หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร

เสวกตรี หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (20 กันยายน พ.ศ. 2438 — 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นสถาปนิกในแผนกศิลปากรสถาน

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ20 กันยายน พ.ศ. 2438
วังพระอาทิตย์ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
สิ้นชีพิตักษัย20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (71 ปี)
ชายาหม่อมเจ้ารัสสาทิส กฤดากร
บุตรหม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร
ราชสกุลกฤดากร
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นพระโอรสองค์ที่ 9 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2438 ณ วังพระอาทิตย์ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรครราชเทวี จึงพระราชทานพระนามให้ว่า ”สมัยเฉลิม” หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมมีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระบิดาหลายพระองค์

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม เสกสมรสกับหม่อมเจ้ารัสสาทิส กฤดากร ท.จ. (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 มีโอรสคนเดียว คือ หม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม ประชวรพระโรคประสาทร้ายแรงและมีโรคแทรกซ้อนจากเหตุการณ์ที่หม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร โอรสเพียงคนเดียวได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 23 ปี โดยอุบัติเหตุ ทำให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมเสียพระทัยมาก กระทั่งสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เวลา 00.15 น. สิริชันษา 71 ปี

การศึกษา

แก้
  • พ.ศ. 2448 โรงเรียนราชวิทยาลัย 3 ปี
  • พ.ศ. 2451 โรงเรียนในประเทศฝรั่งเศส 2 ปี
  • พ.ศ. 2453 Institution Brunel Haccius, Genève 3 ปี
  • พ.ศ. 2456 Collège Scientifique, Lausanne, Suisse 5 ปี
  • พ.ศ. 2456 École Nationale Supérieure des Beaux-Arts, Paris 9 ปี

โดยเป็นนักเรียนทุนในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากสำเร็จวิชาสถาปัตยกรรมจาก สถาบัน École Nationale Supérieure des Beaux-Arts กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสแล้ว ก็ทรงกลับมารับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2471 ในแผนกศิลปากรสถาน

การทำงาน

แก้
  • พ.ศ. 2471 เข้ารับราชการในแผนกศิลปากรสถาน ตำแหน่งนายช่าง
  • พ.ศ. 2472 ย้ายมารับราชการกรมวังนอก กระทรวงวัง ตำแหน่งนายช่างใหญ่ รับพระราชทานพระยศเป็น รองเสวกเอก[1]
  • พ.ศ. 2478 กองสถาปัตยกรรม กระทรวงธรรมการ ตำแหน่งสถาปนิก
  • พ.ศ. 2483 กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกออกแบบ
  • พ.ศ. 2493 ตำแหน่งสถาปนิกชั้นพิเศษ กรมศิลปากร
  • พ.ศ. 2493 ในพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2493 เวลา 9.26 – 10.28 น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานในพิธีมีหลวงบรรเจิดอักษรการ (ทับ สาตราภัย) หัวหน้ากองปกาศิต ในหน้าที่อาลักษณ์จารึกอักษรพระปรมาภิไธยลงในพระสุพรรณบัฏ พระยาโหราธิบดี (แหยม วัชรโชติ) โหรจารึกดวงพระบรมราชสมภพลงในแผ่นทอง และหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ศิลปิน ในหน้าที่นายช่าง แกะพระราชลัญจกร

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ได้ออกจากราชการเมื่อปี 2501 นอกจากการรับราชการตำแหน่งสถาปนิกดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดี คณะประติมากรรม มหาวิทยาศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2487 - 2493 และได้ไปสอนวิชาสถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่งอาจารย์พิเศษ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในปี พ.ศ. 2476 โดยดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคมฯ ร่วมกับผู้ริเริ่มอีก 6 ท่าน ใน พ.ศ. 2477 ได้แก่พระสาโรชรัตนนิมมานก์ นายกสมาคม หลวงบุรกรรมโกวิท เลขาธิการ นายนารถ โพธิสาท เหรัญญิก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร กรรมการ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ กรรมการ และนายศิววงษ์ กุญชร ณ อยุธยา เมื่อออกจากราชการแล้วได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2501 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2505 ต่อจากนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักพระราชวังมาตลอดพระชนม์ชีพ

ผลงานการออกแบบ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 717http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/D/717.PDF
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๑๑๒๖, ๒๘ เมษายน ๒๔๘๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๕, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๑๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๓