โรงพยาบาลสงขลา เป็นหนึ่งในสองโรงพยาบาลหลักของจังหวัดสงขลา ประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข ส่วนอีกแห่งเป็นโรงพยาบาลหาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งโรงพยาบาลสงขลาได้รับการจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งจัดอบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเป็นโรงพยาบาลในเครือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[1]

โรงพยาบาลสงขลา
Songkhla Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเลขที่ 666 หมู่ที่ 2 ถนนสงขลา-ระโนด ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90100, ประเทศไทย
พิกัด7°08′32″N 100°33′59″E / 7.142183°N 100.566410°E / 7.142183; 100.566410พิกัดภูมิศาสตร์: 7°08′32″N 100°33′59″E / 7.142183°N 100.566410°E / 7.142183; 100.566410
หน่วยงาน
ประเภททั่วไป
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง508 เตียง
ประวัติ
ชื่อเดิมสงขลาพยาบาล
โรงพยาบาล (เทศบาล) เมืองสงขลา
เปิดให้บริการ26 มิถุนายน พ.ศ. 2468 (ที่ตั้งเดิม)
31 ธันวาคม 2538 พ.ศ. (ที่ตั้งใหม่)
ลิงก์
เว็บไซต์www.skhospital.go.th

ประวัติ แก้

ใน พ.ศ. 2464–2467 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ทรงริเริ่มการระดมทุนและการวางแผนโรงพยาบาลในใจกลางเทศบาลนครสงขลา และในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2468 สงขลาพยาบาลได้รับการเปิดโดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครั้นใน พ.ศ. 2478 ได้โอนย้ายสถานพยาบาลเป็นของเทศบาลนครสงขลา จึงเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาล (เทศบาล) เมืองสงขลา ต่อมาใน พ.ศ. 2495 ได้โอนย้ายปฏิบัติการไปยังกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง และโรงพยาบาลได้รับการขยายอย่างครอบคลุม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่ใจกลางเมืองมีจำกัด คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงหาที่ตั้งใหม่สำหรับโรงพยาบาล กระทั่งใน พ.ศ. 2528 ภายใต้คณะรัฐมนตรีของเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ได้ทำความตกลงกับกองทัพบกที่ 4 ของกองทัพบกไทย และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อโอนที่ดินทางตอนใต้สุดของสะพานติณสูลานนท์ สำหรับการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ซึ่งเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน พ.ศ. 2538 และแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน โดยเปิดโรงพยาบาลใหม่เมื่อวันที่ 31 ธันวาคมในชื่อโรงพยาบาลสงขลา ส่วนโรงพยาบาลเก่าใจกลางเมืองได้เปลี่ยนเป็น "ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองสงขลา"[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" (PDF).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติ - Songkhla Hospital".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้