อำเภอหัวหิน

อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย

หัวหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดิมมีชื่อว่า "บ้านถมอเรียง", "บ้านสมอเรียง" ,"กบาลถมอ" หรือ "บ้านแหลมหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่ 9)

อำเภอหัวหิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Hua Hin
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
หัวหิน ถิ่นเมืองขลัง
ทะเลสวย นักมวยดัง พระราชวังงดงาม
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอหัวหิน
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอหัวหิน
พิกัด: 12°34′7″N 99°57′28″E / 12.56861°N 99.95778°E / 12.56861; 99.95778
ประเทศ ไทย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด838.9 ตร.กม. (323.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด125,277 คน
 • ความหนาแน่น149.34 คน/ตร.กม. (386.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 77110
รหัสภูมิศาสตร์7707
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหัวหิน เลขที่ 2 หมู่ที่ 10 ถนนเพชรเกษมแนวใหม่ ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทุกวันนี้หัวหินมีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่สามารถเที่ยวได้ใน 1 วัน และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 196 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางถนนพระรามที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 2.5-3 ชั่วโมงหากโดยสารทางรถ หรือ 45 นาทีหากเดินทางโดยเครื่องบิน

ประวัติ

แก้

ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราว พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากทางตอนเหนือละทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาจนถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณใกล้กับเขาตะเกียบในปัจจุบัน แล้วได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้ เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสมอเรียง"

ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) ได้มาสร้างตำหนักหลังใหญ่ชื่อ "แสนสำราญสุขเวศน์" ที่ด้านใต้ของหมู่หินริมทะเล (ปัจจุบันคือบริเวณที่อยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และทรงขนานนามหาดทรายบริเวณนี้เสียใหม่ว่า "หัวหิน" จนเมื่อเวลาล่วงไป ทั้งตำบลในบริเวณนี้ก็ถูกเรียกในชื่อเดียวกันว่าหัวหิน และเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็นอำเภอหัวหินจนถึงปัจจุบัน[1]

อำเภอหัวหินในอดีตเป็นพื้นที่เขตปกครองของส่วนหนึ่งในเมืองปราณบุรี (เมืองชั้นจัตวา) ขึ้นตรงแขวงเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งมีการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้อยู่ในพื้นที่ของอำเภอปราณบุรี เมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี)[2] ต่อมาวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี[3] และภายหลังได้รับการจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอหัวหิน ขึ้นกับอำเภอปราณบุรี

อำเภอหัวหิน ได้รับประกาศยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2492 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2492[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอหัวหินตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองท้องที่

แก้

อำเภอหัวหินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล, 63 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[5]
1. หัวหิน Hua Hin
45,765
2. หนองแก Nong Kae
19,759
3. หินเหล็กไฟ Hin Lek Fai
16
18,661
4. หนองพลับ Nong Phlap
10
11,439
5. ทับใต้ Thap Tai
14
18,096
6. ห้วยสัตว์ใหญ่ Huai Sat Yai
11
7,583
7. บึงนคร Bueng Nakhon
12
5,067

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอหัวหินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองหัวหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวหินและตำบลหนองแกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองพลับ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองพลับ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินเหล็กไฟทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพลับ (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองพลับ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงนครทั้งตำบล

จำนวนประชากร

แก้
  • ประชากรที่มีชื่อในสำมะโนประชากร 114,936 คน
  • ประชากรแฝง ประมาณ 100,000 คน

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
เจดีย์เบญจมหาโพธิสัตว์ ถ้ำไก่หล่น
 
จุฬามณีเจดีย์ วัดเขาตะเกียบ

หัวหินมีลักษณะภูมิประเทศที่ติดชายฝั่งทะเลจรดเทือกเขาตะนาวศรี ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ในบรรยากาศที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

หมายเหตุ วังไกลกังวล เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ห้ามมิให้ผู้ไม่มีกิจธุระเกี่ยวข้องเข้าชมและกระทำการใด ๆ เนื่องจากมีการขึ้นประกาศเป็นรโหฐานแต่ยังคงให้ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเข้าไปใช้พื้นที่ทะเลน้อยได้ และพระราชทานพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษของโรงเรียนวังไกลกังวลได้

โครงการพระราชดำริในอำเภอหัวหิน

แก้

การเดินทางมาหัวหิน

แก้

เนื่องจากหัวหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภาคกลางตอนล่าง แหล่งการค้าและธุรกิจ ทำให้มีขนส่งมวลชนสาธารณะรองรับการเดินทางหลากหลาย ตามจังหวัดหัวเมืองต่าง ๆ เชื่อมต่อกับอำเภอหัวหิน ตัวอย่างสายรถขนส่งทางบกบริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

  • รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งสายใต้ปิ่นเกล้า - หัวหิน)
  • รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งสายใต้ตลิ่งชัน - หัวหิน)
  • รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งหมอชิต - หัวหิน)
  • รถตู้สาธารณะกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งเอกมัย - หัวหิน)
  • รถตู้สาธารณะปทุมธานี (สายรังสิต - หัวหิน)
  • รถบัสชั้นหนึ่งวีไอพี สมบัติทัวร์ (วิภาวดี-หัวหิน)
  • รถบัสชั้นหนึ่งวีไอพีสนามบินสุวรรณภูมิ (สนามบินสุวรรณภูมิ-หัวหิน)

นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารระหว่างจังหวัด เช่น กาญจนบุรี-หัวหิน, เชียงใหม่ - หัวหิน, หัวหิน - สุราษฎร์, หัวหิน - นครราชสีมา, หัวหิน - หนองคาย, หัวหิน - ภูเก็ต, หัวหิน - พัทยา และอื่น ๆ

ตัวอย่างขนส่งสาธารณะทางน้ำ

ตัวอย่างขนส่งสาธารณะทางอากาศ

  • แอร์เอเชีย เที่ยวบินกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) – หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (HHQ)

ตัวอย่างขนส่งสาธารณะทางราง

  • รถไฟสายใต้
  • รถไฟนำเที่ยวกรุงเทพฯ - สวนสนประดิษฐ์พัทธ์

อ้างอิง

แก้
  1. คู่มือท่องเที่ยว หัวหิน
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย (ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ)] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙
  3. ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นเป็นอำเภอ เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๒๔ ง วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หน้าที่ ๑๖๔๔
  5. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  6. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กะเหรี่ยงป่าละอู เก็บถาวร 2021-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 พฤษภาคม 2554.