อำเภอท่ายาง
ท่ายาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ประชากรประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร มีอาชีพปลูกพืช ผลผลิตหลักได้แก่ ข้าว กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะนาว ชมพู่ อ้อย มะม่วง ถั่ว และมะพร้าว
อำเภอท่ายาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Tha Yang |
คำขวัญ: เกษตรคู่บ้าน ขนมหวานคู่เมือง เขาลูกช้างลือเลื่อง ฟูเฟื่องหาดปึกเตียน | |
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอท่ายาง | |
พิกัด: 12°58′24″N 99°53′16″E / 12.97333°N 99.88778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 736.7 ตร.กม. (284.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 85,859 คน |
• ความหนาแน่น | 116.55 คน/ตร.กม. (301.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 76130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7605 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่ายาง เลขที่ 19 ถนนราษฎรบำรุง ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอท่ายางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง 134 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านลาดและอำเภอเมืองเพชรบุรี
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทยและอำเภอชะอำ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแก่งกระจาน
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2435 ภูมิประเทศด้านตะวันตกของอำเภอโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบและภูเขาสูง มีไม้ใหญ่ ๆ มากมาย เช่น ไม้ยาง ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ฯลฯ จนได้รับการเรียกขานว่า "ท่ายาง" สภาพท้องที่เป็นป่าใหญ่ มีไข้มาลาเรียชุกชุม ราษฎรที่อาศัยอยู่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะหร่าง ส่วนภูมิประเทศด้านตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มและดินปนทราย เหมาะแก่การเกษตรกรรม
ต่อมามีราษฎรจากจังหวัดอื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเป็นจำนวนมาก และมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ใน พ.ศ. 2436 ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นที่หมู่บ้านวังไคร้ ริมแม่น้ำแม่ประจันต์ ตำบลวังไคร้ เรียกว่า อำเภอแม่ประจันต์ ในพ.ศ. 2453 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ประจัน เมืองเพชรบุรี[1]
อำเภอแม่ประจันต์ตั้งอยู่ได้ประมาณ 20 ปี ทางการเห็นว่าอยู่ไกลจากย่านชุมชนจึงได้ย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลยางหย่อง (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 2 ตำบลท่าแลง) และเรียกชื่อว่า อำเภอยางหย่อง ตั้งอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี จึงได้ย้ายมาตั้งที่หมู่ที่ 1 บ้านท่ายาง ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีเมื่อราวปี พ.ศ. 2460 แต่ยังเรียกอำเภอยางหย่องตามเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า อำเภอท่ายาง[2] เพื่อให้ตรงกับหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งจนกระทั่งทุกวันนี้
ภูมิศาสตร์
แก้มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านเขตอำเภอท่ายางประมาณ 10 กิโลเมตร ยังมีสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่ตำบลหนองจอก แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านอำเภอ คือ แม่น้ำเพชรบุรี อำเภอท่ายางมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 793.522 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 495,591.25 ไร่
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอท่ายางมีพื้นที่การปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ พ.ศ. 2457 ทั้งหมด 12 ตำบล 118 หมู่บ้าน ดังนี้
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
---|---|---|---|---|
1. | ท่ายาง | Tha Yang | 10
|
17,549
|
2. | ท่าคอย | Tha Khoi | 11
|
12,712
|
3. | ยางหย่อง | Yang Yong | 5
|
3,323
|
4. | หนองจอก | Nong Chok | 14
|
7,318
|
5. | มาบปลาเค้า | Map Pla Khao | 11
|
4,048
|
6. | ท่าไม้รวก | Tha Mai Ruak | 13
|
9,141
|
7. | วังไคร้ | Wang Khrai | 10
|
5,390
|
8. | กลัดหลวง | Klat Luang | 11
|
7,164
|
9. | ปึกเตียน | Puek Tian | 4
|
2,029
|
10. | เขากระปุก | Khao Krapuk | 14
|
7,889
|
11. | ท่าแลง | Tha Laeng | 9
|
6,289
|
12. | บ้านในดง | Ban Nai Dong | 6
|
2,846
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอท่ายางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่ายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ายางทั้งตำบลและตำบลท่าคอย (เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 6, 8–9)
- เทศบาลตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอก (เฉพาะหมู่ที่ 5–7, 9)
- เทศบาลตำบลท่าแลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแลงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าไม้รวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้รวกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าคอย (เฉพาะหมู่ที่ 5, 7, 10–11)
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางหย่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางหย่องทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอก (เฉพาะหมู่ที่ 1–6, 8–9, 12–14)
- องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบปลาเค้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังไคร้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังไคร้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกลัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลัดหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปึกเตียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปึกเตียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขากระปุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขากระปุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านในดงทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ประจัน เมืองเพชรบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ ตอนที่ ๐ ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๓ หน้าที่ ๔๙๐
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette. 56 (0 ก): 354–364. April 17 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-14.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.