พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์

มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก[5] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468) อดีตสมุหมนตรี องคมนตรี เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
ดำรงตำแหน่ง1 เมษายน พ.ศ. 2455 — 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466[1]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมุหมนตรี
ดำรงตำแหน่ง16 ธันวาคม พ.ศ. 2453
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468[2]
อัครราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอน
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2426 — 2430[3]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าปฤษฏางค์ ชุมสาย
ถัดไปพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
อัครราชทูตสยามประจำอเมริกา
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2427[4]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าปฤษฏางค์ ชุมสาย
ถัดไปพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
ประสูติ7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398
สิ้นพระชนม์10 สิงหาคม พ.ศ. 2468 (70 ปี)
หม่อมหม่อมสุภาพ
หม่อมแช่ม
หม่อมเจิม
พระบุตร20 พระองค์
ราชสกุลกฤดากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

แก้
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ขณะทรงพระเยาว์ บันทึกภาพโดย จอห์น ทอมสัน เมื่อ พ.ศ. 2408

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 โดยประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก ธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) บุตรของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ทรงว่าราชการกรมพระนครบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นเรียกชื่อว่า "คอมมิตตี กรมพระนครบาล" ทรงเป็นผู้ปรับปรุงและจัดระเบียบกิจการตำรวจกรมกองตระเวน ตามแบบอย่างของสิงคโปร์ หลังจากได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสสิงคโปร์ เมื่อ ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกิจการตำรวจไทย ในปี พ.ศ. 2417 และทรงเป็นเสนาบดีกรมพระนครบาล[6] เมื่อปี พ.ศ. 2429

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เป็นองคมนตรี[7]ในครั้งนั้นด้วย และทรงเป็นองคมนตรี[8]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดพระชนมายุ และยังทรงเป็นรัฐมนตรีสภา เมื่อปี พ.ศ. 2437[9]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2418[10] ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2442 ทรงรับราชการเป็นสมุหมนตรี เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเสนาบดีที่ปรึกษา[11] เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2454 มีพระนามเต็มว่า

"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร"[12]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประทับที่วังถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักพระราชทานบนที่ดินมรดกของพระองค์ ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชันษาครบ 5 รอบใน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับทรงสร้างตำหนักหลังใหม่ ชื่อ "วังมะลิวัลย์" ส่วนเจ้าจอมมารดากลิ่นยังคงพำนักอยู่ที่ตำหนักเดิม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประทับที่วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468[13] พระชันษาได้ 70 ปี ใกล้เคียงกับที่เจ้าจอมมารดากลิ่นถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2468 และได้ประดิษฐานพระโกศพระศพ และโกศศพไว้เคียงกันที่ท้องพระโรงของวังมะลิวัลย์ มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

พระโอรสและพระธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลกฤดากร มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมสุภาพ (สกุลเดิม: สังขทัย)
  2. หม่อมแช่ม
  3. หม่อมเจิม

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 20 พระองค์/องค์ เป็นชาย 14 พระองค์/องค์ และหญิง 5 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 1 กันยายน พ.ศ. 2417 มิได้สมรส
  2. หม่อมเจ้าอรุณศักดิ์ ไม่ทราบ พ.ศ. 2417 ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  3. หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
(พ.ศ. 2455: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
ที่ 1 ในหม่อมสุภาพ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 5 ตุลาคม พ.ศ. 2471 หม่อมปรุง
หม่อมเชื่อม (อภัยวงศ์)
  4. หม่อมเจ้าบวรเดช
(พ.ศ. 2472: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช)
ที่ 2 ในหม่อมสุภาพ 26 มีนาคม พ.ศ. 2420 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 หม่อมทิพวัน (เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่)
หม่อมศรีนวล (เจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่)
หม่อมเจ้าหญิงผจงรจิตร์ กฤดากร
  5. หม่อมเจ้าเสรฐศิริ ที่ 3 ในหม่อมสุภาพ 26 มีนาคม พ.ศ. 2423 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 หม่อมสนิท (สังขทัย)
หม่อมพ้อง (คชเสนี)
หม่อมผอบ (ทิพย์เวส)
หม่อมเจ้าหญิงสุรีย์ประภา (รพีพัฒน์)
  6. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  7. หม่อมเจ้าสิทธิพร

(ท่านชายจ้อน)

