อำเภอแก่งกระจาน

อำเภอในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

แก่งกระจาน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีพื้นที่อาณาเขตมากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี และมีอุทยานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของป่าตะวันตก มีเขาสูงสุดในอุทยานคือ เขางะงันนิยวกตอง สูง 1,507 เมตร ซึ่งเป็นเขาในป่าลึกคนเข้าถึงน้อย และค่อนข้างยากลำบากมากในการเดินทางขึ้นไป[ต้องการอ้างอิง]

อำเภอแก่งกระจาน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kaeng Krachan
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
คำขวัญ: 
พะเนินทุ่งสูงตระหง่าน ตระการตา
ทอทิพย์ ป่าดงดิบอุทยาน
แก่งกระจานเขื่อนดิน
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอแก่งกระจาน
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอแก่งกระจาน
พิกัด: 12°54′27″N 99°38′53″E / 12.90750°N 99.64806°E / 12.90750; 99.64806
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,500.478 ตร.กม. (965.440 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด33,615 คน
 • ความหนาแน่น13.44 คน/ตร.กม. (34.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 76170
รหัสภูมิศาสตร์7608
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแก่งกระจาน หมู่ที่ 1
ถนนเขื่อนเพชร-แก่งกระจาน ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี 76170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

ท้องที่อำเภอแก่งกระจานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอท่ายาง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองอำเภอท่ายาง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก่งกระจาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ปีถัดมา[1]

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง ขึ้นเป็น อำเภอแก่งกระจาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[2]

  • วันที่ 16 สิงหาคม 2520 ตั้งตำบลแก่งกระจาน แยกออกจากตำบลสองพี่น้อง[3]
  • วันที่ 28 มีนาคม 2521 ตั้งตำบลวังจันทร์ แยกออกจากตำบลวังไคร้[4]
  • วันที่ 7 มกราคม 2531 แยกพื้นที่ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง และตำบลวังจันทร์ อำเภอท่ายาง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก่งกระจาน[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่ายาง
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2531 ตั้งตำบลป่าเด็ง แยกออกจากตำบลสองพี่น้อง[5]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแก่งกระจาน[6] ในท้องที่กิ่งอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2534 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านห้วยไผ่ (ในขณะนั้น) ของตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง มาขึ้นกับตำบลสองพี่น้อง กิ่งอำเภอแก่งกระจาน[7]
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 กำหนดเขตตำบลสองพี่น้อง กิ่งอำเภอแก่งกระจาน โดยตัดหมู่ที่ 10 เดิมของตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง มาขึ้นกับตำบลสองพี่น้อง กิ่งอำเภอแก่งกระจาน และกำหนดให้เป็นพื้นที่หมู่ 11 บ้านห้วยไผ่ ตำบลสองพี่น้อง กิ่งอำเภอแก่งกระจาน[8]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลพุสวรรค์ แยกออกจากตำบลวังจันทร์[9]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลห้วยแม่เพรียง แยกออกจากตำบลสองพี่น้อง[10]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะกิ่งอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง ขึ้นเป็น อำเภอแก่งกระจาน[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอแก่งกระจานมีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 2,500.478 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,562,799 ไร่ ซึ่งเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอแก่งกระจานแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 52 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[11]
1. แก่งกระจาน Kaeng Krachan
14
8,195
2. สองพี่น้อง Song Phi Nong
8
5,267
3. วังจันทร์ Wang Chan
8
5,159
4. ป่าเด็ง Pa Deng
10
7,467
5. พุสวรรค์ Phu Sawan
6
3,579
6. ห้วยแม่เพรียง Huai Mae Phriang
6
4,237

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอแก่งกระจานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งกระจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งกระจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองพี่น้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังจันทร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเด็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าเด็งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพุสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุสวรรค์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแม่เพรียงทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแก่งกระจาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (5 ง): 110. January 7, 1988. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. November 3, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (75 ง): 3407–3409. August 16, 1977.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (35 ง): 879–881. March 21, 1978.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (234 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-75. December 27, 1988.
  6. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1309. February 13, 1990.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (189 ง): 10767. October 29, 1991.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง และอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (22 ง): 1558–1566. February 11, 1992.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 90-97. October 9, 1992.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 6-10. September 17, 1993.
  11. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.