพิตักษัย19 มีนาคม พ.ศ. 2523 (82 ปี)
สวามีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
ราชสกุลชุมพล (ประสูติ)
จุฑาธุช (เสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
พระมารดาหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา (อัญญานางบุญยืน บุญรมย์; บุตรีในท้าวไชยบุตร์ (บุดดี บุญรมย์) และอัญญาแม่คำพ่วย บุญรมย์ มีศักดิ์เป็นหลานเจ้าราชบุตรสุ่ย สืบเชื้อสายมาแต่เจ้าพระวอพระตาแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู)[1] ประสูติเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2440 ณ วังสงัด (บริเวณสามแยกถนนผาแดงบรรจบกับถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศเหนือทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี)[2] เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า “หม่อมเจ้าจิรบุญญ์ณี ชุมพล” ครั้นเสด็จเข้ามาประทับในพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามใหม่ว่า "บุญจิราธร" ในเวลาที่ทรงพระมหากรุณาเปลี่ยนพระนามใหม่พระราชทานนั้น ได้ทรงแสดงพระราชจริยาให้ประจักษ์ว่า ไม่ได้ทรงเพ่งเล็งแต่จะให้ไพเราะ แต่ทรงเรียกปฏิทินมาตรวจอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงตกลงพระราชทานนามว่า "บุญจิราธร”[3]

หม่อมเจ้าบุญจิราธรอภิเษกกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465

พระภราดาและพระภคินี แก้

หม่อมเจ้าบุญจิราธร มีพระโสทรานุชาและพระโสทรกนิษฐารวม 3 องค์ คือ

  1. หม่อมเจ้าฐิติศักดิ์วิบูลย์ ชุมพล
  2. หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล
  3. หม่อมเจ้าจงจำเนียร ชุมพล

สิ้นชีพิตักษัย แก้

หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2523 สิริชันษา 82 ปี 221 วัน ไม่มีโอรสธิดา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศมณฑปทรงพระศพ ประดิษฐานพระโกศ พระศพหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตร ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2523- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 และได้มีการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร เมื่อวันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อนุสรณ์ แก้

  • อนุสาวรีย์หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. ที่ระลึกครบรอบ 150 ปี พลตรี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์[ลิงก์เสีย]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-23.
  3. http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4874.0
  4. ข่าวในพระราชสำนัก
  5. สำนักนายกรัฐมนตรี (22 เมษายน 2523). "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 97 (ตอน 65 ง): หน้า 1315. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25): 1807. 2 พฤษภาคม 2493.