หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์

หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กฤดากร; 1 สิงหาคม พ.ศ. 2431[1] – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา และเป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ1 สิงหาคม พ.ศ. 2431
สิ้นชีพตักษัย20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 (45 ปี)
สวามีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระบุตรหม่อมเจ้าชาย
พรรณเพ็ญแข กฤดากร
ราชสกุลกฤดากร (โดยประสูติ)
เพ็ญพัฒน์ (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าวรรณวิไลย มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงใหญ่ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2431 มีโสทรานุชาและโสทรกนิษฐภคินีรวมห้าองค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (20 กันยายน พ.ศ. 2438 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510)
  • หม่อมเจ้าปุ่ย (ตุลาคม พ.ศ. 2439 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2439)
  • หม่อมเจ้าเพิ่มผล (สิงหาคม พ.ศ. 2441 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2441)
  • หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ (15 เมษายน พ.ศ. 2442 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463)
  • พลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร (23 ตุลาคม พ.ศ. 2447 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2541)

ครอบครัว

แก้

หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เสกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2446 มีพระโอรส พระธิดา รวมสององค์ คือ[2][3]

  • หม่อมเจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม; 25 กันยายน พ.ศ. 2447 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2447)
  • พรรณเพ็ญแข กฤดากร (11 กันยายน พ.ศ. 2448 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร (พระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
    • หม่อมหลวงเพ็ญศักดิ์ กฤดากร (เกิด 12 ตุลาคม 2476) สมรสกับมยุรี สุขุม และจุฑามาศ สุคนธา
    • หม่อมหลวงพรรณศิริ กฤดากร (เกิด 15 กันยายน 2478) สมรสกับวัฒนา อัศวรักษ์
    • หม่อมหลวงธิดาเพ็ญ กฤดากร (เกิด 30 ธันวาคม 2480) สมรสกับวัฒนา อัศวรักษ์ และศุภโยกต์ มาลิก

หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์ ประชวรเป็นวัณโรคภายใน ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 สิริชันษา 45 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพ ชั้นรองหีบ 2 ชั้น ฉัตรเบญจา 4 คัน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  2. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i672.html
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวถึงชีพิตักษัย เล่ม 50 หน้า 2811 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2476
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม 21, ตอน 34, 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 616
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)