ทัศนาวลัย ศรสงคราม

พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สกุลเดิม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์; เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นพระภาคิไนยเพียงคนเดียวในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระเชษฐภคินีฝ่ายสมเด็จพระบรมชนกนาถในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


ทัศนาวลัย ศรสงคราม

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ใน พ.ศ. 2495
เกิดทัศนาวลัย รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[1]
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (78 ปี)
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สัญชาติไทย
การศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ.บ.)[2]
คู่สมรสสินธู ศรสงคราม (พ.ศ. 2516–ปัจจุบัน)
บุตรจิทัศ ศรสงคราม
บิดามารดาอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ประวัติ

แก้

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพระธิดาเพียงคนเดียวในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นพระราชนัดดาคนแรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นพระราชปนัดดาคนแรกในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ขณะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงพระครรภ์นั้น พระองค์ทรงขาดแคลนทุนทรัพย์และไม่ได้ประกอบอาชีพ ทำให้ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยมีโภชนาการไม่ค่อยดี แม้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมอบเงินจำนวน 600 ฟรังก์สวิสต่อเดือนก็ตาม เมื่อท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเกิดมา ทั้งสามจึงอยู่กันอย่างมัธยัสถ์ในสวิตเซอร์แลนด์[3] ในวัยเยาว์ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย และไม่ซุกซน[3]

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัตกลับประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มิได้ตามเสด็จด้วย เนื่องจากต้องดูแลพระธิดา[3] ครั้นท่านผู้หญิงทัศนาวลัยขณะมีอายุได้ 6 ขวบ ก็ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กลับประเทศไทยโดยทางเรือ

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย[3] จากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]

ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงขุดเรือใบฝีพระหัตถ์จำนวนมาก ซึ่งทรงสร้างได้แนบเนียนตามรูปร่างอย่างแบบเรือใบแข่งเพรียวลมด้วยการย่อส่วนอย่างถูกต้องตามหลัก เรือใบที่สำเร็จขึ้นโดยฝีพระหัตถ์เหล่านี้ มีอยู่ลำหนึ่งซึ่งโปรดกว่าลำอื่น พระราชทานชื่อว่า "ทัศนาวลัย" อันเป็นชื่อของพระภาคิไนย และพระราชทานเป็นพระปรมาภิไธย "ภ.อ." ติดที่เรือใบด้วย ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สร้างโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช[4] เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลสามตำบล ต่อมาได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนทัศนาวลัย"[5]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

บรรพบุรุษทางฝ่ายบิดาของท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย หรือ "จีนกุ๋ย แซ่อึ้ง" ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน หรือ "จีนกุน แซ่อึ้ง" รับราชการเป็นที่สมุหนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล[6] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[7] ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนนามสกุลเป็น รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[6]

ทัศนาวลัยเดินทางไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ และพบกับสินธู ศรสงคราม ซึ่งรับราชการอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับพระราชทานสมรสกับสินธู ศรสงคราม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 โดยมีบุตรชายคนเดียว คือ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม[8] สมรสกับเจสสิกา มิกเคลิช อดีตนักแสดงซึ่งเป็นลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์[9]

กิจกรรม

แก้

การทำงาน

แก้

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดบองมาร์เช่[10] และมีธุรกิจร้านอาหารในอาคารรัจนากร ถนนสาทรใต้[2] นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์ฯ[11]และเป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1 ของมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการกองทุนการกุศลสมเด็จย่าและทุนการกุศล กว. สืบทอดพระปณิธานต่อไป[12]

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยถือหุ้นของ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 10[13] ถือหุ้นของบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน ใหญ่อันดับที่ 17[14]

ผู้แทนพระองค์

แก้

ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เคยตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชซึ่งทอดพระเนตร และพระราชทานรางวัลการแข่งขันเรือยาวประเพณีรอบชิงชนะเลิศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า โครงการพระราชดำริ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[15][16]

