อำเภอพุทธมณฑล

อำเภอในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย

พุทธมณฑล เป็นอำเภอในจังหวัดนครปฐม เป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัด แต่ได้รับความเจริญมาจากกรุงเทพมหานคร ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรรอยู่หลายโครงการ มีมหาวิทยาลัยมากมายและยังเป็นที่ตั้งของ พุทธมณฑล ศูนย์รวมการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในประเทศไทยอีกด้วย

อำเภอพุทธมณฑล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phutthamonthon
พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาภายในพื้นที่ที่เป็นที่มาของชื่ออำเภอ
พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาภายในพื้นที่ที่เป็นที่มาของชื่ออำเภอ
คำขวัญ: 
ดินแดนธรรมะ พระปางลีลา
การศึกษาก้าวหน้า พัฒนาคุณธรรม
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอพุทธมณฑล
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอพุทธมณฑล
พิกัด: 13°48′7″N 100°19′18″E / 13.80194°N 100.32167°E / 13.80194; 100.32167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด76.33 ตร.กม. (29.47 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด44,014 คน
 • ความหนาแน่น576.63 คน/ตร.กม. (1,493.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73170
รหัสภูมิศาสตร์7307
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล เลขที่ 199 หมู่ที่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอพุทธมณฑลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลงิ้วราย (เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลลานตากฟ้าในปัจจุบัน)[1] ตำบลห้วยพลู และตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และบางส่วนของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 กระทรวงมหาดไทยให้แยกพื้นที่บางส่วนออกจากการปกครองของอำเภอนครชัยศรี รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[2] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพุทธมณฑล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลมหาสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลงิ้วราย ตั้งตำบลคลองโยง แยกออกจากตำบลศาลายา และตำบลห้วยพลู[3]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2526 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ในขณะนั้น เฉพาะเขตพื้นที่ที่ตั้งของพุทธมณฑล จากตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี[4] เพื่อให้พื้นที่พุทธมณฑลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเดียวและเพื่อประโยชน์ในการปกครองดูแลพุทธมณฑล
  • วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และตำบลมหาสวัสดิ์ ของอำเภอนครชัยศรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา ในท้องที่หมู่ 3–6 ของตำบลศาลายา[5]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี เป็น อำเภอพุทธมณฑล[6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศาลายา เป็นเทศบาลตำบลศาลายา[7] ด้วยผลของกฎหมาย
 
พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ในพุทธมณฑล

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอพุทธมณฑลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[8]
1. ศาลายา Sala Ya
6
23,758
2. คลองโยง Khlong Yong
8
10,784
3. มหาสวัสดิ์ Maha Sawat
4
10,075

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอพุทธมณฑลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ตำบลศาลายา
  • เทศบาลตำบลคลองโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโยงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–2 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ตำบลศาลายา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ทั้งตำบล
 
ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ขวามือเป็นมหิดลสิทธาคาร

การคมนาคม

แก้

ถนน

แก้

ถนนสายสำคัญในอำเภอพุทธมณฑล ได้แก่

ขนส่งทางบก

แก้

ในอำเภอพุทธมณฑล มีเส้นทางรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวนหลายเส้นทาง ดังนี้

  • รถเมล์ ไทยสมายล์บัส สาย 124 ศาลายา-สนามหลวง
  • รถเมล์ ไทยสมายล์บัส 163 ศาลายา-BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
  • รถเมล์ ไทยสมายบัส สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์ ขสมก. สาย 515 (4-71E) เซ็นทรัลศาลายา - ทางด่วน - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์ เอกชน สาย 539 อ้อมน้อย-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์ สมาร์ทบัส สาย 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา-ถนนตก
  • รถเมล์ ขสมก.สาย 556 วัดไร่ขิง-สถานีแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ มักกะสัน
  • รถเมล์ ไทยสมายล์บัส สาย 4-67 ศาลายา-กระทรวงพาณิชย์
  • รถเมล์ ขสมก.สาย 4-70E เซ็นทรัล ศาลายา-BTS หมอชิต

ขนส่งทางราง

แก้

ในอำเภอพุทธมณฑล มีเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านจำนวน 1 สถานี คือ

สถานศึกษา

แก้

สถานที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2511
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพุทธมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): (ฉบับพิเศษ) 1067. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสามพราน กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (206 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2526
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-54. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  8. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.