ที่ 4 ในหม่อมสุภาพ 10 เมษายน พ.ศ. 2426 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หม่อมทิพ
หม่อมละมุน (วูวงศ์)
หม่อมศรีพรหมา (เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน)
  8. หม่อมเจ้าอมรทัต
(ท่านชายป่อง)
ที่ 5 ในหม่อมสุภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2429 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค)
หม่อมอู๊ด (ชิตพงษ์ศรี)
  9. หม่อมเจ้าขจรจรัสฤทธิ์ ที่ 6 ในหม่อมสุภาพ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 มิได้สมรส
  10. หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิไลย
(ท่านหญิงใหญ่)
ที่ 1 ในหม่อมแช่ม 1 สิงหาคม พ.ศ. 2431 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
  11. หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์
(ท่านชายโป๊ะ)
ที่ 7 ในหม่อมสุภาพ 16 มกราคม พ.ศ. 2432 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าหญิงสุรีย์ประภา (รพีพัฒน์)
  12. หม่อมเจ้า (ปุ๋ย) ไม่ทราบ ตุลาคม พ.ศ. 2436 20 ธันวาคม พ.ศ. 2439 มิได้สมรส
  13. หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม ที่ 2 ในหม่อมแช่ม 20 กันยายน พ.ศ. 2438 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ (สวัสดิวัตน์)
  14. หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ ที่ 1 ในหม่อมเจิม 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 10 ธันวาคม พ.ศ. 2483 หม่อมหลวงหญิงแส (สนิทวงศ์)
  15. หม่อมเจ้าเพิ่มผล ไม่ทราบ สิงหาคม พ.ศ. 2441 29 ธันวาคม พ.ศ. 2441 มิได้สมรส
  16. หม่อมเจ้าหญิงลีลาศหงษ์ (ท่านหญิงเล็ก) ที่ 3 ในหม่อมแช่ม 15 เมษายน พ.ศ. 2442 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
  17. หม่อมเจ้าหญิง (เล็ก) ไม่ทราบ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  18. หม่อมเจ้าหญิงผจงรจิตร์ ที่ 2 ในหม่อมเจิม 30 เมษายน พ.ศ. 2446 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
  19. หม่อมเจ้าชิดชนก ที่ 4 ในหม่อมแช่ม 23 ตุลาคม พ.ศ. 2447 10 มีนาคม พ.ศ. 2541 หม่อมเจ้าหญิงฤดีวรวรรณ (วรวรรณ)
หม่อมหลวงหญิงต่อ (ชุมสาย)
  20. หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ ที่ 3 ในหม่อมเจิม 18 กันยายน พ.ศ. 2451 18 มิถุนายน พ.ศ. 2500 หม่อมราชวงศ์หญิงจันทรรัตน์ (เทวกุล)

พระนัดดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนัดดารวม 37 องค์/คน ดังนี้

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร มีพระโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์บุญระบือ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์สมัครสมาน กฤดากร ทั้ง 3 นี้ในหม่อมปรุง
    • หม่อมราชวงศ์เจริญศักดิ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงถนอมศักดิ์ กฤดากร ทั้ง 2 นี้ในหม่อมเชื่อม
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช มีพระโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิง (ไม่มีนาม) กฤดากร ในหม่อมทิพวัน
    • หม่อมราชวงศ์จิรเดช กฤดากร ในหม่อมศรีนวล
    • หม่อมราชวงศ์หญิงภรณี รอสส์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอัจฉริยา คงสิริ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวิภาสิริ วุฒินันท์ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมเจ้าหญิงผจงรจิตร์
  • หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
    • หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร)
    • หม่อมราชวงศ์ทันพงศ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์ทรงพัฒน์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์ทัดเผ่า กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์เถาพงศ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์สิริ ลาภเกษร ทั้ง 6 นี้ในหม่อมสนิท
    • หม่อมราชวงศ์อ๊อด กฤดากร ในหม่อมผอบ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงประภาสิริ กฤดากร ในหม่อมเจ้าหญิงสุรีย์ประภา
  • หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ อาภากร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเพลินจิต บุรณศิริ
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร ทั้ง 3 นี้ในหม่อมพร้อยสุพิณ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุทัศนีย์ กฤดากร ในหม่อมอู๊ด

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2418)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ (พ.ศ. 2418 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)[14]
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[15]
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468)[16]

พระยศ

แก้
นายพันโท นายกองตรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
รับใช้กรมทหารมหาดเล็ก
กองเสือป่า
ชั้นยศ  นายพันโท
นายกองตรี

พระยศพลเรือน

แก้
  • มหาอำมาตย์เอก[17]
  • มหาเสวกเอก

พระยศทหาร

แก้
  • นายพันโท

พระยศเสือป่า

แก้
  • นายหมู่ใหญ่
  • นายกองตรี[18]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนเรศวรฤทธิ์
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
  2. ดำรงตำแหน่ง สมุหมนตรี
  3. "List of Thai Ambassadors in UK". สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "List of Thai Ambassadors to the U.S." สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
  6. ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกรมพระนครบาล
  7. ราชกิจจานุเบกษา,การประชุมองคมนตรี
  8. ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี
  9. ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีสภา
  10. ประวัติศาสตร์การสถาปนาพระยศเจ้านายสมัย ร.5-ร.9 พ.ศ. 2413
  11. ดำรงตำแหน่ง สมุหมนตรีเสนาบดี
  12. เฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2538), หน้า 43.
  13. ข่างสิ้นพระชนม์
  14. ""เสด็จอานเรศ" -"วุฒิไชยเฉลิมลาภ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  15. ประกาศเลื่อนแลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์
  16. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เลื่อนแลตั้งกรมแลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 28 หน้า 1728 11 พฤศจิกายน 2454
  17. พระราชทานยศ
  18. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
  19. 19.0 19.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๓๖๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๑๑๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๘, ๒๑ พฤศจิกายน ๑๒๘
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ, เล่ม ๓ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๘๖, ๑๕ มีนาคม ๑๒๔๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๖๕, ๒ กรกฎาคม ๑๓๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๙ หน้า ๔๓๕, ๒๔ ธันวาคม ๑๑๒
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๖๕, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๔ ตุลาคม ๑๒๒
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒ณ ๕ กันยายน ๑๑๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๕ หน้า ๑๒, ๑ พฤษภาคม ๑๑๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๒๗๒, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๓
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