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงครามจึงได้สานต่อพระกรณียกิจให้ลุล่วง เช่น การดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพิเศษของกองทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[17] การตัดหวายลูกนิมิตรเอกวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์ศรีพุทธคยา ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานในการจัดสร้าง[18] การเป็นผู้แทนรับมอบปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[19] และการเป็นประธานรางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552[20] และในปี พ.ศ. 2553[21] เป็นต้น

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ได้เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารราชนครินทร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมมอบเงิน 6 ล้านบาท จากทุนการกุศล กว. สมทบการจัดซื้อครุภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์สำหรับอาคารดังกล่าว ซึ่งชื่ออาคารถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[22]

หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ได้ตามเสด็จพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชสู่พระบรมมหาราชวังพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์[23][24][25] และยังเป็นตัวแทนของราชสกุลมหิดลในการเป็นเจ้าภาพร่วมในการสวดพระอภิธรรมพระบรมศพด้วย[26][27]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

สถานที่ที่ตั้งตามนาม

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2553). จดหมายเหตุงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. p. 7.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 "ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม". สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "A royal and not-so-royal past". The Nation (Thailand). 5 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 21 February 2011.
  4. "ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาองค์เดียว ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  5. "โรงเรียนทัศนาวลัย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 คนจีนในแผ่นดินสยาม
  7. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 242
  8. "Movie stars bring HRH Princess Galyani Vadhana remembrance pin to sell to cabinet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-09.
  9. "พระนัดดาสมเด็จฯกรมหลวงฯวิวาห์เรียบง่ายพอเพียง" (Press release). ไทยรัฐ. 8 มิถุนายน 2553. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "newswit - บองมาร์เช่ มาร์เก็ตพาร์ค ฉลองครบรอบ 10 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  11. "มูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์". มูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "การสืบสานพระปณิธาน". กัลยาณิวัฒนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-22. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ก้าวใหม่ "สัมมากร" ปรับทัพรับพันธมิตร เหยียบคันเร่งลงทุนอสังหาฯ". ประชาไท. 25 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ผู้ถือหุ้นใหญ่ MINT
  15. Kapook.com - แห่ชื่นชมพระบารมี ในหลวง ปีติ แย้มพระสรวล
  16. มติชนออนไลน์ - "ในหลวง" เสด็จฯทอดพระเนตรการแข่งเรือยาวพระราชทาน
  17. Commitee of Fund for Classical Music Promotion
  18. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ - ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ตัดหวายลูกนิมิตเอก[ลิงก์เสีย]
  19. KKU NEWS - มข. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ [ลิงก์เสีย]
  20. ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[ลิงก์เสีย]
  21. กระทรวงศึกษาธิการ - รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[ลิงก์เสีย]
  22. "ข่าวสด - สร้างอาคาร"ราชนครินทร์"รำลึกพระพี่นาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05.
  23. "เชิญพระบรมศพจากศิริราชประทับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท-สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯตามขบวนเสด็จฯ". ไทยทริบูน. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  24. "พระบรมฯ อัญเชิญ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ". สยามดารา. 14 ตุลาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "สมเด็จพระราชินีทรงโบกพระหัตถ์ ขณะเสด็จพระราชดำเนินตามขบวนพระบรมศพ". เวิร์กพอยต์. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. "หลังจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 7 ธันวาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-26. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "สมเด็จพระเทพฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ". ช่อง 8. 8 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2553" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (14ข): 10. 8 ธันวาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2553. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2551 (พระราชทานแก่ พระบรมวงศานุวงศ์, พระธิดาและพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16 ข): 2. 14 ธันวาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (19 ข): 1. 18 ธันวาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2529" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (82ง ฉบับพิเศษ): 3. 15 พฤษภาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (96): 4593. 16 มิถุนายน 2531. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "ประกาศ เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (22 ข): 2. 14 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. 34.0 34.1 เอนก นาวิกมูล. นักเดินทางชาวสยาม. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2562, หน้า 121
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